analyticstracking
หัวข้อความหวังของประชาชนกับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเมืองไทย
ประชาชน 71.3% ชี้ควรปฏิรูปการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง อย่างจริงจังก่อนการเลือกตั้งปีหน้า
74.1%อยากให้มีการเซ็ตซีโร่พรรคการเมือง และ67.8% อยากเห็นการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ
62.7% หวังอยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ๆ
เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการเลือกตั้งปีหน้า
60.3% พร้อมเชื่อมั่น คสช. ปฏิรูปการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ใหม่ทั้งหมด จะพาประเทศพัฒนาดีขึ้นแน่นอน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความหวังของประชาชนกับการก้าวเข้าสู่
ยุคใหม่ของการเมืองไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
จำนวน 1,221 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.3 คิดว่าควรมีการปฏิรูป
การเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง อย่างจริงจังก่อนการเลือกตั้งปีหน้า
ขณะที่
ร้อยละ 22.6 คิดว่าดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร และร้อยละ 6.1 ไม่แน่ใจ
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเซ็ตซีโร่พรรคการเมือง
(โดยทุกพรรคจะต้องเหมือนนับหนึ่งใหม่ เช่น จดทะเบียนพรรค สมาชิกพรรค หัวหน้าพรรค
เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบก่อนการเลือกตั้งในปีหน้า) ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.1
เห็นด้วย เพราะจะได้มีทางเลือกมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีพรรคการเมือง นักการเมือง
ใหม่มากขึ้น
ขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ต้องยุบพรรคใหญ่ และใช้เวลา
นานในการตั้งพรรคใหม่ เซ็ตพรรคใหม่ ส่วนร้อยละ 5.7 ไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการจำกัดค่าใช้จ่ายและการจำกัดการใช้สื่อในการหาเสียงของ ส.ส.
ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.5 เห็นด้วย เพราะจะทำให้นักการเมืองมีการหาเสียงได้เท่าเทียมกัน
ขณะที่ร้อยละ 17.3
ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้การหาเสียงไม่คึกคัก ขาดสีสัน ส่วนที่เหลือร้อยละ 4.2 ไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับสิ่งที่ประชาชนคาดหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด หลังจากการปฏิรูประบบการเมืองไทย
คือ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ นโยบายหาเสียงใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน
(ร้อยละ 62.7)
รองลงมาอยากให้การเมืองไทยมีการแข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ซื้อเสียง (ร้อยละ 57.4) และอยากให้
นักการเมืองลดการแสวงหาผลประโยชน์ภายหลังการเลือกตั้ง (ร้อยละ 48.2)
 
                  นอกจากนี้เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระทั้งหมด โดยเริ่มจาก กกต. เป็นที่แรก
พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.8 เห็นด้วยเพราะควรเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ก่อนเลือกตั้งปีหน้า
ขณะที่ร้อยละ 25.2
ไม่เห็นด้วยเพราะระบบเดิมดีอยู่แล้ว ที่เหลือร้อยละ 7.0 ไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล คสช. ในการปฏิรูประบบการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ
ใหม่ทั้งหมด จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้กว่าอดีตที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 33.1 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 6.6 ไม่แน่ใจ
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คิดว่าการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง ของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร ”

 
ร้อยละ
คิดว่าควรมีการปฏิรูปอย่างจริงจังก่อนการเลือกตั้งปีหน้า
71.3
คิดว่าดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
22.6
ไม่แน่ใจ
6.1
 
 
             2. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการเซ็ตซีโร่พรรคการเมือง (โดยทุกพรรคจะต้องเหมือนนับหนึ่งใหม่
                 เช่น จดทะเบียนพรรค สมาชิกพรรค หัวหน้าพรรค เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
                 ก่อนการเลือกตั้งในปีหน้า)”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะจะได้มีทางเลือกมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีพรรคการเมือง นักการเมืองใหม่มากขึ้น
74.1
ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ต้องยุบพรรคใหญ่ และใช้เวลานานในการตั้งพรรคใหม่ เซ็ตพรรคใหม่
20.2
ไม่แน่ใจ
5.7
 
 
             3. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการจำกัดค่าใช้จ่ายและการจำกัดการใช้สื่อในการหาเสียงของ ส.ส.”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะจะทำให้นักการเมืองมีการหาเสียงได้เท่าเทียมกัน
78.5
ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้การหาเสียงไม่คึกคัก ขาดสีสัน
17.3
ไม่แน่ใจ
4.2
 
 
             4. ข้อคำถาม “ท่านคาดหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไร หลังจากการปฏิรูประบบการเมืองไทย”
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ นโยบายหาเสียงใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน
62.7
อยากให้การเมืองไทยมีการแข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ซื้อเสียง
57.4
อยากให้นักการเมืองลดการแสวงหาผลประโยชน์ภายหลังการเลือกตั้ง
48.2
อยากให้มีการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันของนักการเมือง
35.6
อยากให้ลดบทบาทของการสร้างระบบทุนนิยม
29.0
 
 
             5. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระทั้งหมด โดยเริ่มจาก กกต. เป็นที่แรก”

 
ร้อยละ
เห็นด้วยเพราะควรเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ก่อนเลือกตั้งปีหน้า
67.8
ไม่เห็นด้วยเพราะระบบเดิมดีอยู่แล้ว
25.2
ไม่แน่ใจ
7.0
 
 
             6. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล คสช. ในการปฏิรูประบบการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ ใหม่ทั้งหมด
                 จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้กว่าอดีตที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 45.2 และมากที่สุดร้อยละ 15.1)
60.3
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 21.3 และน้อยที่สุดร้อยละ 11.8)
33.1
ไม่แน่ใจ
6.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง การเซ็ตซีโร่พรรคการเมือง
                      การเซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ
                  2) เพื่อสะท้อนความหวังของประชาชนหลังปฏิรูประบบการเมือง
                  3) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล คสช. ในการปฏิรูประบบการเมือง ข้าราชการ องค์กรอิสระ
                      ใหม่ทั้งหมด จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้กว่าอดีตที่ผ่านมา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                 ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบ
ถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 4 – 6 ตุลาคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 ตุลาคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
618
50.6
             หญิง
603
49.4
รวม
1,221
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
203
16.6
             31 – 40 ปี
264
21.6
             41 – 50 ปี
316
25.9
             51 – 60 ปี
272
22.3
             61 ปีขึ้นไป
166
13.6
รวม
1,221
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
804
65.9
             ปริญญาตรี
335
27.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
82
6.7
รวม
1,221
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
140
11.5
             ลูกจ้างเอกชน
281
23.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
509
41.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
61
5.0
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
167
13.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
48
3.9
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
15
1.2
รวม
1,221
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776