analyticstracking
หัวข้อคะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังผ่าน 1 เดือนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยลดลง หลังผ่าน 1 เดือนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ประชาชนอยากให้บิ๊กตู่เป็นนายกฯ คนต่อไปมากที่สุด
ส่วนใหญ่ 64.2% ยังอยากให้มีการใช้ประชานิยมหาเสียง แต่ชี้ว่าควรใช้อย่างสร้างสรรค์
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังผ่าน 1 เดือน
การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่ว
ประเทศจำนวน 1,156 คน พบว่า
 
                 ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.9 เห็นว่าการใช้ประชานิยมหาเสียง
ของพรรคการเมืองแบบที่ผ่านมาในอดีต ไม่เหมาะสมเพราะมีแค่กลุ่มคนบางกลุ่ม
ได้รับผลประโยชน์จากประชานิยมนั้น
ขณะที่ร้อยละ 32.4 เห็นว่าเหมาะสม เพราะทำ
ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ส่วนที่เหลือร้อยละ 7.7 ไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามว่าอยากให้มีการใช้ประชานิยมหาเสียงอยู่อีกหรือไม่ใน
อนาคต ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 อยากให้มี แต่การใช้ประชานิยมหาเสียงควรใช้
อย่างสร้างสรรค์ โดยในจำนวนนี้อยากให้ใช้ประชานิยมตอบสนองด้านเศรษฐกิจ
แก้ปัญหาของแพง ค่าครองชีพมากที่สุด (ร้อยละ 70.8) รองลงมาคือ ด้านการ
เกษตร สินค้าเกษตร (ร้อยละ 62.1) และด้านการศึกษา (ร้อยละ 59.6)
ขณะที่
ร้อยละ 31.6 ไม่อยากให้ใช้ประชานิยมหาเสียง มีเพียงร้อยละ 4.2 ไม่แน่ใจ
 
                 ส่วนคะแนนนิยมพรรคการเมืองพบว่า คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์อยู่ที่ร้อยละ 16.9 (ลดลงจาก
ผลสำรวจเมื่อเดือน พฤษภาคม 2559 ร้อยละ 5.8) รองลงมาคือพรรคเพื่อไทยที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 15.3
(ลดลงร้อยละ 3.8)
และพรรคชาติไทยพัฒนามีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.2 (ลดลงร้อยละ 0.9)
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป” พบว่า อันดับ
แรกคือ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รองลงมาคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 3.8) และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 3.7)
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คิดว่าการใช้ประชานิยมหาเสียงของพรรคการเมืองแบบที่ผ่านมาในอดีตเป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
ไม่เหมาะสมเพราะมีแค่กลุ่มคนบางกลุ่มได้รับผลประโยชน์จากประชานิยมนั้น
59.9
เหมาะสม เพราะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
32.4
ไม่แน่ใจ
7.7
 
 
             2. ข้อคำถาม “อยากให้มีการใช้ประชานิยมหาเสียงอยู่หรือไม่ในอนาคต”

 
ร้อยละ
อยากให้มีการใช้อย่างสร้างสรรค์
   โดยอยากให้ตอบสนองความต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
  ด้านเศรษฐกิจแก้ปัญหาของแพง ค่าครองชีพ ร้อยละ 70.8
  ด้านการเกษตร สินค้าเกษตร ร้อยละ 62.1
  ด้านการศึกษา ร้อยละ 59.6
  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 59.3
  ด้านสวัสดิการสังคม สุขอนามัย ร้อยละ 54.3
  ด้านระบบขนส่งสาธารณะที่ทันสมัย ร้อยละ 40.8
64.2
ไม่อยากให้ใช้ประชานิยมหาเสียง
31.6
ไม่แน่ใจ
4.2
 
 
             3. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด”

จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ
พ.ค. 59
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
ก.ย. 59
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
พรรคประชาธิปัตย์
22.7
16.9
-5.8
พรรคเพื่อไทย
19.1
15.3
-3.8
พรรคชาติไทยพัฒนา
2.1
1.2
-0.9
พรรครักประเทศไทย
1.3
0.9
-0.4
พรรคภูมิใจไทย
0.5
0.9
+0.4
พรรคพลังชล
0.8
0.3
-0.5
พรรคอื่นๆ
0.9
1.4
+0.5
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ
52.6
63.1
+10.5
 
 
             4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป” (5 อันดับแรก)
                
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
26.6
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
3.8
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
3.7
ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
0.3
จาตุรนต์ ฉายแสง
0.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 1) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชน ที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
                 2) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการใช้ประชานิยมในการหาเสียง
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบปลายเปิด (Open Ended Question) และแบบ
เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 6 – 7 กันยายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 กันยายน 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
607
52.5
             หญิง
549
47.5
รวม
1,156
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
178
15.4
             31 – 40 ปี
245
21.2
             41 – 50 ปี
334
28.9
             51 – 60 ปี
267
23.1
             61 ปีขึ้นไป
132
11.4
รวม
1,156
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
784
67.8
             ปริญญาตรี
306
26.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
66
5.7
รวม
1,156
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
152
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
237
20.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
523
45.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
52
4.5
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
142
12.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
30
2.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
20
1.7
รวม
1,156
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776