analyticstracking
หัวข้อ   “ บทบาทของไทยในอาเซียน : การร่วมมือและความมั่งคั่ง
นักเศรษฐศาสตร์ ระบุ ปัญหาการเมือง ภาษาอังกฤษ และระบบราชการไทย
เป็นปัจจัยที่ขัดขวางความร่วมมือในอาเซียน
เสนอแนะให้ไทยเร่งขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV รวมถึงการเป็น Hub of ASEAN logistics
พร้อมเรียกร้องให้อาเซียนมีเอกภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเวทีโลก
และควรเร่งขยายโครงข่ายการคมนาคมระหว่างกัน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
เปิดเผยผลสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 64 คน
เรื่อง “บทบาทของไทยในอาเซียน: การร่วมมือและความมั่งคั่ง” โดยเก็บข้อมูล
ระหว่างวันที่ 7-13 มกราคม ที่ผ่านมา ผลสำรวจมีดังนี้
 
                  นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.4 เห็นว่าปัจจุบันประเทศไทย
มีบทบาทค่อนข้างมากในภูมิภาคอาเซียน โดยร้อยละ 43.8 เห็นว่าไทยมีบทบาท
เพิ่มขึ้นในอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต
ขณะที่ร้อยละ 29.7 เห็นว่าไทยมีบทบาท
น้อยลงในอาเซียน
 
                  เมื่อถามว่าปัจจุบันมีอะไรบ้างในระบบของไทยที่ขัดขวางความร่วมมือ
ในอาเซียน นักเศรษฐศาสตร์ยังมองว่าเป็นปัญหาการเมือง ความขัดแย้งทางความคิด
ของคนในประเทศ(ร้อยละ 29.1)
รองลงมาเป็นการสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย
(ร้อยละ 19.6) ถัดมาเป็นระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพ กฎหมายล้าหลังหรือไม่เอื้อ
ต่อความร่วมมือ (ร้อยละ 19.4) ส่วนอุปสรรคสำคัญในการทำให้ประชาคมอาเซียนเป็น
ประชาคมที่สมบูรณ์แบบคือ ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิก
การมองประเทศเพื่อนบ้านเป็นคู่แข่ง
(ร้อยละ 32.2) รองลงมาเป็นความขาดเอกภาพ
ของอาเซียนในเวทีโลก(ร้อยละ 22.4) และความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจน (ร้อยละ 20.0)
 
                  ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 19.3 เห็นว่าอาเซียนควรจะร่วมมือกันในด้านขยายโครงข่ายการคมนาคม
ระหว่างกันให้ครอบคลุมโดยเร็วที่สุด
รองลงมาร้อยละ 19.0 เห็นว่าควรขยายปริมาณการค้าในหมู่ประเทศสมาชิก
และร้อยละ 17.0 เห็นว่าควรเพิ่มบทบาทและสร้างเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก
 
                  นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรเร่งขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่ม
CLMV รวมถึงเร่งขยายการค้า ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน
โดยใช้ประโยชน์จากที่ตั้งของประเทศไทย
ที่อยู่ศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อให้เป็น Hub of ASEAN logistics
 
                  ในส่วนของปัจจัยสำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าจะช่วยขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็นประชาคมที่สมบูรณ์
แบบตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ มีดังนี้

อันดับ 1

สร้างความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการไว้ใจซึ่งกันและกัน
รวมถึงการมีจุดยืนร่วมกันในเวทีโลก
อันดับ 2 ลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิก มีการช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจ
อันดับ 3

สร้างโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และมีการเดินทาง
ท่องเที่ยวระหว่างกันให้มากขึ้น
 
 
                  (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ปัจจุบันบทบาทของไทยในอาเซียนอยู่ในระดับใด

ร้อยละ
 
6.3
มากที่สุด
73.4
ค่อนข้างมาก
18.8
ค่อนข้างน้อย
0.0
น้อยที่สุด
1.5
ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
 
 
             2. ปัจจุบันบทบาทของไทยในอาเซียนเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับอดีต

ร้อยละ
 
29.7
ไทยมีบทบาทน้อยลงในอาเซียน
43.8
ไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอาเซียน
23.4
ไทยมีบทบาทเหมือนเดิม
3.1
ไม่ตอบ/ไม่ทราบ
 
 
             3. มีอะไรบ้างในระบบของไทยที่ขัดขวางความร่วมมือในอาเซียน

ร้อยละ
 
29.1
ปัญหาการเมือง ความขัดแย้งทางความคิดของคนในประเทศ
19.6
การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย
19.4
ระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพ กฎหมายล้าหลังหรือไม่เอื้อต่อความร่วมมือ
11.5
ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทย
9.4
ทัศนคติของคนไทยที่มองประเทศเพื่อบ้านเป็นคู่แข่ง เป็นศัตรู
7.3
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ยังไม่พร้อม
3.7


อื่นๆ ได้แก่ ทรัพยากรบุคคลที่ยังไม่พร้อม ทัศนคติที่มองไทยเหนือกว่าประเทศอื่น
รวมถึงการไม่นิยมออกไปแสวงหาโอกาสภายนอกประเทศของคนไทยและภาคเอกชนไทย
ความไม่รู้/ ไม่เข้าใจข้อตกลงอาเซียน สิทธิที่ควรได้รับ
 
