analyticstracking
หัวข้อทางออกของความปรองดองในสังคมไทย
คนไทย 75.2% เห็นด้วยกับการสร้างความปรองดอง โดยทำ MOU
ร่วมกันของพรรคการเมืองและคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่เชื่อจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ 72.1%เห็นว่า ม. 44 ยังจำเป็นอยู่
67.2% เห็นด้วยกับการรีเซ็ตนักการเมืองปัจจุบัน หากยังปรองดองไม่สำเร็จ
57.9%อยากปรองดองสำเร็จก่อนมีการเลือกตั้ง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ทางออกของความปรองดองในสังคมไทย” โดยเก็บ
ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,216 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.2 เห็นด้วยว่าควรให้พรรคการเมือง
และคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือทางออกโดยทำสัจจะวาจาร่วมกัน และ
ให้ลงนามข้อตกลง (MOU) เป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม เพื่อสร้าง
ความปรองดองให้แก่สังคม โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า
ประเทศจะเดินหน้าพัฒนา
ได้เร็วขึ้น (ร้อยละ 59.1) รองลงมาคือ จะได้เดินหน้าสู่การเลือกตั้งได้เร็วยิ่งขึ้น (ร้อยละ
47.1) และจะได้มีหลักฐานชัดเจน ไม่มีใครกล้าละเมิดข้อตกลง (ร้อยละ 43.0) ขณะที่
ร้อยละ 20.5 เห็นว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยังไงก็กลับมาขัดแย้งอยู่ดี และ
ร้อยละ 4.3 ไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าการสร้างความปรองดองโดยการทำ MOU ในข้างต้น
จะช่วยทำให้สังคมเลิกขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่ายได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.2 เชื่อมั่นค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 43.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนข้อคำถามที่ว่า ม.44 ยังจำเป็นหรือไม่กับสังคมไทย หากรัฐบาลต้องการสร้างความสามัคคี
ปรองดอง ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.1 เห็นว่าจำเป็นอยู่
ขณะที่ร้อยละ 19.8 เห็นว่าไม่จำเป็นแล้ว ที่เหลือร้อยละ 8.1 ไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการรีเซ็ตนักการเมืองในปัจจุบัน ให้เว้นวรรคการเมือง 1 สมัย เพื่อให้
ผ่านข้อครหาที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง และให้นักการเมืองรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน หากยังไม่สามารถ
สร้างความปรองดองได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 ระบุว่า “เห็นด้วย”
ขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย” และร้อยละ
10.9 ยังไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าควรปฏิรูปสร้างความปรองดองให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้งหรือเดินหน้า
เลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 อยากให้ปฏิรูปให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้ง
ส่วนร้อยละ
35.9 อยากให้มีการเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้ และเดินหน้าปฏิรูปต่อไปพร้อมๆ กัน ที่เหลือร้อยละ 6.2 ยังไม่แน่ใจ
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างความปรองดอง โดยให้พรรคการเมืองและคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                 มาหารือทางออก โดยทำสัจจะวาจาร่วมกัน และให้ลงนามข้อตกลง (MOU) เป็นลายลักษณ์อักษร
                 ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม


 
ร้อยละ
เห็นด้วยและคิดว่าควรทำ
 โดยให้เหตุผลว่า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
   ประเทศจะเดินหน้าพัฒนาได้เร็วขึ้น ร้อยละ 59.1
   จะได้เดินหน้าสู่การเลือกตั้งได้เร็วยิ่งขึ้น ร้อยละ 47.1
   จะได้มีหลักฐานชัดเจน ไม่มีใครกล้าละเมิดข้อตกลง ร้อยละ 43.0
   จะได้ยุติความขัดแย้ง เลิกการชุมนุม ปิดถนน เหมือนในอดีต ร้อยละ 42.3
75.2
ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยังไงก็กลับมาขัดแย้งอยู่ดี
20.5
ไม่แน่ใจ
4.3
 
 
             2. ความเชื่อมั่นต่อการสร้างความปรองดองโดยการทำ MOU ในข้างต้นจะช่วยทำให้สังคมเลิกขัดแย้ง
                 แบ่งฝักฝ่ายได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
   (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 40.2 และมากที่สุดร้อยละ 7.0)
47.2
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
   (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 29.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 14.8)
43.8
ไม่แน่ใจ
9.0
 
 
             3. ข้อคำถาม “คิดว่า ม.44 ยังจำเป็นหรือไม่กับสังคมไทย หากรัฐบาลต้องการสร้าง
                 ความสามัคคีปรองดอง”

 
ร้อยละ
จำเป็น
72.1
ไม่จำเป็น
19.8
ไม่แน่ใจ
8.1
 
 
             4. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการรีเซ็ตนักการเมืองในปัจจุบัน ให้เว้นวรรคการเมือง 1 สมัย
                 เพื่อให้ผ่านข้อครหาที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง และให้นักการเมืองรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน
                 หากยังไม่สามารถสร้างความปรองดองได้”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
62.7
ไม่เห็นด้วย
21.9
ไม่แน่ใจ
10.9
 
 
             5. ข้อคำถาม “คิดว่าควรปฏิรูปสร้างความปรองดองให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้ง
                 หรือเดินหน้าเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้”

 
ร้อยละ
คิดว่าควรปฏิรูปให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้ง
57.9
คิดว่าเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้ และเดินหน้าปฏิรูปต่อไปพร้อมๆ กัน
35.9
ไม่แน่ใจ
6.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นถึงแนวทางการปฏิรูปสร้างความปรองดอง ในสังคมไทย
                  2) เพื่อสะท้อนความเห็นว่าควรปฏิรูปสร้างความปรองดองให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง
                      หรือเดินหน้าเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17 – 18 มกราคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 มกราคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
656
53.9
             หญิง
560
46.1
รวม
1,216
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
175
14.4
             31 – 40 ปี
256
21.1
             41 – 50 ปี
321
26.4
             51 – 60 ปี
286
23.5
             61 ปีขึ้นไป
178
14.6
รวม
1,216
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
773
63.6
             ปริญญาตรี
361
29.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
82
6.7
รวม
1,216
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
152
12.5
             ลูกจ้างเอกชน
266
21.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
522
43.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
45
3.7
            ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
178
14.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
31
2.5
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
19
1.6
รวม
1,216
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776