analyticstracking
หัวข้อ   “ ความในใจของแรงงานไทย 4.0
ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ 64.3 % ทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดย 59.6% ได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นแล้ว
ส่วนใหญ่ 52.7% รู้สึกมีความสุข อยากให้ขึ้นแบบนี้ทุกๆปี
แต่ 39.9% ระบุว่ายังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ยืม โดยส่วนใหญ่ 85.5% กังวลว่าข้าวของจะราคาแพงขึ้น
แรงงานส่วนใหญ่ 62.3 % อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิด
วอนนายจ้างอยากให้เพิ่มค่าแรงรายวันให้มากขึ้น
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันแรงงานแห่งชาติ
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความในใจของแรงงานไทย 4.0” โดยเก็บ
ข้อมูลกับผู้ใช้แรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
1,045 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 รับทราบการปรับขึ้น
ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 308- 330 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นเมื่อวันที่
1 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา
ขณะที่ร้อยละ 35.7 ยังไม่ทราบ
 
                 เมื่อถามต่อว่าได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้าง
ใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.6 ได้รับแล้ว
ขณะที่ร้อยละ 40.4 ยังไม่ได้รับ
 
                  เมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปี ติดต่อกัน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.7 รู้สึกมีความสุข อยากให้ขึ้นแบบนี้ทุกๆปี
ส่วนร้อยละ 35.7
รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 11.6 รู้สึกแย่ คิดว่าน่าจะขึ้นมากกว่านี้
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ผู้ใช้แรงงานร้อยละ
39.9 ระบุว่า ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
ขณะที่ร้อยละ 30.9 ระบุว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและ
มีเงินเก็บออม ส่วนร้อยละ 29.2 ระบุว่า พอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
 
                  สำหรับเรื่องที่กังวลหลังจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปีติดต่อกันพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.5 กังวลว่า
ข้าวของจะราคาแพงขึ้น เพราะต้นทุนผู้ประกอบการสูงมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 25.1 กังวลว่าค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ขึ้นอีก
หลายปี และร้อยละ 19.8 กังวลว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงาน
 
                  เมื่อถามว่าการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำไปทั่วทุกภูมิภาค ทำให้อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิดหรือไม่ ส่วนใหญ่
ร้อยละ 62.3 อยากกลับ
ขณะที่ร้อยละ 37.7 ไม่อยากกลับ โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการ
ดีกว่า (ร้อยละ 43.4) รองลงมาคือ มีงานให้เลือกน้อย (ร้อยละ41.4) และชอบอยู่กทม.และปริมณฑลมากกว่า (ร้อยละ 37.2)
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงความในใจที่อยากบอกกับนายจ้างพบว่า เรื่องที่อยากบอกนายจ้างมากที่สุดคือ
อยากให้เพิ่มเงินรายวันให้มากขึ้น (ร้อยละ 35.0)
รองลงมาคือ อยากให้เพิ่มสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล (ร้อยละ 17.1)
และอยากให้มีงานจ้างทุกวัน (ร้อยละ 13.8)
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 308- 330 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้น
                  เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา”


 
ร้อยละ
ทราบ
64.3
ไม่ทราบ
35.7
 
 
             2. ข้อคำถาม “ท่านได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่หรือไม่”

 
ร้อยละ
ได้รับแล้ว
59.6
ยังไม่ได้รับ
40.4
 
 
             3. ข้อคำถาม “รู้สึกอย่างไรกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปี ติดต่อกัน”

 
ร้อยละ
รู้สึกมีความสุข อยากให้ขึ้นแบบนี้ทุกๆปี
52.7
รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น
35.7
รู้สึกแย่ คิดว่าน่าจะขึ้นมากกว่านี้
11.6
 
 
             4. ข้อคำถาม “ค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่”

 
ร้อยละ
ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
39.9
เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
30.9
พอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
29.2
 
 
             5. เรื่องที่กังวลหลังจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปีติดต่อกัน
                 
