analyticstracking
หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรกับการแสดงความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ
ประชาชน 68.6% อยากฟังความเห็นทั้งจากฝ่ายรับและไม่รับร่าง รธน. ก่อนไปลงประชามติ
49.5% เห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มต่างๆ ไม่มีผลต่อการรับหรือไม่รับร่าง รธน.
ส่วนใหญ่เชื่อมั่น กกต. คุมการแสดงความเห็นให้อยู่ในขอบเขตของ พ.ร.บ. ประชามติได้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความ
คิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการแสดงความเห็นที่มีต่อร่าง
รัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,014 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.6 เห็นด้วยกับแนวคิดที่เปิดโอกาส
ให้ฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ มีโอกาสแสดงข้อมูล
ความเห็น ก่อนถึงวันลงประชามติ แต่ต้องมีเหตุผลประกอบและเป็นไปตาม
หลักวิชาการ
ขณะที่ร้อยละ 20.6 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้เกิดการชี้นำ และก่อให้
เกิดความขัดแย้ง ส่วนที่เหลือร้อยละ 10.8 ยังไม่แน่ใจา
 
                 เมื่อถามว่า คิดว่าการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ
ของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มนักการเมืองหรือกลุ่มนักวิชาการ ทำให้มีผลต่อการ
ตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ ของท่านมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.5
เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 41.5 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของ กกต. มากน้อยเพียงใดในการควบคุมดูแลการแสดง
ความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญให้อยู่ในขอบเขตของ พ.ร.บ. ประชามติ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 31.9 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 14.8 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในร่าง
                 รัฐธรรมนูญ มีโอกาสแสดงข้อมูลความเห็น ก่อนถึงวันลงประชามติ”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย แต่ต้องมีเหตุผลและเป็นไปตามหลักวิชาการ
68.6
ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้เกิดการชี้นำ และก่อให้เกิดความขัดแย้ง
20.6
ไม่แน่ใจ
10.8
 
 
             2. ข้อคำถาม “คิดว่าการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มนักการเมือง
                 หรือกลุ่มนักวิชาการ ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ ของท่านมากน้อยเพียงใด” ”

 
ร้อยละ
มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 35.3 และมากที่สุดร้อยละ 6.2)
41.5
มีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ19.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 29.8)
49.5
ไม่แน่ใจ
9.0
 
 
             3. ความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของ กกต. ในการควบคุมดูแลการแสดงความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ
                 ให้อยู่ในขอบเขตของ พ.ร.บ. ประชามติ

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 41.4 และมากที่สุดร้อยละ 11.9)
53.3
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 22.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 9.2)
31.9
ไม่แน่ใจ
14.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 1) เพื่อต้องการทราบความเห็นต่อแนวคิดที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ
                     มีโอกาสแสดงข้อมูลความเห็นที่มีต่อร่างฯ ก่อนถึงวันลงประชามติ
                 2) เพื่อสะท้อนการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มนักการเมืองหรือกลุ่มนักวิชาการ
                     ทำให้มีผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างฯ ของท่านมากน้อยเพียงใด
                 3) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของ กกต. ในการควบคุมดูแลการแสดงความเห็นที่มีต่อร่าง
                     รัฐธรรมนูญให้อยู่ในขอบเขตของ พ.ร.บ. ประชามติ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 2 - 4 พฤษภาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 พฤษภาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
513
50.6
             หญิง
501
49.4
รวม
1,014
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
128
12.6
             31 – 40 ปี
212
20.9
             41 – 50 ปี
289
28.5
             51 – 60 ปี
250
24.7
             61 ปีขึ้นไป
135
13.3
รวม
1,014
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
679
67.0
             ปริญญาตรี
258
25.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
77
7.6
รวม
1,014
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
151
14.9
             ลูกจ้างเอกชน
215
21.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว
269
26.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
52
5.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
139
13.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
33
3.3
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
15
1.5
             เกษตรกร
140
13.8
รวม
1,014
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776