analyticstracking
หัวข้อถอดบทเรียนพระธัมมชโย : วิกฤตการณ์สั่นคลอนพระพุทธศาสนา
             บทเรียนที่ชาวพุทธได้จาก กรณี “พระธัมมชโย” มากที่สุดคือ การนำความศรัทธาของชาวพุทธ
มาแปลงเป็นผลประโยชน์เข้าวัดในรูปของการทำบุญ และร้อยละ 63.5 ยังระบุว่าทำให้เกิดความเข้าใจผิด
เรื่องการทำบุญ โดยเห็นบุญเป็นสินค้า จ่ายเยอะได้บุญเยอะ
             เมื่อถามถึงความกังวลต่อวิถีแห่งศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ชาวพุทธส่วนใหญ่
ร้อยละ 54.6 ระบุว่ากังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด แต่อยากให้มีการปฏิรูปในวงการพุทธศาสนาให้เห็น
เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะ การยึดและเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  จากกรณีข่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัด
พระธรรมกายและ พระลูกวัด ในขณะนี้ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ถอดบทเรียน
พระธัมมชโย : วิกฤตการณ์สั่นคลอนพระพุทธศาสนา”
โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,075 คน จากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศ พบว่า
 
                  บทเรียนที่ชาวพุทธได้รับจาก กรณี “พระธัมมชโย” มากที่สุด
ร้อยละ 25.9 คือ การนำความศรัทธาของชาวพุทธ มาแปลงเป็นผลประโยชน์
เข้าวัดในรูปของการทำบุญ
รองลงมาร้อยละ 24.9 คือ แสดงให้เห็นว่าชาวพุทธ
มีความเข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนาน้อยมากจึงง่ายที่จะคล้อยตามและหลงใหล
ศรัทธา และร้อยละ 21.1 คือการปล่อยให้มีการปลูกฝังคำสอนที่ผิด บิดเบือน การสอน
พระธรรม จนกลายเป็นปัญหาใหญ่
 
                  ส่วนเรื่องที่กระทบต่อแนวคิดและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาจาก“กรณี ธรรมกาย” ชาวพุทธ
ร้อยละ 63.5 ระบุว่าเกิดความเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญ โดยเห็นบุญเป็นสินค้า จ่ายเยอะได้บุญเยอะ
รองลงมาร้อยละ
51.3 ระบุว่าใช้การตลาดเข้ามาบริหารวัด ซึ่งขัดต่อพระพุทธศาสนาที่เน้นความเรียบง่าย และร้อยละ 50.6 ระบุว่า สร้างค่านิยม
ที่ “หวังผลดลบันดาล” มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
 
                  ส่วนความกังวลต่อวิถีแห่งศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับ
พุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ร้อยละ 54.6 ระบุว่ากังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 45.4 กังวลค่อนข้าง
มากถึงมากที่สุด
 
                  เรื่องที่อยากให้มีการปฏิรูปในวงการพุทธศาสนาให้เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด ร้อยละ 35.8 ระบุว่า
ให้ยึด และเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา
รองลงมาร้อยละ 27.7 ระบุว่า พระภิกษุควร
ประพฤติตาม วินัยสงฆ์ การอันใดไม่ใช่กิจของสงฆ์ไม่ควรยุ่ง และร้อยละ 10.2 ระบุว่าให้กลั่นกรองผู้เข้ามาบวชเรียน
อย่างเคร่งครัด
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. บทเรียนที่ชาวพุทธได้รับจาก กรณี พระธัมมชโย มากที่สุด

