analyticstracking
หัวข้อ   “ ปลดล็อคการเลือกตั้งท้องถิ่น
           ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 มีความเห็นว่า หากปลดล็อคให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นบรรยากาศ
ทางการเมืองน่าจะดีขึ้น โดยร้อยละ 53.9 อยากให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นพร้อมกันทุกระดับทั่วประเทศ
           ร้อยละ 40.0 เห็นว่าการที่รัฐอาจจะพิจารณาให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับหรือเฉพาะพื้นที่
ก็เพื่อต้องการทดสอบระบบและความพร้อมของการจัดการเลือกตั้งหลังจากว่างเว้นไปนาน
           โดยร้อยละ 48.1 คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้ผู้นำท้องถิ่นที่ดีมีคุณสมบัติตรงตามรัฐธรรมนูญ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 จากข่าวที่จะมีการปลดล็อคเตรียมจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ยังไม่ทราบว่า
จะเลือกตั้งเมื่อไหร่และจะเลือกกันในระดับและประเภทใดบ้างกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปลดล็อคการเลือกตั้ง
ท้องถิ่น”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุก ภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,184 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 มีความเห็นว่า ควรจัดเลือกตั้ง
ท้องถิ่นให้พร้อมกันทุกระดับทั่วประเทศ
รองลงมาร้อยละ 33.2 มีความเห็นว่า ควรจัด
เลือกตั้งท้องถิ่นเฉพาะในส่วนที่หมดวาระ/ว่างอยู่ก่อนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ และ
ร้อยละ 12.9 มีความเห็นว่า ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับก่อนเฉพาะเขตปกครอง
พิเศษเช่นผู้ว่ากทม. และเมืองพัทยาหรือเฉพาะ อบจ.
 
                 สำหรับความเห็นต่อการปลดล็อคโดย รัฐบาล คสช.อาจพิจารณา
ให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับหรือเฉพาะพื้นที่ก่อนเลือกตั้งระดับชาติ นั้น
ประชาชนร้อยละ 40.0 มีความเห็นว่า เพื่อต้องการทดสอบระบบและความพร้อม
การจัดการเลือกตั้งหลังจากว่างเว้นไปนาน
รองลงมาร้อยละ 35.6 คิดว่าเพื่อต้องการ
นำร่องการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเพื่อทดแทนตำแหน่งผู้นำระดับท้องถิ่น
เดิมที่หมดวาระไปและร้อยละ 30.0 คิดว่า ต้องการดูคะแนนนิยมของพรรคการเมืองในระดับ
ท้องถิ่นเพื่อวัดกระแสความนิยมการเมืองในระดับชาติ
 
                  เมื่อถามว่าการปลดล็อคทางการเมืองเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นจะส่งผลอย่างไรต่อบ้านเมือง
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.1 มีความเห็นว่า จะได้ผู้นำท้องถิ่นที่ดีมีคุณสมบัติตรงตามรัฐธรรมนูญ
รองลงมาร้อยละ 16.6 ระบุว่า จะได้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมาบริหารท้องถิ่นเหมือนเดิม และร้อยละ 15.7 ระบุว่า จะกลับไปสู่การซื้อสิทธิขายเสียง
เหมือนเดิม
 
                  ทั้งนี้หากจัดให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น จะทำให้บรรยากาศทางการเมืองไปในทิศทางใดประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 ระบุว่าบรรยากาศการเมืองน่าจะดีขึ้น
รองลงมาร้อยละ 32.5 ระบุว่า น่าจะเหมือนเดิม และมีเพียง
ร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่ระบุว่า น่าจะแย่ลง
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นว่าควรจัดในรูปแบบใด

 
ร้อยละ
ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นให้พร้อมกันทุกระดับทั่วประเทศ
53.9
ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นเฉพาะในส่วนที่หมดวาระ/ว่างอยู่ก่อนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ
33.2
ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับก่อนเฉพาะเขตปกครองพิเศษ เช่นผู้ว่ากทม. และเมืองพัทยาหรือเฉพาะอบจ.
12.9
 
 
             2. ความเห็นต่อการปลดล็อคโดยรัฐบาล คสช. อาจพิจารณาให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับ
                  หรือเฉพาะพื้นที่ก่อน
(เลือกตอบได้มากกว่า1ข้อ)

 
ร้อยละ
เพื่อทดสอบระบบและความพร้อมการจัดการเลือกตั้งหลังจากว่างเว้นไปนาน
40.0
เพื่อทดสอบ/นำร่องการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
35.6
เพื่อทดแทนตำแหน่งผู้นำระดับท้องถิ่นเดิมที่หมดวาระไป
35.6
เพื่อดูคะแนนนิยมของพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่นเพื่อวัดกระแสความนิยม การเมืองในระดับชาติ
30.0
เพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมือง
27.8
 
 
             3.การปลดล็อคทางการเมืองเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นจะส่งผลอย่างไรต่อบ้านเมือง

 
ร้อยละ
จะได้ผู้นำท้องถิ่นที่ดีมีคุณสมบัติตรงตามรัฐธรรมนูญ
48.1
จะได้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมาบริหารท้องถิ่นเหมือนเดิม
16.6
จะกลับไปสู่การซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม
15.7
ทำให้มีบรรยากาศการหาเสียงคึกคัก/การเลือกตั้งคึกคัก
13.6
ทำให้มีการชุมนุมทางการเมืองได้เกิน 5 คนโดยไม่ผิดกฎหมาย
6.0
 
 
             4.การจัดให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นจะทำให้บรรยากาศทางการเมืองไปในทิศทางใด

 
ร้อยละ
น่าจะดีขึ้น
63.0
น่าจะเหมือนเดิม
32.5
น่าจะแย่ลง
4.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการหารือเพื่อเตรียมปลดล็อคการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
ในประเด็นต่างๆ อาทิ รูปแบบการจัดเลือกตั้ง บรรยากาศและทิศทางการเมืองหากมีการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นต้น
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 14-15 พฤศจิกายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 18 พฤศจิกายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
657
55.5
             หญิง
527
44.5
รวม
1,184
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
132
11.1
             31 – 40 ปี
246
20.8
             41 – 50 ปี
335
28.3
             51 – 60 ปี
297
25.1
             61 ปีขึ้นไป
174
14.7
รวม
1,184
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
714
60.3
             ปริญญาตรี
378
31.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
92
7.8
รวม
1,184
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
155
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
283
23.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
498
42.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
52
4.4
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
165
13.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
24
2.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
6
0.5
รวม
1,184
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776