analyticstracking
หัวข้อ   “ ความคาดหวังของแฟนบอลต่อนายกสมาคมฟุตบอลคนใหม่กับการพาบอลไทยไปบอลโลก
แฟนบอล 72.8% ติดตามการเลือกตั้ง นายกฯ บอลคนใหม่
42.6% เชียร์ พล.ต.อ.สมยศ นั่ง นายกฯ บอล 66% กลัวการเลือกตั้งไม่โปร่งใส
78.6% เชื่อการเปลี่ยนนายกฯ บอลคนใหม่จะพาไทยไปบอลโลกได้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 11 กุมภาพพันธ์ที่จะถึงนี้จะมีการเลือกตั้งนายกสมาคม
ฟุตบอลแห่งประเทศไทย กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ความคาดหวังของแฟนบอลต่อนายก
สมาคมฟุตบอลคนใหม่กับการพาบอลไทยไปบอลโลก” โดยเก็บข้อมูลจากแฟน
บอลที่ติดตามข่าวสารฟุตบอลไทยจำนวนทั้งสิ้น 1,112 คน เมื่อวันที่
6 - 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า
 
                  แฟนบอลร้อยละ 92.6 เห็นว่าปัจจุบันกระแสบอลไทยคึกคักขึ้นมาก
คนไทยติดตามเพิ่มขึ้น
ขณะที่ร้อยละ 6.6 เห็นว่ายังทรงๆ เหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 0.8
ที่เห็นว่าไม่ค่อยคึกคักคนไทยติดตามลดลง
 
                  เมื่อถามว่าปัจจุบันทีมฟุตบอลไทยเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับอดีต
ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.8 เห็นว่ามีการพัฒนาขึ้น
ขณะที่ร้อยละ 5.8 เห็นว่า
ยังคงย่ำอยู่กับที่ มีเพียงร้อยละ 0.4 ที่เห็นว่าแย่ลงกว่าเดิม
 
                 สำหรับปัจจัยที่จะช่วยทำให้ทีมฟุตบอลไทยมีโอกาสได้ไปบอลโลกมากขึ้นในความเห็นของแฟนบอล
พบว่าอันดับแรก คือ ความเข็มแข็งของลีกฟุตบอลในประเทศ (ร้อยละ 64.5)
รองลงมาคือ การเปลี่ยนแปลงการบริหาร
งานของสมาคมฟุตบอล (ร้อยละ 55.5) และการพัฒนาศักยภาพโค้ช ผู้ฝึกสอน (ร้อยละ 47.7)
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าปัจจุบันทีมชาติไทยมีศักยภาพพอที่จะไปเล่นฟุตบอลโลกหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ
51.5
คิดว่ามีศักยภาพพอ ขณะที่ร้อยละ 48.5 คิดว่ายังไม่มีศักยภาพ
 
                  ด้านการติดตามการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลคนใหม่ แทน นายวระวีร์ มะกูดี ในวันที่ 11 ก.พ. 59
ที่จะถึงนี้พบว่า แฟนบอลส่วนใหญ่ร้อยละ 72.8 มีการติดตามการเลือกตั้ง
ขณะที่ร้อยละ 27.2 ไม่ได้มีการติดตาม
 
                  สำหรับความเชื่อมั่นต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในครั้งนี้
พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 34.0 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด
 
                 โดยแฟนบอลร้อยละ 42.6 อยากได้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นนายกสมาคมฟุตบอล
แห่งประเทศไทยคนใหม่มากที่สุด
รองลงมาคือ ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน (ร้อยละ 28.2) และนายวนัสธนา (ธวัชชัย) สัจจกุล
(ร้อยละ 23.8)
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าการเปลี่ยนแปลงนายกสมาคมฟุตบอลในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ฟุตบอลไทย
ได้ไปฟุตบอลโลกหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 คิดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสได้
ขณะที่ร้อยละ 21.4 คิดว่าเหมือนเดิม
ไม่ได้ช่วยอะไร
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. กระแสบอลไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
คึกคักขึ้นมาก คนไทยติดตามเพิ่มขึ้น
92.6
ยังทรงๆ เหมือนเดิม
6.6
ไม่ค่อยคึกคัก คนไทยติดตามลดลง
0.8
 
