analyticstracking
หัวข้อแรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า
แรงงานไทย 65.2% ทราบว่ามีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 52.8% ชี้ควรขึ้นมากกว่านี้
47.4% บอกค่าจ้างพอดีกับค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีเงินออมเลย เปรียบการเงินของตนเองกับสำนวน พออยู่พอกินไปวันๆ
58.7% ไม่ทราบว่าแรงงานมีฝีมือ จะได้ค่าจ้างเพิ่มมากขึ้น
ส่วนใหญ่อยากให้รัฐพัฒนาฝีมือด้านการทำอาหาร เครื่องดื่ม และ ไอที คอมพิวเตอร์
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันแรงงานแห่งชาติ
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “แรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า” โดยเก็บข้อมูลกับผู้ใช้แรงงาน ใน
พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,149 คน พบว่า
 
                  ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
จากเดิม 300 บาท เป็น 305 - 310 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ เริ่ม
1 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา
ขณะที่ร้อยละ 34.8 ไม่ทราบข่าว ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าได้รับ
ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาทแล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่
ร้อยละ 78.9 ระบุว่า “ได้รับแล้ว”
ขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่า “ยังไม่ได้รับ”
 
                  สำหรับความเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวของภาครัฐพบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เห็นว่าน่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้
ขณะที่ร้อยละ 32.8
เห็นว่า เป็นการขึ้นที่สมเหตุสมผลแล้ว เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ส่วนร้อยละ 14.4 เห็นว่า
ยิ่งขึ้น ยิ่งหางานทำยาก เพราะต้นทุนของนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น
 
                 เมื่อถามว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.4
เห็นว่าพอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
ส่วนร้อยละ 33.8 เห็นว่า ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้
ต้องหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 18.8 เห็นว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
 
                  ทั้งนี้เมื่อให้เปรียบสภาพทางการเงินของตนเองกับสำนวนไทยพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2
เปรียบได้กับสำนวน พออยู่พอกิน
รองลงมาร้อยละ 31.4 ชักหน้าไม่ถึงหลัง และร้อยละ 3.1 เหลือกินเหลือใช้
 
                  นอกจากนี้เมื่อถามว่าการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว จากประเทศเพื่อนบ้าน มีผลต่อการแย่งงาน หรือ
กีดกันการทำงานของแรงงานไทยใช่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เห็นว่า “ไม่ใช่”
ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่า “ใช่”
 
                  เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าค่าจ้างแรงขั้นต่ำมีเพิ่มขึ้น จาก 300 ไปจนถึง 700 แก่กลุ่มแรงงานมีฝีมือ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.7 ระบุว่า “ไม่ทราบ”
ขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุว่า “ทราบ”
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าหากมีโอกาสอยากได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านใดจากหน่วยงานภาครัฐ
หรือกระทรวงแรงงาน เพื่อตอบรับไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.3 อยากได้รับการพัฒนาด้านการทำอาหาร
เครื่องดื่มมากที่สุด
รองลงมาด้านไอที คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 20.9) และด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 19.9)
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท เป็น 305 - 310 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้น
                 ค่าจ้างใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา


 
ร้อยละ
ทราบ
65.2
ไม่ทราบ
34.8
 
 
             2. ข้อคำถาม “ท่านได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาทหรือไม่”

 
ร้อยละ
ได้รับแล้ว
78.9
ยังไม่ได้รับ
21.1
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวของภาครัฐ

 
ร้อยละ
คิดว่าน่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้
52.8
คิดว่าเป็นการขึ้นที่สมเหตุสมผลแล้ว เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ
32.8
คิดว่ายิ่งขึ้นยิ่งหางานทำยาก เพราะต้นทุนของนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น
14.4
 
 
             4. ข้อคำถาม “ค่าแรงขั้นต่ำที่ท่านได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่”

 
ร้อยละ
พอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
47.4
ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
33.8
เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
18.8
 
 
             5. ข้อคำถาม “ถ้าให้เปรียบสภาพทางการเงินของท่านกับสำนวนไทย”

 
ร้อยละ
พออยู่พอกิน
64.2
ชักหน้าไม่ถึงหลัง
31.4
เหลือกินเหลือใช้
3.1
อดมื้อกินมื้อ
1.1
กัดก้อนเกลือกิน
0.2
 
 
             6. ข้อคำถาม “การเข้ามาของแรงงานต่างด้าว จากประเทศเพื่อนบ้าน มีผลต่อการแย่งงาน
                 หรือ กีดกันการทำงานของแรงงานไทยใช่หรือไม่”


 
ร้อยละ
ไม่ใช่
51.4
ใช่
48.6
 
 
             7. ข้อคำถาม “ท่านทราบหรือไม่ว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีเพิ่มขึ้น จาก 300 ไปจนถึง 700
                 แก่กลุ่มแรงงานมีฝีมือ”


 
ร้อยละ
ไม่ทราบ
58.7
ทราบ
41.3
 
 
             8. ข้อคำถาม “หากมีโอกาส ท่านอยากได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านใดจากหน่วยงานภาครัฐ
                 หรือกระทรวงแรงงาน เพื่อตอบรับไทยแลนด์ 4.0” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
การทำอาหาร เครื่องดื่ม
36.3
ไอที คอมพิวเตอร์
20.9
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
19.9
เครื่องยนต์ เครื่องกล
19.4
งานภาคบริการ สปา ความงาม
17.2
อุตสาหกรรม
16.8
ก่อสร้าง
14.1
ด้านศิลปะ หัตถกรรม
11.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาท ตามที่รัฐมีมติ
                      ปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ 305-310 บาท เริ่ม 1 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา
                  2. เพื่อสะท้อนค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับเพียงพอหรือไม่กับค่าใช้จ่าย
                  3. เพื่อต้องการทราบถึงอาชีพที่อยากให้ภาครัฐหรือกระทรวงแรงงานมาช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 18 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ ดินแดง บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน
บางคอแหลม บางนา บางบอน บึงกุ่ม ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดกระบัง วังทองหลาง สาทร สายไหม
หนองแขม และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,149 คน เป็นชายร้อยละ
51.3 และหญิง ร้อยละ 48.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21 – 25 เมษายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 30 เมษายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
590
51.3
             หญิง
559
48.7
รวม
1,149
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
308
26.8
             31 – 40 ปี
284
24.7
             41 – 50 ปี
278
24.2
             51 – 60 ปี
215
18.7
             61 ปีขึ้นไป
64
5.6
รวม
1,149
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,090
94.9
             ปริญญาตรี
58
5.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
1
0.1
รวม
1,149
100.0
อาชีพ:
   
             โรงงานอุตสาหกรรม
175
15.2
             กรรมกรก่อสร้าง
132
11.5
             รปภ. / ภารโรง
224
19.4
             แม่บ้าน / คนสวน
130
11.3
            รับจ้างทั่วไป
194
16.9
             ช่างซ่อม
37
3.2
             พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ
96
8.4
             พนักงานขับรถ
56
4.9
             พนักงานขาย
87
7.6
             อื่นๆ
18
1.6
รวม
1,149
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776