analyticstracking
หัวข้อ   “ ประชาชนกับการปลดล็อคพรรคการเมือง
           ประชาชนส่วนใหญ่ 61.2% หนุนปลดล็อคพรรคการเมือง
แต่ 53.0% ไม่ค่อยเชื่อมั่นว่าจะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นได้
หากปลดล็อคพรรคการเมือง 54.3% กังวลเรื่องนักการเมืองเห็นต่างกัน และอาจมีการปลุกระดม
หากไม่ปลดล็อคพรรคการเมือง 63.5% กังวลเรื่องประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
ประชาชน 42.8% หวังจะได้เห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ๆ หากไม่มีการปลดล็อคพรรคการเมือง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนกับการปลดล็อคพรรคการเมือง”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,194 คน พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.2 เห็นว่าควรปลดล็อคพรรคการเมือง ขณะที่ร้อยละ 29.8
เห็นว่าไม่ควร ส่วนที่เหลือร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าการปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว
จะทำให้ทิศทางการเมืองของประเทศไทยดีขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.0 เชื่อมั่น
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 47.0 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                 เมื่อถามว่า “ถ้าปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว ท่านกังวลในเรื่องใด”
ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 กังวลเรื่องนักการเมืองเห็นต่างกัน และอาจมีการปลุกระดม

รองลงมาร้อยละ 52.3 กังวลเรื่องความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอีก และร้อยละ 51.5
กังวลเรื่องการเมืองไทยไม่มีการพัฒนา ได้นักการเมืองหน้าเดิมๆ
 
                 นอกจากนี้เมื่อถามว่า “ถ้าไม่ปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว ท่านกังวลในเรื่องใด” ส่วนใหญ่ร้อยละ
63.5 กังวลเรื่องประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
รองลงมาร้อยละ 39.3 กังวลเรื่องการเลือกตั้ง
จะล่าช้าออกไป และร้อยละ 20.4 กังวลเรื่องพรรคการเมืองจะมีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งน้อย
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าคิดอย่างไร หากไม่มีการปลดล็อคพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.8 คิดว่า
จะได้เห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ
พรรคการเมืองใหม่ๆ รองลงมาร้อยละ 29.3 คิดว่าจะขยายเวลาเลือกตั้งออกไปจนกว่า
จะพร้อม และร้อยละ 21.8 คิดว่าจะให้ คสช. บริหารประเทศต่อไป
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบข่าวเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัว PromptPay QR Code เพื่อการชำระเงิน

 
ร้อยละ
ควร
61.2
ไม่ควร
29.8
ไม่แน่ใจ
9.0
 
 
             2. ความเชื่อมั่นว่าการปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว จะทำให้ทิศทางการเมืองของประเทศไทยดีขึ้น

 
ร้อยละ
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.9)
53.0
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 38.7 และมากที่สุดร้อยละ 8.3)
47.0
 
 
             3. ข้อคำถาม “หากปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว ท่านกังวลในเรื่องใด” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
นักการเมืองเห็นต่างกัน และอาจมีการปลุกระดม
54.3
ความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอีก
52.3
การเมืองไทยไม่มีการพัฒนา ได้นักการเมืองหน้าเดิมๆ
51.5
การชุมนุมประท้วง การก่อความไม่สงบ การปิดถนน
40.5
 
 
             4. ข้อคำถาม “หากไม่ปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว ท่านกังวลในเรื่องใด” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
63.5
การเลือกตั้งจะล่าช้าออกไป
39.3
พรรคการเมืองจะมีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งน้อย
20.4
พรรคการเมืองใหญ่จะโดนยุบ
9.9
 
 
             5. ข้อคำถาม “ท่านคิดอย่างไร หากไม่มีการปลดล็อคพรรคการเมือง”

 
ร้อยละ
จะได้เห็นนักการเมืองหน้าใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ๆ
42.8
จะขยายเวลาเลือกตั้งออกไปจนกว่าจะพร้อม
29.3
จะให้ คสช. บริหารประเทศต่อไป
21.8
จะมีการเซ็ตซีโร่พรรคการเมือง
6.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นว่าควรปลดล็อคพรรคการเมืองหรือไม่
                 2) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นว่าการปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว จะทำให้ทิศทางการเมืองของประเทศไทยดีขึ้น
                 3) เพื่อต้องการทราบว่าหากปลดล็อคและไม่ปลดล็อคพรรคการเมืองแล้ว ท่านกังวลในเรื่องใด
                 4) เพื่อสะท้อนความเห็นหากไม่มีการปลดล็อคพรรคการเมือง
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
(Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูล
ทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 พฤศจิกายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
655
54.9
             หญิง
539
45.1
รวม
1,194
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
131
11.0
             31 – 40 ปี
235
19.7
             41 – 50 ปี
335
28.0
             51 – 60 ปี
310
26.0
             61 ปีขึ้นไป
183
15.3
รวม
1,194
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
731
61.2
             ปริญญาตรี
374
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
89
7.5
รวม
1,194
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
167
14.0
             ลูกจ้างเอกชน
297
24.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
446
37.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
61
5.1
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
185
15.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
29
2.4
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
7
0.6
รวม
1,194
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776