analyticstracking
หัวข้อ   “ คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย ในยุคห้ามทำกิจกรรมพรรคการเมือง
คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยแซงพรรคประชาธิปัตย์ แต่คะแนนนิยมลดลงทั้งคู่
คนเลือกเพื่อไทย 59.3% เชียร์คุณหญิงหน่อยนั่งหัวหน้าพรรค
ส่วนคนเลือกประชาธิปัตย์ 62.9% ยังเชียร์มาร์คนั่งหัวหน้าพรรคต่อ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย ในยุคห้ามทำ
กิจกรรมพรรคการเมือง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
จำนวน 1,052 คน พบว่า
 
                  คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 20.3 แซงพรรค
ประชาธิปัตย์ที่คะแนนนิยมอยู่ในระดับร้อยละ 19.5
แม้ว่าเมื่อพิจารณาจาก
การเปลี่ยนแปลงแล้ว ความนิยมทั้ง 2 พรรคจะลดลงเหมือนกัน (เปรียบเทียบกับ
ก.ย. 58) แต่การลดลงของพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 10.0 ขณะที่
พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมลดลงร้อยละ 6.4 สำหรับคะแนนนิยมพรรคการเมืองอื่นๆ
มีดังนี้ พรรครักประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.3 พรรคชาติไทยพัฒนามีคะแนนนิยมอยู่ที่
ร้อยละ 1.2 และพรรคภูมิใจไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.6
 
                 เมื่อถามเฉพาะผู้ที่เลือกพรรคเพื่อไทยว่า “หากมีการเปลี่ยนแปลง
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ท่านชื่นชอบหรืออยากได้ใครมาเป็นหัวหน้าพรรค” พบว่า
ฐานเสียงพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 59.3 อยากได้คุณหญิงสุดารัตน์
เกยุราพันธุ์ มาเป็นหัวหน้าพรรค
รองลงมาร้อยละ 11.2 อยากได้ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
และร้อยละ 3.7 อยากได้ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ ส่วนร้อยละ 25.8 ไม่แน่ใจ
 
                  และเมื่อถามด้วยคำถามเดียวกันกับฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9
ยังคงอยากได้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นหัวหน้าพรรค
รองลงมาร้อยละ 18.2 อยากได้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
และมีเพียงร้อยละ 5.8 ที่อยากได้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่เหลือร้อยละ 13.1 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด”

จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ ก.ย.58
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ ม.ค. 59
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
พรรคเพื่อไทย
26.7
20.3
-6.4
พรรคประชาธิปัตย์
29.5
19.5
-10.0
พรรครักประเทศไทย
0.6
1.3
+0.7
พรรคชาติไทยพัฒนา
0.8
1.2
+0.4
พรรคภูมิใจไทย
0.7
0.6
-0.1
พรรคพลังชล
0.3
0.3
0.0
พรรคอื่นๆ
2.5
2.6
+0.1
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ
38.9
54.2
+15.3
 
 
             2. ข้อคำถาม “หากมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ท่านชื่นชอบหรืออยากได้ใคร
                 มาเป็นหัวหน้าพรรค”
  (ถามเฉพาะผู้ที่เลือกพรรคเพื่อไทย)

 
ร้อยละ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
59.3
ดร. วีรพงษ์ รามางกูร
11.2
ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ
3.7
ไม่แน่ใจ
25.8
 
 
             3. ข้อคำถาม “หากมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ท่านชื่นชอบหรืออยากได้ใคร
                 มาเป็นหัวหน้าพรรค”
  (ถามเฉพาะผู้ที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์)

 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
62.9
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
18.2
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
5.8
ไม่แน่ใจ
13.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชน ที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
                  2) เพื่อต้องการทราบว่าอยากให้ใครมาเป็นหัวหน้าพรรค หากมีการเปลี่ยนแปลง
                      หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 12-14 มกราคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 17 มกราคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
536
51.0
             หญิง
516
49.0
รวม
1,052
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
143
13.6
             31 – 40 ปี
218
20.7
             41 – 50 ปี
286
27.2
             51 – 60 ปี
257
24.4
             61 ปีขึ้นไป
148
14.1
รวม
1,052
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
721
68.6
             ปริญญาตรี
259
24.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
72
6.8
รวม
1,052
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
136
12.9
             ลูกจ้างเอกชน
205
19.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
324
30.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
55
5.2
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
110
10.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
32
3.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
20
1.9
             เกษตรกร
166
15.8
รวม
1,052
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776