หัวข้อ   “ คะแนนนิยมเป็นอย่างไร หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ
 
ปัญหาการเมืองทำคะแนนนิยม น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายอภิสิทธิ์ ลดลง
50.7% เห็นว่าควรมี นายกฯ คนกลาง ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,068 คน ในหัวข้อ
“คะแนนนิยมเป็นอย่างไร หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ.
เป็นโมฆะ” พบว่า
 
                 คะแนนนิยมนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ที่ร้อยละ 24.8 ลดลง
จากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 1.9 (จากเดิมร้อยละ 26.7)

เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนนิยมอยู่ที่
ร้อยละ 18.7 โดยลดลงจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 16.1 (จากเดิมร้อยละ 34.8)
 
                 ด้านคะแนนนิยมพรรคการเมือง พบว่าพรรคเพื่อไทยมีคะแนน
นิยมเท่ากับร้อยละ 27.0 ลดลงจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาร้อยละ 1.2
(จากเดิม ร้อยละ 28.2 )
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนนิยมร้อยละ 20.3 ลดลง
จากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 16.9 (จากเดิมร้อยละ 37.2)
 
                 ส่วนความเห็นต่อข้อคำถาม “สถานการณ์ ณ วันนี้ ควรมีนายกรัฐมนตรีคนกลาง เพื่อดำเนินการปฏิรูป
การเมือง ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือไม่” ประชาชนร้อยละ 50.7 เห็นว่าควรมี
และร้อยละ 29.2 เห็นว่าไม่ควรมี
ที่เหลือร้อยละ 20.1 ไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับบุคคลที่น่าเคารพนับถือในสังคมที่อยากให้มาเป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
มากที่สุด อันดับ 1 คือ นายอานันท์ ปันยารชุน
รองลงมาคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง
                 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”


 
สำรวจเมื่อ
พ.ย. 55
( ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
มิ.ย. 56
( ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
พ.ย. 56
( ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
มี.ค.57
( ร้อยละ)
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
51.2
40.4
26.7
24.8
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
33.1
31.7
34.8
18.7
คนอื่นๆ / ไม่แน่ใจ / ไม่รู้
15.7
27.9
38.5
56.5
 
 
             2. ความเห็นต่อข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกพรรคใด”

จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ
พ.ย. 55
( ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
มิ.ย. 56
( ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
พ.ย. 56
( ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
มี.ค.57
( ร้อยละ)
พรรคเพื่อไทย
48.8
41.0
28.2
27.0
พรรคประชาธิปัตย์
34.8
32.4
37.2
20.3
พรรคชาติไทยพัฒนา
0.8
0.8
0.8
2.9
พรรคภูมิใจไทย
1.0
0.6
0.7
0.7
พรรคพลังชล
0.4
0.6
0.6
0.6
พรรครักประเทศไทย
1.6
0.6
1.2
1.3
พรรคอื่นๆ
0.4
0.6
2.3
2.9
ไม่แน่ใจ/ไม่รู้
12.2
23.4
29.0
44.3
 
 
             3. ความเห็นต่อข้อคำถาม “สถานการณ์ ณ วันนี้ ควรมีนายกรัฐมนตรีคนกลาง เพื่อดำเนินการ
                 ปฏิรูปการเมือง ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือไม่”

 
ร้อยละ
เห็นว่าควร
50.7
เห็นว่าไม่ควร
29.2
ไม่แน่ใจ
20.1
 
 
             4. บุคคลที่น่าเคารพนับถือในสังคมที่อยากให้มาเป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งมากที่สุด
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
นายอานันท์ ปันยารชุน
6.4
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
4.1
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
1.4
คนอื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ
ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และ นายพลากร สุวรรณรัฐ เป็นต้น
5.3
ไม่รู้จะให้ใครเป็นคนกลางดี
40.5
ไม่มีคนที่เหมาะสม
28.3
ไม่ออกความเห็น
14.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนระหว่างนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายค้าน
                  2. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนในพรรคการเมืองต่างๆ
                  3. เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลาง
                     เพื่อปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง
                  4. เพื่อต้องการให้ประชาชนเสนอบุคคลที่อยากให้มาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,068 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.4 และเพศหญิงร้อยละ 49.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ
(Check List Nominal) และข้อคำถามปลายเปิด (Open End) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจ
สอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  24 – 26 มีนาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 มีนาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
538
50.4
             หญิง
530
49.6
รวม
1,068
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
88
8.2
             26 – 35 ปี
178
16.7
             36 – 45 ปี
287
26.9
             46 – 55 ปี
267
25.0
             56 ปีขึ้นไป
248
23.2
รวม
1,068
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
726
67.9
             ปริญญาตรี
271
25.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
71
6.7
รวม
1,068
100.0
อาชีพ:    
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
118
11.0
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
173
16.2
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
245
22.9
             รับจ้างทั่วไป
189
17.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
147
13.8
             นักศึกษา
32
3.0
             เกษตรกร
140
13.1
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
24
2.3
รวม
1,068
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776