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ข้าวของจะราคาแพงขึ้น เพราะต้นทุนผู้ประกอบการสูง
85.5
ค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ขึ้นอีกหลายปี
25.1
แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงาน
19.8
ตกงาน โดนเลิกจ้าง
15.0
 
 
             6. ข้อคำถาม “การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำไปทั่วทุกภูมิภาค ทำให้อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิดหรือไม่”
                 
(ถามเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด)

 
ร้อยละ
อยากกลับ
62.3
ไม่อยากกลับ
  โดยให้เหตุผลว่า  
  ในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการดีกว่า ร้อยละ 43.4
  มีงานให้เลือกน้อย ร้อยละ 41.4
  ชอบอยู่กทม.และปริมณฑลมากกว่า ร้อยละ 37.2
  ภูมิลำเนาได้ค่าแรงต่ำกว่า ร้อยละ 35.9
  หางานที่ตรงกับทักษะไม่ได้ ร้อยละ 19.1
  เปิดรับคนเข้าทำงานน้อยกว่า ร้อยละ 16.1
  ต้องทำงานหนักกว่า ร้อยละ 13.8
  ค่าครองชีพในกทม. และปริมณฑลถูกกว่า ร้อยละ 3.0
  มีแรงงานต่างด้าวมาแย่งงาน ร้อยละ 2.0
37.7
 
 
             7. ความในใจที่อยากบอกกับนายจ้าง

 
ร้อยละ
อยากให้เพิ่มเงินรายวันให้มากขึ้น
35.0
อยากให้เพิ่มสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล
17.1
อยากให้มีงานจ้างทุกวัน
13.8
อยากให้เพิ่มโบนัสมากกว่านี้
13.3
อยากขอให้ทำงานหนักแต่ได้เงินคุ้มค่ามากขึ้น
8.8
อยากให้เพิ่มการทำงานนอกเวลามากกว่านี้ (OT)
7.5
อยากให้เพิ่มการอบรมวิชาชีพพัฒนาทักษะการทำงาน
2.3
อยากขอให้ทำงานเบาลงกว่านี้
2.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 308- 330 บาท
                     ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา
                 2) เพื่อต้องการทราบถึงเรื่องที่กังวลหลังจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 ปีติดต่อกัน
                 3) เพื่อต้องต้องการทราบว่าการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำไปทั่วทุกภูมิภาค ทำให้อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิดหรือไม่
                 4) เพื่อสะท้อนความในใจที่อยากบอกกับนายจ้าง
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
จำนวน 17 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร จอมทอง ดินแดง
บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางบอน บึงกุ่ม พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ลาดกระบัง วังทองหลาง หนองแขม
หลักสี่และปริมณฑล 1 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)
จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,045 คน เป็นชายร้อยละ 52.2 และหญิง
ร้อยละ 47.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 24 – 27 เมษายน 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 พฤษภาคม 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
546
52.2
             หญิง
499
47.8
รวม
1,045
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
389
37.3
             31 – 40 ปี
208
19.9
             41 – 50 ปี
252
24.1
             51 – 60 ปี
156
14.9
             61 ปีขึ้นไป
40
3.8
รวม
1,045
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,001
95.8
             ปริญญาตรี
42
4.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
2
0.2
รวม
1,045
100.0
อาชีพ:
   
             โรงงานอุตสาหกรรม
69
6.6
             กรรมกรก่อสร้าง
83
7.9
             รปภ. / ภารโรง
246
23.5
             แม่บ้าน / คนสวน
138
13.2
             รับจ้างทั่วไป
103
9.9
             ช่างซ่อมตามอู่ / ช่างไฟฟ้า / ช่างซ่อม
88
8.4
             พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ
99
9.5
             พนักงานขับรถ
28
2.7
             พนักงานขาย
144
13.8
             อื่นๆ อาทิเช่น แม่ครัว แคชเชียร์ ส่งเอกสาร
47
4.5
รวม
1,045
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776