analyticstracking
หัวข้อกกต. เตรียมตรวจสอบคุณสมบัติ 9 รัฐมนตรี ประชาชนคิดอย่างไร
             ความเห็นประชาชน ระบุว่า กกต. เตรียมตรวจสอบคุณสมบัติ 9 รัฐมนตรีในช่วงนี้เป็นเกมการเมือง
เพื่อสร้างข้อต่อรองในการลงมติของ สนช.
              โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 เห็นว่าการตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 รายเป็นเรื่องที่จะนำมาพิจารณา
และตรวจสอบอยู่แล้ว และมีความชอบธรรมแต่ไม่ค่อยมั่นใจว่าจะปราศจากอคติทางการเมืองและร้อยละ 56.6
การตรวจสอบรัฐมนตรีทั้ง 9 ราย ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง กกต. เตรียมตรวจสอบคุณสมบัติ 9 รัฐมนตรี
ประชาชนคิดอย่างไร”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศ จำนวน 1,237 คน พบว่า
 
                 การที่กกต. เรียกตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 รายกรณีถือครองหุ้น
ในช่วงที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการพิจารณาเรื่องการเซ็ตซีโร่กกต.ประชาชน
ร้อยละ 37.3 ระบุว่าเป็นเกมการเมืองเพื่อสร้างข้อต่อรองในการลงมติของสนช.

รองลงมาร้อยละ 29.5 ระบุว่า เป็นการหยิบยกเรื่องที่สำคัญมาทำให้เสร็จก่อนมีกกต.
ชุดใหม่ ร้อยละ 17.8 ระบุว่าเป็นเรื่องที่กกต. ถึงวาระที่จะหยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณาพอดี
และร้อยละ 15.4 ระบุว่า เป็นการตั้งใจตอบโต้เพื่อเอาคืนรัฐบาล
 
                  เมื่อถามว่าหาก กมธ. ไม่มีการเสนอให้เซ็ตซีโร่ กกต. จะหยิบยก
คำร้องมาพิจารณาและตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 ราย
หรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 เห็นว่าน่าจะนำมาพิจารณาและตรวจสอบ
อยู่แล้ว
ขณะที่ร้อยละ 33.8 เห็นว่าคงไม่นำมาพิจารณาและตรวจสอบ
 
                  ส่วนการที่ กกต. เตรียมตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 ราย ในช่วงนี้มีความชอบธรรมหรือไม่นั้น
ประชาชนร้อยละ 66.2 ระบุว่า มีความชอบธรรม
ขณะที่ ร้อยละ 23.8 ระบุว่า ไม่มีความชอบธรรม ที่เหลือร้อยละ
10.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับความมั่นใจต่อ กกต. ว่าจะมีการตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 รายด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ปราศจากอคติทางการเมือง ประชาชนร้อยละ 39.2 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ
รองลงมาร้อยละ 22.8 ระบุว่าค่อนข้างมั่นใจ
และร้อยละ 20.0 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย
 
                  เมื่อถามว่าการตรวจสอบคุณสมบัติของรัฐมนตรี 9 รายจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาล
ยุค คสช. เพียงใด ประชาชนร้อยละ 56.5 ระบุว่า ส่งผลกระทบค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 43.5
ระบุว่า ส่งผลกระทบค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการที่ กกต. เรียกตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 รายกรณีถือครองหุ้น ในช่วงที่
                  สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีการพิจารณาเรื่องการเซ็ตซีโร่กกต.

 
ร้อยละ
เป็นเกมการเมืองเพื่อเพื่อสร้างข้อต่อรองในการลงมติของ สนช.
37.3
เป็นการหยิบยกเรื่องที่สำคัญมาทำให้เสร็จก่อนมี กกต. ชุดใหม่
29.5
เป็นเรื่องที่ กกต. ถึงวาระที่จะหยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณาพอดี
17.8
เป็นการตั้งใจตอบโต้เพื่อเอาคืนรัฐบาล
15.4
 
 
             2. หากไม่มีการเสนอให้ กกต. ชุดปัจจุบันทั้งหมดพ้นวาระ กกต. จะหยิบยกคำร้องมาพิจารณาและตั้ง
                  คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 รายหรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่าน่าจะนำมาพิจารณาและตรวจสอบ
66.2
คิดว่าไม่น่าจะนำมาพิจารณาและตรวจสอบ
33.8
 
 
             3. การที่ กกต. เตรียมตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 ราย ในช่วงนี้มีความชอบธรรมหรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่ามีความชอบธรรม
66.2
คิดว่าไม่มีความชอบธรรม
23.8
ไม่แน่ใจ
10.0
 
 
             4. ความมั่นใจ ต่อ กกต. ว่าจะมีการตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี 9 รายด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
                  ปราศจากอคติทางการเมือง

 
ร้อยละ
มั่นใจ
18.0
ค่อนข้างมั่นใจ
22.8
ไม่ค่อยมั่นใจ
39.2
ไม่มั่นใจเลย
20.0
 
 
             5.การตรวจสอบคุณสมบัติของรัฐมนตรี 9 รายส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในรัฐบาลยุค คสช. เพียงใด

 
ร้อยละ
ส่งผลค่อนข้างมากถึงมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ส่งผลค่อนข้างมาก ร้อยละ 35.6 และส่งผลมากที่สุด ร้อยละ7.9)
43.5
ส่งผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยบ่งเป็น ส่งผลค่อนข้างน้อย ร้อยละ32.6 และส่งผลน้อยที่สุด ร้อยละ 23.9)
56.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน
เตรียมเรียกตรวจสอบคุณสมบัติ รัฐมนตรี 9 ราย กรณีถือครองหุ้น ในช่วงที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มีการพิจารณาเรื่อง เซ็ตซีโร่ กกต. ในประเด็นต่างๆ รวมถึงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาลยุค คสช.
จากการตรวจสอบดังกล่าว เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 7-9 มิถุนายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 มิถุนายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
659
53.3
             หญิง
578
46.7
รวม
1,237
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
150
12.1
             31 – 40 ปี
267
21.6
             41 – 50 ปี
351
28.4
             51 – 60 ปี
287
23.2
             61 ปีขึ้นไป
182
14.7
รวม
1,237
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
761
61.5
             ปริญญาตรี
377
30.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
99
8.0
รวม
1,237
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
152
12.3
             ลูกจ้างเอกชน
282
22.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
492
39.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
71
5.7
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
195
15.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
27
2.2
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
15
1.2
รวม
1,237
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776