analyticstracking
หัวข้อการตรวจสอบภาษีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...ใครผิด ใครถูก
             กรณี สตง. สั่งสรรพากรตรวจสอบภาษี ย้อนหลัง 60 นักการเมืองยุค รัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์
และ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.0 เห็นว่า สรรพากรมีการเลือกปฏิบัติ
ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เอื้อประโยชน์ต่อการเลี่ยงภาษี
             โดยร้อยละ 40.1 เห็นว่า สรรพากรมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีการเอื้อประโยชน์ให้กับ
นักการเมืองจึงไม่ตรวจสอบตามที่ สตง.แจ้งตั้งแต่ต้นปี 2558
             แต่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 มีความเห็นว่าการตรวจสอบภาษีย้อนหลังดังกล่าว จะไม่กระทบ
กับโรดแมปความปรองดอง
             ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 81.5 เห็นว่าควรใช้มาตรการพิเศษในกระบวนการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของนักการเมือง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “การตรวจสอบภาษีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...
ใครผิด ใครถูก”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
จำนวน 1,216 คน พบว่า
 
                  จากกรณี สตง. สั่งสรรพากรตรวจสอบภาษี 60 นักการเมืองยุค
รัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์ และ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ประชาชนร้อยละ 20.5 มีความเห็น
ว่า เป็นเกมทางการเมืองเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้าม
รองลงมาร้อยละ 17.8 มีความเห็น
ว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินนักการเมืองเมื่อหมดวาระ และร้อยละ 14.2
มีความเห็นว่า นักการเมืองตั้งใจโกง/ตั้งใจไม่ยื่นภาษี
 
                  เมื่อถามว่า การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของ 60 นักการเมือง
จะกระทบกับโรดแมปความปรองดอง สมานฉันท์หรือไม่
ประชาชน ร้อยละ 61.4
ระบุว่า ไม่กระทบความปรองดอง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 35.6 เห็นว่าการเสียภาษี
เป็นหน้าที่ต้องพึงปฏิบัติอยู่แล้ว และ ร้อยละ 25.8 เห็นว่าการปรองดองไม่ควรเชื่อมโยง
กับการละเว้นความผิด ในขณะที่ร้อยละ 38.6 ระบุการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของ 60
นักการเมืองจะกระทบความปรองดอง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 22.0 เห็นว่า อาจเกิดกระแสการเลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน และ
ร้อยละ 16.6 เห็นว่าอาจสร้างความไม่พอใจต่อนักการเมือง
 
                  ทั้งนี้สาเหตุที่กรมสรรพากรไม่มีการตรวจสอบภาษีของนักการเมืองตามที่ สตง. แจ้ง ตั้งแต่ต้นปี
2558 นั้น ประชาชนร้อยละ 40.1 ระบุว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีการเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง

รองลงมาร้อยละ 27.9 ระบุว่า สรรพากรมีกระบวนการดำเนินงานและตรวจสอบล่าช้า และร้อยละ16.6 ระบุว่า เกรงกลัว
อิทธิพลของนักการเมือง
 
                  สำหรับความเห็นว่าควรมีการใช้มาตรการพิเศษเข้ามาในกระบวนการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของ
นักการเมืองหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ระบุว่าควรมี
ขณะที่ร้อยละ11.3 ไม่ควรมี ที่เหลือร้อยละ 7.2
ระบุว่า ไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนความเห็นต่อการตรวจสอบภาษีของนักการเมืองในบ้านเมืองเรา ประชาชน ร้อยละ 50.0 เห็นว่า
สรรพากรมีการเลือกปฏิบัติ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เอื้อประโยชน์ต่อการเลี่ยงภาษี
รองลงมาร้อยละ 30.2 เห็นว่า
มีกระบวนการตรวจสอบที่ล่าช้า ขณะที่ร้อยละ 14.1 เห็นว่ามีกระบวนการตรวจสอบที่ดี บริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ละเลยผู้กระทำผิด
 
                  ทั้งนี้หน่วยงานที่ควรทำหน้าที่ชี้ชัดว่านักการเมืองคนใดเข้าข่ายควรถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือไม่
ประชาชนร้อยละ 39.1 ระบุว่าควรเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ปปช. )
รองลงมาร้อยละ 31.9 ระบุว่า ควรเป็นหน้าที่ของ กรมสรรพากร และร้อยละ 29.0 ระบุว่า ควรเป็นหน้าที่ของสำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. กรณี สตง. สั่งสรรพากรตรวจสอบภาษี 60 นักการเมืองยุค รัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์ และ นายกฯ
                 ยิ่งลักษณ์ มีสาเหตุมาจาก...


