analyticstracking
หัวข้อ4 ข้อคำถามจากนายกฯ สู่ โรดแมปการเลือกตั้ง
             4 ข้อคำถามจากนายกฯ ประชาชนเห็นว่ามีนัยให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์บ้านเมือง
ก่อนการเลือกตั้งว่ามั่นคงหรือยัง โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้งเมื่อสถานการณ์
ประเทศอยู่ในภาวะเหมาะสม
              ทั้งนี้ร้อยละ 61.1 มั่นใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง จะแก้ปัญหา
การซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้อีกทั้งยังห่วงกังวลว่าช่วงเวลา
จากนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งตามโรดแมป จะมีการสร้างสถานการณ์ต่างๆเช่นวางระเบิดสร้างความไม่สงบฯลฯ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “4 ข้อคำถามจากนายกฯ สู่ โรดแมปการ
เลือกตั้ง”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
จำนวน 1,227 คน พบว่า
 
                  จาก 4 ข้อคำถามของนายกรัฐมนตรี ที่ฝากไว้กับประชาชนใน
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประชาชนร้อยละ 30.2
ระบุว่า นายกรัฐมนตรีมีนัยเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์บ้านเมือง
ก่อนการเลือกตั้งว่ามั่นคงหรือยังรองลงมาร้อยละ 29.4 มีนัยว่าหากบ้านเมืองยัง

ไม่สงบเรียบร้อยอาจจะไม่ได้จัดการเลือกตั้งตามโรดแมป และร้อยละ 26.6 มีนัยว่า
หากไม่มีความสุจริตเที่ยงธรรมในการเมืองก็จะไม่มีการเลือกตั้ง ที่เหลือร้อยละ 13.8
มีนัยเพื่อส่งสัญญาณถึงนักการเมืองว่าได้จัดการปฏิรูปพรรคการเมืองและตนเองแล้วหรือยัง
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการเลือกตั้ง
ในประเทศไทย พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.6 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้งเมื่อ
สถานการณ์ประเทศอยู่ในภาวะเหมาะสม
ขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุว่าควรจัดเลือกตั้ง
ตามเวลาที่กำหนดไว้ในโรดแมป
 
                  ส่วนความมั่นใจที่มีต่อรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงว่าจะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปปราศจากการ
ซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล นั้น ประชาชนร้อยละ 61.1 มีความมั่นใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

ขณะที่ร้อยละ 38.9 มีความมั่นใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  สำหรับเรื่องที่มีความกังวลมากที่สุด ในช่วงเวลาจากนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งตามโรดแมป ประชาชน
ร้อยละ 40.8 กังวลเรื่องการสร้างสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสั่นคลอนบ้านเมืองเช่น วางระเบิดก่อกวนสร้างความ
ไม่สงบฯลฯ
รองลงมาร้อยละ 38.7 กังวลเรื่องการระดมหัวคะแนนเพื่อเร่งหาฐานเสียงให้กับนักการเมืองด้วยวิธีที่ไม่ชอบธรรม
และร้อยละ 20.5 กังวลว่าจะมีแต่นักการเมืองหน้าเดิมๆไม่มีหน้าใหม่ๆเข้ามาลงสนามในการเลือกตั้ง
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นของประชาชน ต่อ 4 ข้อคำถาม ของนายกรัฐมนตรี ว่ามีนัยอย่างไร

 
ร้อยละ
อยากให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์บ้านเมืองก่อนการเลือกตั้ง
ว่ามั่นคงหรือยัง
30.2
หากบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อยอาจจะไม่ได้จัดการเลือกตั้งตามโรดแมป
29.4
หากไม่มีความสุจริตเที่ยงธรรมในการเมืองก็จะไม่มีการเลือกตั้ง
26.6
ส่งสัญญาณถึงนักการเมืองว่าได้จัดการปฏิรูปพรรคการเมืองและตนเองแล้วหรือยัง
13.8
 
 
             2. เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการเลือกตั้งในประเทศไทย

 
ร้อยละ
เมื่อสถานการณ์ประเทศอยู่ในภาวะเหมาะสม
69.6
เวลาที่กำหนดไว้ตามโรดแมป
30.4
 
 
             3. ความมั่นใจที่มีต่อ รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงว่าจะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไป ปราศจากการซื้อสิทธิ์
                  ขายเสียงได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล

 
ร้อยละ
มั่นใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น มั่นใจค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.2 และ มั่นใจน้อยที่สุด ร้อยละ 26.9)
61.1
มั่นใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น มั่นใจค่อนข้างมากร้อยละ 30.6 และ มั่นใจมากที่สุด ร้อยละ 8.3)
38.9
 
 
             4. เรื่องที่มีความกังวลมากที่สุด ในช่วงเวลาจากนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งตามโรดแมป

 
ร้อยละ
สร้างสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสั่นคลอนบ้านเมือง เช่น วางระเบิด ก่อกวน สร้างความไม่สงบ ฯลฯ
40.8
เกิดการระดมหัวคะแนน เพื่อเร่งหาฐานเสียงให้กับนักการเมืองด้วยวิธีที่ไม่ชอบธรรม
38.7
มีแต่นักการเมืองหน้าเดิมๆ ไม่มีหน้าใหม่ๆเข้ามาลงสนามในการเลือกตั้ง
20.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ 4 ข้อคำถามของนายกรัฐมนตรี ช่วงเวลา
ที่เหมาะสมในการจัดการเลือกตั้ง รวมถึงความมั่นใจที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง
และความกังวล ในช่วงเวลาจากนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งตามโรดแมป เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชน
ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 31 พฤษภาคม– 1 มิถุนายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 มิถุนายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
653
53.2
             หญิง
574
46.8
รวม
1,227
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
150
12.2
             31 – 40 ปี
234
19.1
             41 – 50 ปี
347
28.3
             51 – 60 ปี
315
25.7
             61 ปีขึ้นไป
181
14.7
รวม
1,227
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
799
65.1
             ปริญญาตรี
335
27.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
93
7.6
รวม
1,227
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
162
13.2
             ลูกจ้างเอกชน
292
23.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
515
41.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
28
2.3
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
186
15.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
27
2.2
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
16
1.3
รวม
1,227
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776