analyticstracking
หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรกับการปรับ ครม. ประยุทธ์ 5
ประชาชนส่วนใหญ่ 52.5% เชื่อหากปรับ ครม. จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง 57.5% ไม่อยากได้ ครม. ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้
รองลงมา 55.1% ไม่อยากได้ ครม. เครือญาติ เพื่อนพ้องน้องพี่
โดยประชาชนส่วนใหญ่ 61.6% มีความหวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
51.4% เชื่อมั่นว่าปรับ ครม. แล้วจะนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้งตามโร้ดแมป
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการปรับ ครม.
ประยุทธ์ 5” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,166
คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เห็นว่าหากมีการปรับ ครม. ประยุทธ์ 5
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งด้าน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

รองลงมาร้อยละ 37.2 เห็นว่าจะทำให้ได้คนมีความรู้ความสามารถมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
และร้อยละ 31.1 จะทำให้การเลือกตั้งจะล่าช้าออกไป
 
                  เมื่อถามว่าหากมีการปรับ ครม. ตามกระแสข่าว อยากให้ปรับรัฐมนตรี
เจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับด้านใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.9 อยากให้ปรับด้าน
เศรษฐกิจ
รองลงมาร้อยละ 46.7 อยากให้ปรับด้านสังคมและคุณภาพชีวิต และร้อยละ 24.5
อยากให้ปรับด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
 
                  สำหรับสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด หากมีการปรับ ครม. พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.5 ไม่อยากให้เป็น ครม. ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้
รองลงมา
ร้อยละ 55.1 ไม่อยากให้เป็นครม. พวกพ้อง เครือญาติ เพื่อนพ้องน้องพี่ และร้อยละ 51.3
ไม่อยากให้เป็น ครม. ที่เอาคนมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับเจ้ากระทรวงมาดำรงตำแหน่ง
 
                 เมื่อถามถึงสิ่งที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หากมีการปรับ ครม. พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ
61.6 คาดหวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น
รองลงมาร้อยละ 48.6 คาดหวังว่าจะมีหลักธรรมา
ภิบาลครบถ้วน และร้อยละ 47.9 คาดหวังว่าทุกภาคส่วนทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
 
                  ส่วนความเชื่อมั่นว่าการปรับ ครม. แล้วจะนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้งตามโร้ดแมปพบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 51.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 47.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 1.0
ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “คิดเห็นอย่างไร หากมีการปรับ ครม. ประยุทธ์ 5” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ปรับแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งด้าน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง
52.5
ได้คนมีความรู้ความสามารถมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
37.2
ทำให้การเลือกตั้งจะล่าช้าออกไป
31.1
ทำให้ประเทศขาดเสถียรภาพทางการเมือง
11.4
ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบริหารประเทศ
11.3
 
 
             2. ข้อคำถาม “หากมีการปรับ ครม. ตามกระแสข่าว อยากให้ปรับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
                  ที่เกี่ยวข้องกับด้านใด”
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ด้านเศรษฐกิจ
76.9
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
46.7
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
24.5
ด้านความมั่นคงของประเทศ
18.3
ด้านการต่างประเทศ
9.6
 
 
             3. สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด หากมีการปรับ ครม. (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เป็น ครม. ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้
57.5
เป็น ครม. พวกพ้อง เครือญาติ เพื่อนพ้องน้องพี่
55.1
เป็น ครม. ที่เอาคนมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับเจ้ากระทรวง มาดำรงตำแหน่ง
51.3
เป็น ครม. สายทหารแบบเดิม
34.5
 
 
             4. สิ่งที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หากมีการปรับ ครม. (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น
61.6
มีหลักธรรมาภิบาลครบถ้วน
48.6
ทุกภาคส่วนทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
47.9
มีโร้ดแมป การเลือกตั้งที่ชัดเจน
40.1
สามารถปฏิรูปประเทศได้สำเร็จตามที่พูดไว้
33.6
 
 
             5. ความเชื่อมั่นว่าการปรับ ครม. แล้วจะนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้งตามโร้ดแมป

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 42.1 และมากที่สุดร้อยละ 9.3)
51.4
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 31.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 16.0)
47.6
ไม่แน่ใจ
1.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการปรับ ครม. ประยุทธ์ 5
                 2) เพื่อสะท้อนสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด หากมีการปรับ ครม.
                 3) เพื่อสะท้อนสิ่งที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หากมีการปรับ ครม.
                 4) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นว่าการปรับ ครม. แล้วจะนำพาประเทศไปสู่การเลือกตั้งตามโร้ดแมป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
(Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูล
ทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 7 – 8 พฤศจิกายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 พฤศจิกายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
656
56.3
             หญิง
510
43.7
รวม
1,166
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
112
9.6
             31 – 40 ปี
227
19.5
             41 – 50 ปี
333
28.5
             51 – 60 ปี
298
25.6
             61 ปีขึ้นไป
196
16.8
รวม
1,166
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
730
62.6
             ปริญญาตรี
339
29.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
97
8.3
รวม
1,166
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
160
13.7
             ลูกจ้างเอกชน
261
22.4
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
460
39.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
66
5.7
             ทำงานให้ครอบครัว
8
0.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
182
15.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
18
1.5
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
11
0.9
รวม
1,166
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776