analyticstracking
หัวข้อคะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังผ่าน 3 ปี คสช.
ผ่าน 3 ปี คสช. คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยนำประชาธิปัตย์
52.8% ยังสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ แต่คะแนนนิยมลดลง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6% รู้สึกตื่นตัวอยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังผ่าน 3 ปี
คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,269 คน
พบว่า
 
                 ความรู้สึกต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6 รู้สึกตื่นตัวอยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
ขณะที่ร้อยละ
24.6 รู้สึกเฉยๆ เลือกก็ได้ไม่เลือกได้ ส่วนร้อยละ 21.8 รู้สึกอยากอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ
ประเทศสงบดี มีเพียงร้อยละ 3.0 ไม่แน่ใจ
 
                  ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองพบว่า พรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ
17.8 (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนมกราคม2560 ร้อยละ 2.1) รองลงมาคือ
พรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 15.6 (ลดลงร้อยละ 1.9)
พรรค
รักประเทศไทยมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.5 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1) พรรคชาติไทยพัฒนา
มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (ลดลงร้อยละ 0.9) พรรคภูมิใจไทยมีคะแนนนิยมอยู่ที่
ร้อยละ 0.8 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5) และพรรคพลังชลมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 0.3 (ลดลงร้อยละ 0.1)
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากวันนี้ มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 ระบุว่าจะ “สนับสนุน”
(ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนมกราคม 2560 ร้อยละ 9.0) ขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุว่าจะ “ไม่สนับสนุน”
ส่วนที่เหลือร้อยละ 21.6 งดออกเสียง
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความรู้สึกต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

 
ร้อยละ
รู้สึกตื่นตัวอยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
50.6
รู้สึกเฉยๆ เลือกก็ได้ไม่เลือกได้
24.6
รู้สึกอยากอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ประเทศสงบดี
21.8
ไม่แน่ใจ
3.0
 
 
             2. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด”

จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ
ม.ค. 60
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
พ.ค. 60
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
พรรคเพื่อไทย
15.7
17.8
+2.1
พรรคประชาธิปัตย์
17.5
15.6
-1.9
พรรครักประเทศไทย
1.4
1.5
+0.1
พรรคชาติไทยพัฒนา
1.9
1.0
-0.9
พรรคภูมิใจไทย
0.3
0.8
+0.5
พรรคพลังชล
0.4
0.3
-0.1
พรรคอื่นๆ
2.8
1.1
-1.7
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ
60.0
61.9
+1.9
 
 
             3. ข้อคำถาม “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน
                 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่”


จะเลือกพรรค...
สำรวจเมื่อ
ม.ค.2560
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
พ.ค.2560
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
สนับสนุน
61.8
52.8
-0.9
ไม่สนับสนุน
17.9
25.6
+7.7
งดออกเสียง
20.3
21.6
+1.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 1) เพื่อสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
                 2) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชน ที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
                 3) เพื่อสะท้อนเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 24 – 25 พฤษภาคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 พฤษภาคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
649
51.1
             หญิง
620
48.9
รวม
1,269
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
152
12.0
             31 – 40 ปี
264
20.8
             41 – 50 ปี
360
28.4
             51 – 60 ปี
286
22.5
             61 ปีขึ้นไป
207
16.3
รวม
1,269
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
839
66.1
             ปริญญาตรี
335
26.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
95
7.5
รวม
1,269
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
166
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
283
22.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
508
40.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
48
3.8
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
206
16.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
41
3.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
16
1.3
รวม
1,269
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776