analyticstracking
หัวข้อสงกรานต์ปีไก่ คนกรุงเตรียมการอย่างไร
คนกรุง 77.8% ชี้ ม.44 ควบคุมวินัยจราจร จะทำให้คนระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรมากถึงมากที่สุด
47.4% กลัวเรื่องอุบัติเหตุ หากต้องเดินทางไปต่างจังหวัด
67.5% วางแผนใช้จ่ายช่วงสงกรานต์ปีไก่ไปกับการทำบุญไหว้พระ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “สงกรานต์ปีไก่ คนกรุงเตรียมการอย่างไร”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,178 คน พบว่า
คนกรุงส่วนใหญ่ร้อยละ 67.5 วางแผนใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ไปกับ
ค่าทำบุญไหว้พระมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 52.4 ใช้จ่ายไปกับค่าเดินทาง/ ค่าน้ำมัน
ไปท่องเที่ยว / กลับบ้านเกิด และร้อยละ 49.8 ใช้จ่ายไปกับค่าอาหาร กินเลี้ยงสังสรรค์
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้
การใช้จ่ายจะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1 คิดว่าน่าจะ
ใช้จ่ายพอๆ กับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 26.5 คิดว่าน่าจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และร้อยละ
22.4 คิดว่าน่าจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา
 
                  ส่วนเรื่องที่กังวลหากต้องเดินทางออกต่างจังหวัดในช่วงเทศกาล
สงกรานต์พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.4 กังวลเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน
รองลงมา
ร้อยละ 34.1 กังวลเรื่องการจราจรติดขัด และร้อยละ 13.4 กังวลเรื่องคนเมาแล้วขับ
 
                  เมื่อถามว่าการใช้ ม.44 ควบคุมวินัยจราจร จะส่งผลให้ระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรเพียงใด
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.8 จะระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ขณะที่ร้อยละ 22.2 จะระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. การวางแผนใช้จ่ายกับกิจกรรมใด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ค่าทำบุญไหว้พระ
67.5
ค่าเดินทาง/ ค่าน้ำมันไปท่องเที่ยว / กลับบ้านเกิด
52.4
ค่าอาหาร กินเลี้ยงสังสรรค์
49.8
ค่าของขวัญ / ให้เงิน ผู้สูงอายุ
37.5
ค่าเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
20.0
ค่าที่พักต่างจังหวัด
10.4
ค่าอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์
9.2
อื่นๆ เช่น ไม่มีแผนใช้จ่าย อยู่บ้านเฉยๆ ต้องทำงาน
1.3
 
 
             2. ข้อคำถาม “ในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ การใช้จ่ายจะเป็นอย่างไร
                 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”


 
ร้อยละ
น่าจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา
22.4
น่าจะพอๆ กับปีที่ผ่านมา
51.1
น่าจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
26.5
 
 
             3. เรื่องที่กังวลหากต้องเดินทางออกต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์

 
ร้อยละ
อุบัติเหตุบนท้องถนน
47.4
การจราจรติดขัด
34.1
คนเมาแล้วขับ
13.4
ระบบขนส่งสาธารณะ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2.7
ระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ปลอดภัย
2.4
 
 
             4. ข้อคำถาม “คิดว่าการใช้ ม.44 ควบคุมวินัยจราจร จะส่งผลให้ระมัดระวังและปฏิบัติกฎจราจร
                 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มากน้อยเพียงใด ”


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 60.4 และมากที่สุดร้อยละ 17.4)
77.8
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 16.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 5.6)
22.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อต้องการทราบถึงการวางแผนใช้จ่ายกับกิจกรรมใด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
                  2. เพื่อต้องการทราบว่าในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ การใช้จ่ายจะเป็นอย่างไร
                      เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
                  3. เพื่อต้องการทราบถึงเรื่องที่กังวลหากต้องเดินทางออกต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์
                  4. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการใช้ ม.44 ควบคุมวินัยจราจร จะส่งผลให้ระมัดระวังและทำตามกฎจราจร
                      ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มากน้อยเพียงใด
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 20 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง
ดุสิต ทวีวัฒนา บางเขน บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ
สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการ
สัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,178 คน เป็นชายร้อยละ 50.3 และหญิง ร้อยละ 49.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 เมษายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
593
50.3
             หญิง
585
49.7
รวม
1,178
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
270
22.9
             31 – 40 ปี
238
20.2
             41 – 50 ปี
233
19.8
             51 – 60 ปี
240
20.4
             61 ปีขึ้นไป
197
16.7
รวม
1,178
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
783
66.5
             ปริญญาตรี
336
28.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
59
5.0
รวม
1,178
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
114
9.7
             ลูกจ้างเอกชน
336
28.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
418
35.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
39
3.3
            ทำงานให้ครอบครัว
6
0.5
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
158
13.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
90
7.6
             ว่างงาน
17
1.4
รวม
1,178
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776