 
ร้อยละ
การนำความศรัทธาของชาวพุทธ มาแปลงเป็นผลประโยชน์เข้าวัด
ในรูปของการทำบุญ
25.9
แสดงให้เห็นว่าชาวพุทธมีความเข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนาน้อยมาก
จึงง่ายที่จะคล้อยตามและหลงใหลศรัทธา
24.9
การปล่อยให้มีการปลูกฝังคำสอนที่ผิด บิดเบือน ในการสอนพระธรรมะ
แก่พระสงฆ์ อุบาสก และอุบาสิกา จนกลายเป็นปัญหาใหญ่
21.1
การอาศัยความศรัทธาของชาวพุทธมาเป็นโล่ปกป้องความผิดของตนเอง
12.2
แสดงให้เห็นถึงความไม่เข็มแข็งของผู้กำกับดูแลพุทธศาสนาที่ปล่อยให้
ธรรมกายแผ่วงกว้าง
11.3
ใช้สิทธิ์อันมิชอบธรรมสร้างสำนักสงฆ์ สาขาธรรมกายบนพื้นที่เขตป่าสงวน
4.6
 
 
             2. เรื่องที่กระทบต่อแนวคิดและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาจาก“กรณี ธรรมกาย”
                      (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
เกิดความเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญ โดยเห็นบุญเป็นสินค้า จ่ายเยอะได้บุญเยอะ
63.5
ใช้การตลาดเข้ามาบริหารวัด ซึ่งขัดต่อพระพุทธศาสนาที่เน้นความเรียบง่าย
51.3
สร้างค่านิยมที่ “หวังผลดลบันดาล” มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
50.6
มีการบิดเบือนพระธรรมคำสอนในพระไตรปิฎก ทำให้เข้าใจหลักธรรมคลาดเคลื่อน
48.7
 
 
             3. ความกังวลต่อวิถีแห่งศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับ
                 พุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในขณะนี้

 
ร้อยละ
กังวลค่อนมากถึงมากที่สุด
   (กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 32.6 และ กังวลมากที่สุด ร้อยละ 12.8)
45.4
กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
   (กังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 19.5 และ กังวลน้อยที่สุด 35.1)
54.6
 
 
             4. ประเด็นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่ควรมีการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด

 
ร้อยละ
ยึดและเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา
35.8
ความประพฤติตามวินัยสงฆ์ อันใดไม่ใช่กิจของสงฆ์ไม่ควรยุ่ง
27.7
กลั่นกรองผู้เข้ามาบวชเรียนอย่างเคร่งครัด
10.2
ดูแลเรื่องการเอาความศรัทธาของชาวพุทธมาเป็นรายได้ เช่น กำหนดราคา
ดอกไม้ธูปเทียน กำหนดเงินในการทำบุญเป็นลำดับขั้น ตามวัดต่างๆ ฯลฯ
9.1
ตรวจจับพระปลอมไม่ให้ศาสนามัวหมอง
7.2
พัฒนา ศาสนสถานให้เป็นพื้นที่บุญอย่างแท้จริง
4.7
ไม่ต้องปฏิรูปเพราะดีอยู่แล้ว
5.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากกรณี พระธัมมชโย
และวัดพระธรรมกาย ในประเด็นต่างๆ ที่กระทบต่อพระพุทธศาสนา ตลอดจนเรื่องความกังวลต่อการศรัทธา
ในพระพุทธศาสนาและเรื่องที่ควรปฏิรูปรูปในวงการพุทธศาสนา เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้
สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่นับถือศาสนาพุทธ
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 8-10 มีนาคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 มีนาคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
571
53.1
             หญิง
504
46.9
รวม
1,075
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
139
12.9
             31 – 40 ปี
205
19.1
             41 – 50 ปี
290
27.0
             51 – 60 ปี
255
23.7
             61 ปีขึ้นไป
186
17.3
รวม
1,075
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
651
60.5
             ปริญญาตรี
332
30.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
92
8.6
รวม
1,075
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
140
13.0
             ลูกจ้างเอกชน
242
22.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
442
41.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
46
4.3
            ทำงานให้ครอบครัว
4
0.4
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
161
15.0
             นักเรียน/ นักศึกษา
23
2.1
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
17
1.6
รวม
1,075
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776