หัวข้อ   “ ภาษาไทยบนสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่
84.7% เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันถึงขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง
77.4 % เห็นการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ จากการคุยไลน์ facebook
ระบุ ดารา/นักร้อง และ สื่อมวลชน/นักข่าว เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ
“ภาษาไทยบนสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนคนรุ่นใหม่
ที่มีอายุ 15-35 ปี ที่พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,218 คน พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 55.7 ไม่ทราบว่าวันที่ 29 กรกฎาคมที่จะถึงนี้
เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
ขณะที่ร้อยละ 44.3 บอกว่าทราบ ทั้งนี้ประชาชน
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.7 เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติและ
ควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง
และมีเพียงร้อยละ 15.3 เท่านั้นที่เห็นว่าปัจจุบันไม่ได้อยู่
ในขั้นวิกฤติจึงไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์
 
                 สำหรับผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด คือ
ดารา/นักร้อง (ร้อยละ 36.0)
รองลงมาร้อยละ 33.3 คือ สื่อมวลชน/นักข่าว และ
ร้อยละ 19.2 คือครู/อาจารย์
 
                  ส่วนแหล่งที่มักจะพบเห็นการใช้ภาษาไทยที่สะกด /ออกเสียง
ผิดเพี้ยนไป หรือคำแปลกๆ บ่อยที่สุดนั้น ร้อยละ 77.4 บอกว่าเห็นจากการคุยไลน์
และการเขียนคอมเมนต์ผ่าน facebook
รองลงมาร้อยละ 15.8 เห็นจากการพูดคุย
ตามๆ กันในหมู่เพื่อนๆ และ ร้อยละ 6.8 เห็นจากพิธีกร ตัวละครในทีวี/ภาพยนตร์
 
                 ทั้งนี้ร้อยละ 38.8 ให้เหตุผลที่มักนิยมใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปในสังคมออนไลน์ ว่าใช้ตามๆ กัน
จะได้เกาะกระแส
รองลงมาร้อยละ 32.4 ให้เหตุผลว่า สะกดง่าย สั้น และสื่อสารได้เร็ว และร้อยละ 26.9 ให้เหตุผลว่า
เป็นคำที่ใช้แล้วรู้สึก ขำ คลายเครียดได้
 
                  เมื่อถามถึงความรู้สึกที่เห็นการพูดหยาบคายของตัวละครทีวี / ภาพยนตร์ หรือการโพสต์
ข้อความหยาบคายผ่านสังคมออนไลน์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 65.9 รู้สึกว่ารับได้แต่บางครั้งก็มากเกินไป

รองลงมาร้อยละ 25.6 รู้สึกว่ารับได้/ไม่ซีเรียส และมีเพียงร้อยละ 8.5 เท่านั้นที่รู้สึกว่ารับไม่ได้เลย
 
                  สุดท้ายประชาชนร้อยละ 55.0 เชื่อว่าการให้สื่อมวลชน นักร้อง นักแสดง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง
มาร่วมรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องจะสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดความนิยมใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องได้

ขณะที่ร้อยละ 14.0 เชื่อว่าไม่ได้ และร้อยละ 31.0 ไม่แน่ใจ
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบว่าวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทย

 
ร้อยละ
ทราบ
44.3
ไม่ทราบ
55.7
 
 
             2. ความเห็นต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันว่าถึงขั้นวิกฤติและควรมีการรณรงค์อย่างจริงจังหรือไม่

 
ร้อยละ
การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันถึงขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง
84.7
การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤติจึงไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์
15.3
 
 
             3. ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ดารา/นักร้อง
36.0
สื่อมวลชน/นักข่าว
33.3
ครูอาจารย์
19.2
ผู้นำประเทศ
3.8
อื่นๆ อาทิ วัยรุ่น เพื่อน สังคมออนไลน์ เป็นต้น
7.7
 
 
             4. แหล่งที่พบเห็นการใช้ภาษาไทยที่สะกด /ออกเสียงผิดเพี้ยนไป หรือคำแปลกๆ บ่อยที่สุด

 
ร้อยละ
เห็นจากการคุยไลน์ คอมเมนต์ ตามเพจต่างๆ เช่น facebook,pantip ฯลฯ
77.4
เห็นจากการพูดคุยตาม ๆ กันในหมู่เพื่อนๆ
15.8
เห็นจาก พิธีกร ตัวละครในทีวี/ภาพยนตร์
6.8
 
 
             5. เหตุผลที่คนมักนิยมใช้ภาษาไทยในการพูด เขียน ผิดเพี้ยน ในสังคมออนไลน์

 
ร้อยละ
ใช้ตามๆ กันจะได้เกาะกระแส
38.8
สะกดง่าย สั้น และสื่อสารได้เร็ว
32.4
เป็นคำที่ใช้แล้วรู้สึก ขำ คลายเครียดได้
26.9
เป็นคำที่สร้างสรรค์ดี
1.4
อื่นๆ อาทิ สื่อถึงความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดในขณะนั้นได้ตรงกว่า เป็นต้น
0.5
 
 
             6. ความรู้สึกเมื่อเห็นการพูดหยาบคายของตัวละครทีวี / ภาพยนตร์ หรือการโพสต์
                 ข้อความหยาบคายผ่านสังคมออนไลน์

 
ร้อยละ
รู้สึกว่ารับไม่ได้เลย
8.5
รู้สึกว่ารับได้แต่บางครั้งก็มากเกินไป
65.9
รู้สึกว่ารับได้/ไม่ซีเรียส
25.6
 
 
             7. ความเห็นต่อการให้สื่อมวลชน นักร้อง นักแสดง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มาร่วมรณรงค์การใช้ภาษาไทย
                 ให้ถูกต้อง จะสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดความนิยมใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องได้หรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่าได้
55.0
เชื่อว่าไม่ได้
14.0
ไม่แน่ใจ
31.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวันภาษาไทย
วันที่ 29 กรกฎาคม ในด้านผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทย การใช้และเหตุผลในการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ ตลอดจน
ความรู้สึกที่มีต่อการใช้ภาษาไทยแบผิดๆและการใช้คำหยาบคายจากสื่อต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองของประชาชนให้สังคม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีอายุ 18 - 35 ปี
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์
แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ
(Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 23 - 25 กรกฎาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 กรกฎาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
610
50.1
             หญิง
608
49.9
รวม
1,218
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 20 ปี
338
27.8
             21 – 25 ปี
308
25.2
             26 – 30 ปี
280
23.0
             31 – 35 ปี
292
24.0
รวม
1,218
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
799
65.5
             ปริญญาตรี
371
30.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
48
3.9
รวม
1,218
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
96
7.9
             ลูกจ้างเอกชน
378
31.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
181
14.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
39
3.2
             ทำงานให้ครอบครัว
27
2.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
20
1.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
444
36.5
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
33
2.7
รวม
1,218
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776