analyticstracking
หัวข้อ   “ สอบเข้า ม.1 เด็กไทย...ค่านิยม กับ ความทุกข์ใจของผู้ปกครอง
ในการสอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1 ปีนี้ “ชื่อเสียงโรงเรียน” ถือเป็นเหตุผลส่วนใหญ่ของผู้ปกครอง
ร้อยละ 65.3 ในการตัดสินใจพาลูกๆ ไปสอบ โดยร้อยละ 57.2 เตรียมความพร้อมด้วยการอ่านหนังสือ
ทำแบบฝึกหัด รองลงมาร้อยละ 56.2 ให้เรียนพิเศษตั้งแต่ ป4-ป.5-ป.6
ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 59.7 กังวลว่าการสอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1 ครั้งนี้มีอัตราการสอบแข่งขันสูง
โดยร้อยละ 74.8 ยังคงเห็นด้วยว่าระบบการเข้าศึกษาต่อระดับ ม.1 ควรมีการสอบคัดเลือกแต่อยากให้มีการ
สอบมากกว่า 1 รอบ เพื่อให้โอกาสเด็ก ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.6 คาดหวังว่าการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 นั้น
การเรียนการสอนควรมีมาตรฐานเท่ากันทุกโรงเรียนและควรยกเลิกค่านิยมโรงเรียนดัง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีกำหนดให้มีการสมัครสอบเข้าศึกษาต่อของนักเรียนชั้น ม.1 ซึ่งจะประกาศผลสอบ
และรายงานตัว วันที่ 4 เมษายน 2561 ทั้งนี้กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “สอบเข้า ม.1 เด็กไทย...ค่านิยม
กับ ความทุกข์ใจของผู้ปกครอง”
โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่พาบุตรหลานไป
สอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1 ในโรงเรียนต่างๆ ของรัฐบาล ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,085 คน พบว่า
 
                  เหตุผลที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 65.3 ตัดสินใจเลือก
โรงเรียนให้แก่บุตรหลานในการสอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1 คือ ชื่อเสียงของ
โรงเรียน
รองลงมาร้อยละ 63.7 ระบุว่าความสะดวกในการเดินทาง และร้อยละ 57.7
ระบุว่ามั่นใจในระบบการเรียนการสอน
 
                  สำหรับการเตรียมความพร้อมให้บุตรหลานเพื่อสอบเข้า ม.1 นั้น
ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 57.2 ระบุว่าให้อ่านหนังสือและซื้อแบบฝึกหัด
เตรียมสอบมาหัดทำเอง
รองลงมาร้อยละ 56.2 ระบุว่าให้เรียนพิเศษตั้งแต่ ป4-ป.5-ป.6 และร้อยละ 45.1 ระบุว่า พาไปสอบ
Pre-test ม.1/ซ้อมสอบเสมือนจริงตามโรงเรียนต่างๆ
 
                  ส่วนเรื่องที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 59.7 กังวลมากที่สุดในการสอบเรียนต่อระดับ ม.1
ของบุตรหลานในครั้งนี้ คือ อัตราการสอบแข่งขันสูง
รองลงมาร้อยละ 13.5 คือกลัวลูกสอบไม่ติดและไม่มีโรงเรียน
รัฐบาลรองรับ และร้อยละ 10.7 คือกลัวลูกสอบไม่ติดแล้วต้องไปหาโรงเรียนเอกชนค่าเทอมแพง
 
                  เมื่อถามว่า อยากให้ระบบการสอบเข้า หรือ ศึกษาต่อระดับ ม.1 ของนักเรียนในประเทศไทย
เป็นอย่างไร ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่าควรมีการสอบคัดเลือก
(โดยร้อยละ 27.7 ระบุว่าอยากให้
มีการสอบมากกว่า 1 รอบ เพื่อให้โอกาสเด็ก รองลงมาร้อยละ 19.2 ระบุว่าสอบคัดเลือก100% เหมือนสมัยก่อน และร้อยละ
15.3 ระบุว่าให้สอบเหมือนปัจจุบันที่แบ่งสัดส่วนนักเรียนในพื้นที่กับนอกพื้นที่) ขณะที่ร้อยละ 25.2 ระบุว่าไม่ต้องมีการ
สอบคัดเลือก
(โดยร้อยละ 11.4 ระบุว่าให้นักเรียนมีโอกาสเข้าเรียนได้ตามเขตพื้นที่ รองลงมาร้อยละ 10.6 ระบุว่ามีโรงเรียน
และที่นั่งให้พอเพียงกับนักเรียน และร้อยละ 3.4 ระบุว่าให้ใช้การทดสอบวิธีการอื่นที่เหมาะสม)
 
                  ด้านองค์ประกอบของระบบการศึกษาไทยที่หวังและอยากให้บุตรหลานได้รับขณะศึกษาในยุค
ไทยแลนด์ 4.0 นั้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 72.6 มีความเห็นว่าการเรียนการสอนควรมีมาตรฐานเท่ากัน
ทุกโรงเรียน ไม่ควรมีการจัดระดับ/ควรยกเลิกค่านิยมโรงเรียนดัง
รองลงมาร้อยละ 59.0 มีความเห็นว่าครู/อาจารย์
ควรมีความทันสมัย เข้าใจหลักสูตร ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และร้อยละ 51.7 มีความเห็นว่ารัฐบาล/ผู้บริหารการศึกษา
ของประเทศให้ความสนับสนุนค่าเทอมค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา
 
