analyticstracking
หัวข้อ   “ การปฏิรูปตำรวจ กับ 3 โจทย์ใหญ่ที่ต้องหาคำตอบ
           ประชาชนร้อยละ 87.5 คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจครั้งนี้ว่า จะเห็นการทำงานของตำรวจที่เป็นธรรม
กับประชาชนมากที่สุด
           โดยร้อยละ 26.5 อยากให้ตำรวจขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีขณะที่ร้อยละ 59.0 เห็นควรแยกอำนาจการ
สอบสวนจากตำรวจ และร้อยละ 59.1 เห็นควรพิจารณาจากระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน ในการโยกย้ายตำแหน่ง
           ทั้งนี้ร้อยละ 42.3 มั่นใจว่า 9 เดือนจากนี้ไป จะได้เห็นผลการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นรูปธรรม
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปตำรวจกับ 3 โจทย์ใหญ่ที่ต้องหาคำตอบ”โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,084 คน พบว่า
 
                  เรื่องที่คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่
ร้อยละ 87.5 ระบุว่า อยากเห็นการทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน
(ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ไม่เพิกเฉยฯลฯ)
รองลงมา ร้อยละ41.8
อยากเห็นการสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส และร้อยละ 35.8 อยากเห็นการ
โยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม
 
                 เมื่อถามถึง 3 ประเด็น ที่ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี
ได้มอบให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ประชาชน
มีความเห็นดังนี้
 
                 ประเด็นที่1 “ด้านโครงสร้างองค์กร”ประชาชนร้อยละ 26.5 ระบุว่า
ให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน)
รองลงมา ร้อยละ 24.4 ระบุว่า ให้กลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และ
ร้อยละ 22.6 ระบุว่า เห็นควรย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม
 
                 ประเด็นที่ 2 “ด้านกระบวนการยุติธรรม” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0 ระบุว่า ควรแยกอำนาจ
การสอบสวนให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นเหมือนในต่างประเทศ
ขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่า ควรคงไว้เป็นหน้าที่
ของตำรวจเหมือนเดิมที่เหลือร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 ประเด็นที่ 3 “ด้านการบริหารบุคลากร” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 ระบุว่าการแต่งตั้งโยกย้าย
ตำรวจควรพิจารณาจาก ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน
รองลงมาร้อยละ 39.0 ระบุว่า ควรพิจารณาจากผลงานและความดี
ความชอบ มีเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ระบุว่า ควรพิจาณาจากระดับอาวุโส
 
                 ส่วนการปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร 2-3-4 หรือ 9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีวาง
กรอบไว้หรือไม่ นั้น ประชาชนร้อยละ 42.3 คิดว่าได้
ขณะที่ ร้อยละ 37.7 คิดว่าไม่ได้ และร้อยละ 20.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้

 
ร้อยละ
การทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน
(ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ไม่เพิกเฉยฯลฯ)
87.5
การสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส
41.8
การโยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม
35.8
มีการปรับโครงสร้างการทำงานของตำรวจ
32.9
 
 
             2.ประเด็นด้านโครงสร้างองค์กร : สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรสังกัด/ขึ้นตรงกับหน่วยงานใด

 
ร้อยละ
ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน)
26.5
กลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย
24.4
ย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม
22.6
ตั้งเป็นกระทรวงใหม่
15.4
ขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัด
9.9
อื่นๆ อาทิ องค์การอิสระ เป็นต้น
1.2
 
 
             3.ประเด็นด้านกระบวนการยุติธรรม : “อำนาจการสอบสวน”ในคดีต่างๆควรคงไว้เป็นหน้าที่
                 ของตำรวจหรือควรแยกให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น เหมือนในต่างประเทศเช่น FBI CSI

 
ร้อยละ
ควรแยกให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น เหมือนในต่างประเทศเช่น FBI CSI
59.0
ควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจเหมือนเดิม
28.3
ไม่แน่ใจ
12.7
 
 
             4.ประเด็นด้านการบริหารบุคลากร : การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจควรพิจารณาจากอะไรมากที่สุด

 
ร้อยละ
ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน
59.1
ผลงานและความดีความชอบ
39.0
ระดับอาวุโส
1.9
 
 
             5.การปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร 2-3-4 หรือ 9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรี
                วางกรอบไว้หรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่าได้
42.3
คิดว่าไม่ได้
37.7
ไม่แน่ใจ
20.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใน 3 ประเด็นหลักๆ
ที่ให้คณะกรรมการปฏิรูปตำรวจหาคำตอบ ตลอดจนความคาดหวังที่อยากเห็นจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ เพื่อสะท้อน
มุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 13-14 กรกฎาคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ:15 กรกฎาคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
544
50.2
             หญิง
540
49.8
รวม
1,084
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
129
11.9
             31 – 40 ปี
215
19.8
             41 – 50 ปี
276
25.5
             51 – 60 ปี
299
27.6
             61 ปีขึ้นไป
165
15.2
รวม
1,084
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
672
62.0
             ปริญญาตรี
313
28.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
99
9.1
รวม
1,084
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
158
14.6
             ลูกจ้างเอกชน
226
20.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
451
41.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
30
2.8
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
168
15.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
23
2.1
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
26
2.4
รวม
1,084
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776