analyticstracking
หัวข้อ   “ ปัญหาคอร์รัปชั่นในมุมมองคนไทย
เมื่อพูดถึงการคอร์รัปชั่น คนไทยนึกถึงข้าราชการ หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ มากที่สุด
78.7%เห็นว่าปัญหาการติดสินบน การจ่ายใต้โต๊ะ แก้ไม่ได้จนถึงปัจจุบัน
ส่วนใหญ่ 61.3% เห็นว่าสาเหตุของการคอร์รัปชั่นเกิดจากโทษการเอาผิดไม่เด็ดขาด รุนแรง
44.9% เห็นว่ารัฐแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้บ้าง
ส่วนใหญ่ 50.3 % เชื่อคดีทุจริตจำนำข้าวจะเป็นบทเรียนไม่ให้นักการเมืองโกงอีก
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 9 ธันวาคมนี้เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิด
เห็นประชาชน เรื่อง “ปัญหาคอร์รัปชั่นในมุมมองคนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,205 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 30.7
นึกถึงข้าราชการ หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ มากที่สุดเมื่อพูดถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น
รองลงมาคือ นักการเมือง (ร้อยละ 23.3) และการจ่ายเงินใต้โต๊ะ ติดสินบน (ร้อยละ 11.4)
 
                 เมื่อถามว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นใด ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และยังไม่สามารถ
แก้ปัญหาได้เลยในสังคมไทย พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 78.7 เห็นว่าเป็นปัญหาการ
ติดสินบน การจ่ายใต้โต๊ะ
รองลงมาร้อยละ 57.5 ปัญหาการฮั้วประมูลในโครงการต่างๆ
ของภาครัฐ และร้อยละ 51.1 ปัญหาเกี่ยวกับระบบข้าราชการ
 
                  สำหรับสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยยังคงมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.3 เห็นว่าโทษการเอาผิดผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นไม่เด็ดขาด รุนแรง
รองลงมาร้อยละ 52.1 เห็นว่าระบบราชการยังเหมือนเดิมเปิดโอกาสให้เอื้อทุจริตคอร์รัปชั่น
และร้อยละ 49.3 เห็นว่ากฎหมายมีช่องโหว่ล้าสมัย
 
                 ทั้งนี้ เมื่อถามว่าในมุมมองของท่านอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ
63.9 อยากให้เอาผิดและลงโทษผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
รองลงมาร้อยละ 45.3 อยากให้ปลูกฝังค่านิยมต่อต้าน
การทุจริตคอร์รัปชั่น และร้อยละ 37.8 อยากให้ปลูกฝังค่านิยมด้านการประกอบอาชีพสุจริต
 
                  เมื่อถามว่าคิดว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลในปัจจุบันเป็นอย่างไร ประชาชนร้อยละ
44.9 เห็นว่าแก้ปัญหาได้บ้างแต่ก็กลับมาคอร์รัปชั่นแบบเดิมอีก
ขณะที่ร้อยละ 43.4 เห็นว่าไม่มีมาตรการแก้ปัญหา
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีคอร์รัปชั่นเหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 11.7 เห็นว่าแก้ปัญหาจนการคอร์รัปชั่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าบทเรียนจากคดีทุจริตจำนำข้าว จะเป็นตัวอย่างทำให้นักการเมืองไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น
ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.3 เห็นว่าทำได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 49.7 เห็นว่าทำได้
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “หากพูดถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น ท่านนึกถึงอะไร” (5 อันดับแรก)
                  
(คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ข้าราชการ หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ
30.7
นักการเมือง
23.3
การจ่ายเงินใต้โต๊ะ ติดสินบน
11.4
การใช้งบประมาณต่างๆในโครงการภาครัฐ เช่น ทำถนน สร้างอาคาร ซื้ออาวุธ
11.0
ความโลภ ผลประโยชน์
5.5
 
 
             2. ข้อคำถาม “คิดว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นใด ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และยังไม่สามารถแก้ปัญหา
                  ได้เลยในสังคมไทย”
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
การติดสินบน การจ่ายใต้โต๊ะ
78.7
การฮั้วประมูลในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ
57.5
ระบบข้าราชการ
51.1
ระบบพวกพ้องเครือญาติ
50.0
ระบบเงินทอน
33.6
 
 
             3. สาเหตุที่ทำให้สังคมไทยยังคงมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
โทษการเอาผิดผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นไม่เด็ดขาด รุนแรง
61.3
ระบบราชการยังเหมือนเดิมเปิดโอกาสให้เอื้อทุจริตคอร์รัปชั่น
52.1
กฎหมายมีช่องโหว่ล้าสมัย
49.3
รัฐบาล / ผู้นำ ไม่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการปราบทุจริตคอร์รัปชั่น
43.6
 
 
             4. ข้อคำถาม “ในมุมมองของท่านอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างไร”
                  
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อยากให้เอาผิดและลงโทษผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
63.9
อยากให้ปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
45.3
อยากให้ปลูกฝังค่านิยมด้านการประกอบอาชีพสุจริต
37.8
อยากให้จัดตั้งรวมศูนย์การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น
32.6
 
 
             5. ข้อคำถาม “คิดว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลในปัจจุบันเป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
แก้ปัญหาได้บ้างแต่ก็กลับมาคอร์รัปชั่นแบบเดิมอีก
44.9
ไม่มีมาตรการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีคอร์รัปชั่นเหมือนเดิม
43.4
แก้ปัญหาจนการคอร์รัปชั่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด
11.7
 
 
             6. ข้อคำถาม “คิดว่าบทเรียนจากคดีทุจริตจำนำข้าว จะเป็นตัวอย่างทำให้นักการเมืองไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น
                  ได้มากน้อยเพียงใด”

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 35.1 และมากที่สุดร้อยละ 15.2)
50.3
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 28.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 20.8)
49.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของสังคมไทย
                 2) เพื่อสะท้อนมุมมองต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล
                 3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อบทเรียนจากคดีทุจริตจำนำข้าว จะเป็นตัวอย่างไม่ไห้นักการเมือง
                     ทุจริตคอร์รัปชั่นได้มากน้อยเพียงใด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
(Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูล
ทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด
(Open Ended) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 4 – 7 ธันวาคม 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 ธันวาคม 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
645
53.5
             หญิง
560
46.5
รวม
1,205
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
120
10.0
             31 – 40 ปี
250
20.7
             41 – 50 ปี
367
30.5
             51 – 60 ปี
282
23.4
             61 ปีขึ้นไป
186
15.4
รวม
1,205
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
704
58.4
             ปริญญาตรี
377
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
124
10.3
รวม
1,205
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
183
15.2
             ลูกจ้างเอกชน
289
24.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
464
38.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
60
5.0
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
177
14.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
21
1.7
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
9
0.7
รวม
1,205
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776