 
             2. ปัจจุบันทีมฟุตบอลไทยเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
มีการพัฒนาขึ้น
93.8
ยังคงย่ำอยู่กับที่
5.8
แย่ลงกว่าเดิม
0.4
 
 
             3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่จะช่วยทำให้ทีมฟุตบอลไทยมีโอกาสได้ไปบอลโลกมากขึ้น
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ความเข็มแข็งของลีกฟุตบอลในประเทศ
64.5
การเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของสมาคมฟุตบอล
55.5
การพัฒนาศักยภาพโค้ช ผู้ฝึกสอน
47.7
การมีนักเตะไทยในลีกต่างชาติ
30.0
การเปลี่ยนเป้าหมายให้ไกลกว่าที่ 1 ของอาเซียน
27.1
 
 
             4. ข้อคำถาม “คิดว่าปัจจุบันทีมชาติไทยมีศักยภาพพอที่จะไปเล่นฟุตบอลโลกหรือไม่”

 
ร้อยละ
คิดว่ามีศักยภาพพอ
51.5
คิดว่ายังไม่มีศักยภาพพอ
48.5
 
 
             5. การติดตามการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลคนใหม่ แทนที่ นายวระวีร์ มะกูดี ในวันที่ 11 ก.พ. 59
                 ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ติดตาม
72.8
ไม่ติดตาม
27.2
 
 
             6. ความเชื่อมั่นต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในครั้งนี้

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 30.1 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 3.9)
34.0
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 51.1 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 14.9)
66.0
 
 
             7. ข้อคำถาม “อยากได้ใครเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยคนใหม่”

 
ร้อยละ
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
42.6
ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน
28.2
นายวนัสธนา (ธวัชชัย) สัจจกุล
23.8
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
3.4
นายพินิจ สะสินิน
1.2
พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม
0.8
 
 
             8. ข้อคำถาม “คิดว่าการเปลี่ยนแปลงนายกสมาคมฟุตบอลในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ฟุตบอลไทย
                 ได้ไปฟุตบอลโลกหรือไม่”

 
ร้อยละ
คิดว่าจะช่วยเพิ่มโอกาส
78.6
คิดว่าเหมือนเดิมไม่ได้ช่วยอะไร
21.4
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นของแฟนบอลต่อทีมฟุตบอลไทยกับการไปฟุตบอลโลก
                 - เพื่อสะท้อนการติดตามการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลคนใหม่ในวันที่ 11 ก.พ. 59 ที่จะถึงนี้
 
ระเบียบวิธีการสำรว:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านและอาศัยในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 19 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร
จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค ปทุมวัน พระนคร ภาษีเจริญ
ยานาวา ลาดกระบัง วังทองหลาง และสาทร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้น
ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,112 คน เป็นชายร้อยละ 87.2 และหญิง
ร้อยละ 12.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5 – 7 กุมภาพันธ์ 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 กุมภาพันธ์ 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
970
87.2
             หญิง
142
12.8
รวม
1,112
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
559
50.4
             31 – 40 ปี
266
23.9
             41 – 50 ปี
184
16.5
             51 – 60 ปี
76
6.8
             61 ปีขึ้นไป
27
2.4
รวม
1,112
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
688
61.9
             ปริญญาตรี
376
33.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
48
4.3
รวม
1,112
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
125
11.2
             ลูกจ้างเอกชน
401
36.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
231
20.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
44
4.0
             ทำงานให้ครอบครัว
22
2.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
23
2.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
244
21.9
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
22
2.0
รวม
1,112
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776