analyticstracking
หัวข้อ   “ ประชาชนกับวิกฤตภัยแล้ง 2559
ประชาชน 62.9% วิตกกังวลกับสถานการณ์ภัยแล้ง แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด
ครึ่งหนึ่งของประเทศมีการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง
ส่วนใหญ่เห็นด้วยหากรัฐออกมาตรการควบคุมการใช้น้ำ และ
58.2%พอใจแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 22 มีนาคมที่จะถึงนี้เป็นวันอนุรักษ์น้ำโลกและประเทศ
ไทยอยู่ในช่วงวิกฤตภัยแล้ง กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนกับวิกฤตภัยแล้ง 2559”
โดย
เก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,263 คน พบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.4 ระบุว่ายังคงใช้น้ำเหมือนเดิมในปัจจุบัน ขณะที่ร้อยละ 38.0
ระบุว่าใช้น้ำลดลง ส่วนที่เหลือร้อยละ 7.6 ระบุว่า ใช้น้ำเพิ่มขึ้น
 
                  สำหรับความวิตกกังวลกับสถานการณ์ภัยแล้ง และการขาดน้ำเพื่อใช้
ในการอุปโภคบริโภคพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9 มีความวิตกกังวล
ขณะที่ร้อยละ
37.1 ไม่มีความวิตกกังวล โดยเรื่องที่ทำให้ประชาชนกังวลมากที่สุดจากการเกิด
สถานการณ์ภัยแล้ง คือ รายได้/การทำเกษตร/พืชผลเสียหาย (ร้อยละ 55.1)

รองลงมาคือ ข้าวของราคาแพงขึ้น/ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น(ร้อยละ 53.4) และการขาด
น้ำดื่มน้ำใช้ (ร้อยละ 47.3)
 
                 เมื่อถามถึงการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งพบว่า ประชาชน
ร้อยละ 50.0 มีการเตรียมรับมือ เพราะคาดว่าจะเกิดปัญหาน้ำไม่พอใช้ ซึ่งมีสัดส่วน
เท่ากับประชาชนกลุ่มที่ระบุว่า ไม่มีการเตรียมรับมือ เพราะน่าจะมีน้ำใช้เพียงพอ
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่ามีการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง มีการเตรียมรับ
มือด้วยการใช้น้ำอย่างประหยัด (ร้อยละ 80.1)
รองลงมา จะซื้อถังเก็บน้ำ (ร้อยละ
49.1) และจะกักตุนน้ำดื่ม (ร้อยละ 35.5)
 
                 เมื่อถามว่าภัยแล้งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและอาชีพมากน้อยเพียงใด พบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 60.4 เห็นว่ามีผลกระทบค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 39.6 เห็นว่ามีผลกระทบค่อนข้างมากถึงมาก
ที่สุด
 
                  นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.8 “เห็นด้วย” หากรัฐบาลจะออกมาตรการควบคุมการใช้น้ำ
เช่น การจ่ายน้ำเป็นเวลา หรือการงดจ่ายน้ำในบางพื้นที่
ขณะที่ร้อยละ 44.2 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย”
 
                 สุดท้ายเมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลพบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 41.8 พึงพอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การใช้น้ำของประชาชนในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
ใช้ลดลง
38.0
ใช้เหมือนเดิม
54.4
ใช้เพิ่มขึ้น
7.6
 
 
             2. ความวิตกกังวลกับสถานการณ์ภัยแล้ง และการขาดน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
วิตกกังวล
62.9
ไม่วิตกกังวล
37.1
 
 
             3. เรื่องที่ทำให้กังวลมากที่สุดจากการเกิดสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้
                 (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
รายได้/การทำเกษตร/พืชผลเสียหาย
55.1
ข้าวของราคาแพงขึ้น /ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น
53.4
ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้
47.3
ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
34.9
การกักตุนสินค้า /สินค้าขาดแคลนเช่น น้ำดื่ม
25.0
 
 
             4. การเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง

 
ร้อยละ
มีการเตรียมรับมือ เพราะคาดว่าจะเกิดปัญหาน้ำไม่พอใช้
50.0
ไม่มีการเตรียมรับมือ เพราะน่าจะมีน้ำใช้เพียงพอ
50.0
 
 
             5. วิธีการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดน้ำดื่มน้ำใช้ และเพื่อการเกษตร
                 (ถามเฉพาะผู้ที่มีการเตรียมรับมือและเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ))

 
ร้อยละ
ใช้น้ำอย่างประหยัดขึ้น
80.1
ซื้อถังเก็บน้ำ
49.1
กักตุนน้ำดื่ม
35.5
เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน
12.1
งดทำการเกษตร/เปลี่ยนอาชีพ
9.5
 
 
             6. ภัยแล้งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและอาชีพมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 31.1 และมากที่สุดร้อยละ 8.5)
39.6
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 38.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 22.0 )
60.4
 
 
             7. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่ หากรัฐบาลจะออกมาตรการควบคุมการใช้น้ำ เช่น การจ่ายน้ำเป็นเวลา
                  หรือ การงดจ่ายน้ำในบางพื้นที่”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
55.8
ไม่เห็นด้วย
44.2
 
 
             8. ความพึงพอใจต่อแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล

 
ร้อยละ
พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 51.0 และมากที่สุดร้อยละ 7.2)
58.2
พึงพอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.0 )
41.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
                 2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง
                 3) เพื่อสะท้อนความพึงพอใจต่อแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 16 - 17 มีนาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 มีนาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
615
48.7
             หญิง
648
51.3
รวม
1,263
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
180
14.3
             31 – 40 ปี
277
21.9
             41 – 50 ปี
336
26.6
             51 – 60 ปี
301
23.8
             61 ปีขึ้นไป
169
13.4
รวม
1,263
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
902
71.5
             ปริญญาตรี
279
22.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
81
6.4
รวม
1,263
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
170
13.5
             ลูกจ้างเอกชน
263
20.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
572
45.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
39
3.1
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
169
13.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
24
1.9
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
23
1.8
รวม
1,263
100.0
ภูมิภาค:
   
             กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
225
17.8
             ภาคกลาง
257
20.4
             ภาคตะวันออก
128
10.1
             ภาคเหนือ
199
15.8
             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
286
22.6
             ภาคใต้
168
13.3
รวม
1,263
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776