 
             4. อะไรคืออุปสรรคสำคัญในการทำให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ

ร้อยละ
 
32.2

ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิก การมองประเทศเพื่อนบ้านเป็นคู่แข่ง
22.4
ความขาดเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก
20.0
ความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจน
9.2
ความแตกต่างด้านภาษาที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารระหว่างกัน
7.3
ความขัดแย้งเรื่องพรมแดนในหมู่ประเทศสมาชิก
7.3
ความแตกต่างด้านการเมืองการปกครอง
1.6



อื่นๆ ได้แก่ มาตรการที่มิใช้ภาษี/ กฎระเบียบที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงบ่อย ความไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญในการรวมกัน ขาดความร่วมมือ รวมถึงองค์กร
ที่ประสานความร่วมมือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองในแต่ละประเทศ
ที่แตกต่างกัน

               หมายเหตุ มีผู้แสดงความเห็น 63 คน
 
 
             5. ประเทศในอาเซียนควรจะร่วมมือกันในด้านใดให้เร็วที่สุด

ร้อยละ
 
19.3
ขยายโครงข่ายการคมนาคมระหว่างกันให้ครอบคลุม
19.0
ขยายปริมาณการค้าในหมู่ประเทศสมาชิก
17.0
เพิ่มบทบาทและสร้างเอกภาพของอาเซียนในเวทีโลก
13.9
สร้างความมั่นคงในภูมิภาค
14.4
ขยายการลงทุนในประเทศสมาชิก
7.2
การท่องเที่ยวระหว่างกันของประชาชนอาเซียนให้มากขึ้น
4.6
การเคลื่อนย้ายแรงงานที่เสรีให้ครอบคลุมสาขาอาชีพต่างๆ ให้มากขึ้น
4.6
มีการแลกเปลี่ยนด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างกันให้มากขึ้น
 
 
             6. ประเทศไทยควรใช้ประโยชน์อย่างไรจากการเปิดประชาคมอาเซียนให้มากที่สุด (คำถามปลายเปิด)

อันดับ
 
อันดับ 1
เน้นขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV
อันดับ 2
ขยายการค้า ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงการกระจายพืชผลสินค้าเกษตร
อันดับ 3
ใช้ประโยชน์จากที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ศูนย์กลางของอาเซียน ด้วยการดำเนินการให้เป็น Hub of ASEAN logistics
อันดับ 4
ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ให้คนในอาเซียนมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น
อันดับ 5
ใช้ประโยชน์ด้านค่าจ้างแรงงานในอาเซียนที่ยังคงอยู่ในระดับไม่สูง รวมถึงเพื่อแก้ปัญหา การขาดแคลนแรงงานของไทยด้วย
อันดับ 6
อื่นๆ ได้แก่ เน้นสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เร่งลดภาษีสินค้าและ บริการ การส่งเสริมการเกษตรอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
 
 
             7. ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
                 (คำถามปลายเปิด)

อันดับ
 
อันดับ 1
สร้างความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการไว้ใจซึ่งกันและกัน รวมถึงการมีจุดยืนร่วมกันในเวทีโลก
อันดับ 2
ลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิก มีการช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจ
อันดับ 3
สร้างโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงกัน ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และมีการเดินทาง ท่องเที่ยวระหว่างกันให้มากขึ้น
อันดับ 4
มีความร่วมมือกันทางการเมืองให้มากขึ้น มีการเกื้อกูลระหว่างกัน รวมถึงความร่วมมือ ระหว่างภาคเอกชน
อันดับ 5
เร่งลดกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคระหว่างกัน เพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทุน รวมถึงการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
อันดับ 6
อื่นๆ ได้แก่ ลดความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศให้มากที่สุด มีการวางแผนและ ส่งเสริมการเกษตรระหว่างกัน มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของทุกประเทศ
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  เพื่อทราบความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อบทบาทของประเทศไทยในเวทีอาเซียนในปัจจุบัน
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือของไทยในอาเซียน รวมถึงประเด็นความร่วมมือที่อาเซียนควรเร่งดำเนินการ
ผลสำรวจที่ได้คาดว่าจะประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์
อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง
ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัย
เพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ
พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต
คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 7-13 มกราคม 59
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 มกราคม 59
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
31
48.4
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
34.4
             สถาบันการศึกษา
11
17.2
รวม
64
100.0
เพศ:    
             ชาย
39
60.9
             หญิง
25
39.1
รวม
64
100.0
อายุ:
 
 
             20 – 25 ปี
1
1.6
             26 – 35 ปี
15
23.4
             36 – 45 ปี
29
45.3
             46 ปีขึ้นไป
18
28.1
             ไม่ระบุ
1
1.6
รวม
64
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.7
             ปริญญาโท
45
70.3
             ปริญญาเอก
15
23.4
             ไม่ระบุ
1
1.6
รวม
64
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
7
10.9
             6 - 10 ปี
16
25.0
             11 - 15 ปี
17
26.6
             16 - 20 ปี
8
12.5
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
15
23.4
             ไม่ระบุ
1
1.6
รวม
64
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776