 
ร้อยละ
เป็นเกมทางการเมืองเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้าม
20.5
เป็นกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินนักการเมืองเมื่อหมดวาระ
17.8
นักการเมืองตั้งใจโกง
14.2
สรรพากรละเลยหน้าที่
13.3
สตง. แสดงบทบาทหน้าที่ตรวจสอบเงินของแผ่นดิน
12.7
สตง.และ สรรพากรถูกอิทธิพลนักการเมืองในรัฐบาลยุคก่อน
12.0
นักการเมืองลืมยื่นแบบ ยื่นไม่ครบ
9.5
 
 
             2. การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของ 60 นักการเมือง จะกระทบกับโรดแมปความปรองดอง
                 สมานฉันท์หรือไม่


 
ร้อยละ
ไม่กระทบความปรองดอง
เพราะ การเสียภาษี เป็นหน้าที่ต้องพึงปฏิบัติอยู่แล้ว ร้อยละ 35.6
  การปรองดองไม่ควรเชื่อมโยงกับการละเว้นความผิด ร้อยละ 25.8
61.4
กระทบความปรองดอง
เพราะ อาจเกิดกระแสการเลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน ร้อยละ 22.0
  อาจสร้างความไม่พอใจต่อนักการเมือง ร้อยละ 16.6
38.6
 
 
             3. เพราะเหตุใดกรมสรรพากรจึงไม่มีการตรวจสอบภาษีของนักการเมืองตามที่ สตง. แจ้ง
                 ตั้งแต่ต้นปี 2558

 
ร้อยละ
มีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีการเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง
40.1
มีกระบวนการดำเนินงานและตรวจสอบล่าช้า
27.9
เกรงกลัวอิทธิพลของนักการเมือง
16.6
กลัวมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
15.4
 
 
             4. ควรจะมีการใช้มาตรการพิเศษเข้ามาในกระบวนการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของนักการเมืองหรือไม่

 
ร้อยละ
ควรมี
81.5
ไม่ควรมี
11.3
ไม่แน่ใจ
7.2
 
 
             5. ความเห็นต่อการตรวจสอบภาษีนักการเมืองในบ้านเรา

 
ร้อยละ
มีการเลือกปฏิบัติ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เอื้อประโยชน์ต่อการเลี่ยงภาษี
50.0
มีกระบวนการตรวจสอบที่ล่าช้า
30.2
มีกระบวนการตรวจสอบที่ดี บริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ละเลยผู้กระทำผิด
14.1
มีกระบวนการตรวจสอบที่รวดเร็ว
5.7
 
 
             6. การชี้ชัดว่านักการเมืองคนใดเข้าข่ายควรถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือไม่ ควรเป็นหน้าที่
                 ของหน่วยงานใด


 
ร้อยละ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช. )
39.1
กรมสรรพากร
31.9
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
29.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
ยื่นเรื่อง ให้กรรมสรรพากรตรวจสอบภาษีย้อนหลังของนักการเมือง ในประเด็นต่างๆ รวมถึงความเห็นที่มีต่อ
กระบวนการตรวจสอบภาษีนักการเมืองของกรมสรรพากร เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้
สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่นับถือศาสนาพุทธ
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22-24 มีนาคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 มีนาคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
687
56.5
             หญิง
529
43.5
รวม
1,216
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
130
10.7
             31 – 40 ปี
249
20.5
             41 – 50 ปี
358
29.4
             51 – 60 ปี
301
24.8
             61 ปีขึ้นไป
178
14.6
รวม
1,216
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
771
63.4
             ปริญญาตรี
342
28.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
103
8.5
รวม
1,216
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
168
13.8
             ลูกจ้างเอกชน
303
24.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
483
39.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
49
4.0
            ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
175
14.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
25
2.1
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
7
0.6
รวม
1,216
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776