 
                 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
             1. เหตุผลการตัดสินใจเลือกโรงเรียนให้แก่บุตรหลานในการสอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1
                 
(ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ชื่อเสียงของโรงเรียน
65.3
ความสะดวกในการเดินทาง
63.7
มั่นใจในระบบการเรียนการสอน
57.7
เป็นโรงเรียนที่ลูกอยากเรียน
43.7
สิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียน
41.8
คุณภาพของครูอาจารย์
39.5
โอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ
33.5
สังคมเพื่อนที่ดีตั้งใจเรียน
31.2
เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
26.3
ค่าเทอม ถูกกว่าเอกชน
25.2
 
 
             2. การเตรียมความพร้อมให้บุตรหลานเพื่อสอบเข้า ม.1 (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
อ่านหนังสือและซื้อแบบฝึกหัดเตรียมสอบมาหัดทำเอง
57.2
ให้เรียนพิเศษตั้งแต่ ป4-ป.5-ป.6
56.2
พาไปสอบ Pre-test ม.1 /ซ้อมสอบเสมือนจริงตามโรงเรียนต่างๆ
45.1
หาแนวข้อสอบปีที่ผ่านมาฝึกทดสอบ
39.1
เข้าติวพิเศษกับทางโรงเรียนที่มาสอบ
10.6
จ้างครูมาสอนพิเศษตัวต่อตัว
10.5
 
 
             3. เรื่องที่กังวลมากที่สุดในการสอบเรียนต่อระดับ ม.1 ของบุตรหลานในครั้งนี้

 
ร้อยละ
อัตราการสอบแข่งขันสูง
59.7
กลัวสอบไม่ติดและไม่มีโรงเรียนรัฐบาลรองรับ
13.5
กลัวสอบไม่ติดแล้วต้องไปหาโรงเรียนเอกชนค่าเทอมแพง
10.7
การใช้เส้นสายหรือจ่ายแป๊ะเจี๊ยะ
9.7
ที่นั่งไม่พอต่อการรองรับจำนวนนักเรียน
6.4
 
 
             4. อยากให้ ระบบการสอบเข้า หรือ ศึกษาต่อระดับ ม.1 ของนักเรียนในประเทศไทยเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
ควรมีการสอบคัดเลือก
  โดย.......  
  - มีการสอบมากกว่า 1 รอบ เพื่อให้โอกาสเด็ก ร้อยละ 27.7
  - สอบคัดเลือก 100% เหมือนสมัยก่อน ร้อยละ 19.2
  - เหมือนปัจจุบันแบ่งสัดส่วนนักเรียนในพื้นที่กับนอกพื้นที่ ร้อยละ 15.3
  - ใช้ข้อสอบจากส่วนกลางเพื่อป้องกันทุจริต ร้อยละ 12.6
74.8
ไม่ต้องมีการสอบคัดเลือก
  โดย.......  
  - ให้นักเรียนมีโอกาสเข้าเรียนตามเขตพื้นที่ ร้อยละ 11.4
  - มีโรงเรียนและที่นั่งให้พอเพียงกับนักเรียน ร้อยละ 10.6
  - ใช้การทดสอบวิธีการอื่นที่เหมาะสม ร้อยละ 3.2
25.2
 
 
             5. องค์ประกอบของระบบการศึกษาไทยที่หวังและอยากให้บุตรหลานได้รับขณะศึกษา
                  ในยุคไทยแลนด์4.0
(ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
การเรียนการสอนมีมาตรฐานเท่ากันทุกโรงเรียน
ไม่ควรมีการจัดระดับ/ยกเลิกค่านิยมโรงเรียนดัง
72.6
ครู/อาจารย์มีความทันสมัย เข้าใจหลักสูตร ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
59.0
รัฐบาล/ผู้บริหารการศึกษาของประเทศให้ความสนับสนุนค่าเทอมค่าใช้จ่าย
เพื่อสร้างโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา
51.7
หลักสูตรสอดคล้องกับยุคสมัย เข้าใจเด็กยุค GEN Z
48.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่พาบุตรหลานไปสอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1 เกี่ยวกับเหตุผล
ที่พามาสอบ การเตรียมความพร้อมในการสอบ ความกังวลต่างๆ รวมถึงรูปแบบการเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1และองค์ประกอบ
ของระบบการศึกษาไทยที่คาดหวังและอยากให้ลูกหลานได้รับขณะที่ศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์
ต่อระบบการศึกษาและสังคมไทยโดยรวม
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่พาบุตรหลานไปสอบเข้าศึกษาต่อชั้น ม.1 ในโรงเรียนต่างๆ
ของรัฐบาล จำนวน 15 แห่ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่าง
เป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,085 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 31 มีนาคม 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 เมษายน 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
112
10.3
             36 – 45 ปี
552
50.9
             45 ปีขึ้นไป
421
38.8
รวม
1,192
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
413
38.1
             ปริญญาตรี
555
51.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
117
10.7
รวม
1,192
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
190
17.5
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
394
36.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
229
21.1
             เจ้าของกิจการ
109
10.1
             ทำงานให้ครอบครัว
35
3.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
117
10.8
             ว่างงาน /รอฤดูกาล / รวมกลุ่ม
11
1.0
รวม
1,192
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776