หัวข้อ   “ คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากคดีจำนำข้าว
คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ ยังนำพรรคเพื่อไทย
ประชาชนส่วนใหญ่เกือบ 60% เห็นด้วยกับนายกฯ คนนอก หากทำให้บ้านเมืองสงบ แต่ต้องมีกรอบเวลา
แต่ 69.2% ไม่เห็นด้วยหาก ส.ว. ทั้ง 200 คนมาจากการ สรรหา
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังถอดถอน
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากคดีจำนำข้าว” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน
จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,099 คน พบว่า
 
                  คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ที่ร้อยละ 20.5 ลดลงจาก
ผลสำรวจเมื่อเดือนธันวาคม 2557 ร้อยละ 6.9 (จากเดิม ร้อยละ 27.4)
ขณะที่
พรรคเพื่อไทย อยู่ที่ร้อยละ 18.5 ลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 8.4 (จากเดิม
ร้อยละ 26.9) รองลงมาคือ พรรคชาติไทยพัฒนา อยู่ที่ร้อยละ 1.7 (จากเดิมร้อยละ 2.0)
และพรรครักประเทศไทย อยู่ที่ร้อยละ 0.9 (จากเดิมร้อยละ 1.4)
 
                  เมื่อถามเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เลือกพรรคเพื่อไทยว่า “หากหัวหน้า
พรรคเพื่อไทย ไม่ใช่คนในตระกูลชินวัตร จะยังเลือกพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิม
หรือไม่” ร้อยละ 84.1 บอกว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิม
ขณะที่ร้อยละ 15.4
บอกว่ายังไม่แน่ใจว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิมหรือไม่ และร้อยละ 0.5 ยังไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับที่มาของการเลือกนายกฯ คนนอก ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในภาวะ
ที่ประเทศเกิดวิกฤต” ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.4 เห็นด้วย เพราะประเทศจะได้สงบ ลดความขัดแย้ง แต่ควรมีกรอบเวลา
ที่ชัดเจน
ขณะที่ร้อยละ 30.0 ไม่เห็นด้วย เพราะนายกฯ ควรมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาหรือ ส.ว. ทั้งหมด 200 คน ที่มาจาก
การสรรหา” ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรจะมาทั้งจากการสรรหา และการเลือกตั้ง
ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
ขณะที่ร้อยละ 18.3 เห็นด้วยว่า ส.ว. ควรมาจากการสรรหาทั้งหมด 200 คน และร้อยละ 12.5
ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด”

จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ ธ.ค.57
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ มี.ค.58
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
พรรคประชาธิปัตย์
27.4
20.5
-6.9
พรรคเพื่อไทย
26.9
18.5
-8.4
พรรคชาติไทยพัฒนา
2.0
1.7
-0.3
พรรครักประเทศไทย
1.4
0.9
-0.5
พรรคภูมิใจไทย
0.9
0.6
-0.3
พรรคพลังชล
0.5
0.4
-0.1
พรรคอื่นๆ
5.2
4.4
-0.8
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ
35.7
53.0
17.3
 
 
             2. ข้อคำถาม “หากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่คนในตระกูลชินวัตร ท่านยังจะเลือกพรรคเพื่อไทย
                 เหมือนเดิมหรือไม่”
(ถามเฉพาะผู้ที่เลือกพรรคเพื่อไทย)

 
ร้อยละ
เลือกพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิม
84.1
ไม่แน่ใจว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิมหรือไม่
15.4
ไม่แน่ใจ
0.5
 
 
             3. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับที่มาของการเลือกนายกฯ คนนอก ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
                 ในภาวะที่ประเทศเกิดวิกฤต”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะประเทศจะได้สงบ ลดความขัดแย้ง แต่ควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน
59.4
ไม่เห็นด้วย เพราะนายกฯ ควรมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
30.0
ไม่แน่ใจ
10.6
 
 
             4. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาหรือ ส.ว. ทั้งหมด 200 คน
                 ที่มาจากการสรรหา”

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย เพราะ ส.ว. ควรจะมาทั้งจากการสรรหา และการเลือกตั้ง
ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
69.2
เห็นด้วยว่า ส.ว. ควรมาจากการสรรหาทั้งหมด 200 คน
18.3
ไม่แน่ใจ
12.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 1. เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนในพรรคการเมืองต่างๆ
                 2. เพื่อสะท้อนการตัดสินใจเลือกพรรคเพื่อไทย ในกรณีที่หัวหน้าพรรคไม่ใช่คนในตระกูลชินวัตร
                 3. เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของการเลือกนายกฯ คนนอก ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
                 4. เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาหรือ ส.ว. ทั้งหมด 200 คน ที่มาจากการสรรหา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนัก ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3 – 5 มีนาคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 มีนาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
587
53.4
             หญิง
512
46.6
รวม
1,099
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
171
15.6
             31 – 40 ปี
254
23.1
             41 – 50 ปี
324
29.4
             51 – 60 ปี
227
20.7
             61 ปีขึ้นไป
123
11.2
รวม
1,099
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
759
69.1
             ปริญญาตรี
272
24.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
68
6.2
รวม
1,099
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
152
13.8
             ลูกจ้างเอกชน
237
21.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
477
43.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
46
4.2
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
139
12.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
30
2.7
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
15
1.4
รวม
1,099
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776