analyticstracking
หัวข้อ   “ พ่อแม่ยุคใหม่วางแผนอย่างไรเมื่อใกล้เปิดเทอม
เปิดเทอมนี้ พ่อแม่ยุคใหม่ร้อยละ 66.8 ระบุว่าการส่งลูกไปเรียนพิเศษเพิ่มมีความจำเป็นมาก
สำหรับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน โดยร้อยละ 40.8 มีการวางแผนให้ลูกเรียนด้านภาษาที่ 3 เพิ่มเติม
เช่น ภาษาจีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ ร้อยละ 47.8 สนับสนุนให้ลูกเรียนเสริมในสิ่งที่เค้าชอบ ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับ
การศึกษาของลูกนั้นร้อยละ 70.6 ระบุว่า มีการจัดสรรเงินสำหรับการศึกษาของลูกโดยเฉพาะไว้แล้ว
ส่วนเรื่องที่ต้องการในรัฐบาลสนับสนุนมากที่สุดคือ สร้างหลักสูตรทางเลือกที่หลากหลาย
เหมาะกับศักยภาพของเด็ก และ ให้ครูสอนเต็มที่จะได้ไม่ต้องให้ลูกไปเรียนพิเศษเพิ่ม
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ช่วงเปิดเทอมของโรงเรียนต่างๆ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเตรียมการวางแผน
ในด้านการศึกษาแก่บุตรหลานสำหรับปีการศึกษาใหม่ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “พ่อแม่ยุคใหม่วางแผน
อย่างไรเมื่อใกล้เปิดเทอม”
โดยเก็บข้อมูลจากพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานศึกษา
อยู่ในระดับชั้น อนุบาล-มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รวมทั้งสิ้น 1,175 คน มีผลสำรวจดังนี้
 
                 เมื่อถามว่าระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันมีความจำเป็นเพียงใด
ที่ต้องส่งบุตรหลานไปเรียนพิเศษ พ่อแม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.8 ระบุว่า จำเป็นมาก

รองลงมาร้อยละ 20.4 ระบุว่าจำเป็นน้อย และมีเพียงร้อยละ 12.8 ระบุว่าไม่จำเป็นเลย
 
                  ส่วนการวางแผนเพื่อเพิ่มทักษะและความสามารถให้กับลูกๆ
ในเทอมใหม่นี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.8 จะเน้นด้านภาษาที่3 เช่น ภาษาจีน
ภาษาญี่ปุ่น
รองลงมาร้อยละ 38.0 เน้นด้านกีฬา และร้อยละ 23.6 เน้นด้านดนตรี
/ร้องเพลง/นาฏศิลป์
 
                  โดยวิธีการสนับสนุนเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่ลูกๆ พ่อแม่ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.8 ให้ลูกเรียน
เสริมในสิ่งที่เค้าชอบไม่บังคับหรือกำหนดให้ลูก
รองลงมาร้อยละ 46.5 กำหนดให้ลูกไปเรียนเพื่อสร้างทักษะเฉพาะเช่น
ดนตรี กีฬา คณิต ศิลปะ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ และร้อยละ 37.8 ให้ลูกเรียนพิเศษด้านวิชาการในวันธรรมดาและวันเสาร์-
อาทิตย์
 
                  ด้านค่าเรียนพิเศษเพื่อเสริมทักษะความสามารถให้แก่ลูกๆ ด้านต่างๆ ในปัจจุบันร้อยละ 49.9 ระบุว่า
ราคาพอดีแล้ว
รองลงมาร้อยละ 29.0 ระบุว่าราคาสูงแต่พอรับได้ และร้อยละ 5.3 ระบุว่า ราคาสูงมากจนไม่สามารถรับได้
 
                  สำหรับการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับแผนการศึกษาของลูกๆ ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 ระบุว่ามีการ
จัดสรรเงินไว้สำหรับการศึกษาของลูกโดยเฉพาะ
รองลงมาร้อยละ 31.7 ระบุว่านำเงินเก็บออมออกมาใช้ และร้อยละ
10.5 ระบุว่าหยิบยืมจากญาติเพื่อนกรณีหมุนเงินไม่ทัน
 
                  ทั้งนี้เรื่องที่ต้องการการสนับสนุนด้านการศึกษาจากรัฐบาลมากที่สุดร้อยละ 17.7 คือสร้างหลักสูตร
ทางเลือกที่หลากหลายเหมาะกับศักยภาพของเด็ก
รองลงมาร้อยละ 17.5 คือให้ครูสอนเต็มที่จะได้ไม่ต้องไปเรียน
พิเศษเพิ่ม และร้อยละ 15.9 ให้พัฒนาครูให้มีเทคนิคการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นหลัก
 
 
                 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
             1. ระบบการศึกษาไทยมีความจำเป็นต้องส่งลูกๆ ไปเรียนพิเศษหรือไม่เพียงใด

 
ร้อยละ
จำเป็นมาก
66.8
จำเป็นน้อย
20.4
ไม่จำเป็นเลย
12.8
 
 
             2. วางแผนเพื่อเพิ่มทักษะ/ความสามารถด้านการศึกษาให้ลูกๆ ในด้าน... (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ภาษาที่ 3 เช่น ภาษาจีนภาษาญี่ปุ่นเป็นต้น
40.8
กีฬา
38.0
ดนตรี/ร้องเพลง/นาฏศิลป์
23.6
การเข้าสังคม/ทำกิจกรรม/จิตอาสา/EQ
20.1
ศิลปะ
18.0
วิชาการเพื่อสอบเข้าสถาบันการศึกษาชั้นนำ
18.0
ภาษาเพื่อเรียนต่อหลักสูตรอินเตอร์/ต่างประเทศ
12.0
ไม่ได้เน้นทักษะด้านใดเป็นพิเศษให้เรียนตามแผนการเรียนปกติ
16.8
 
 
             3. สิ่งที่ได้ทำและสนับสนุนเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่ลูกๆ คือ…. (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ให้ลูกเรียนเสริมในสิ่งที่เค้าชอบไม่บังคับหรือกำหนดให้ลูก
47.8
สร้างทักษะเฉพาะให้กับลูกเช่น ดนตรี กีฬา คณิต ศิลปะ ภาษาจีน ญี่ปุ่น ฯลฯ
46.5
ให้เรียนพิเศษวันธรรมดาและวันเสาร์-อาทิตย์
37.8
เตรียมวางแผนระยะยาวเลือกสถาบันการศึกษาตั้งแต่อนุบาล- มหาวิทยาลัย
30.8
เตรียมวางแผนระยะยาวเลือกสถาบันการศึกษาตั้งแต่อนุบาล- มหาวิทยาลัย
19.5
ไม่ได้สนับสนุน/เพิ่มทักษะด้านใดเพิ่มเติมจากที่เรียนในโรงเรียนเลย
12.5
 
 
             4. ราคาหรือค่าใช้จ่ายการเรียนพิเศษเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่ลูกๆในปัจจุบันเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
ราคาพอดีแล้ว
49.9
ราคาสูงแต่พอรับได้
29.0
ราคาสูงมากจนไม่สามารถรับได้
5.3
ไม่ได้ให้เรียนพิเศษเพราะไม่จำเป็น
15.8
 
 
             5. การจัดเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับแผนการศึกษาของลูกๆ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
จัดสรรเงินไว้สำหรับการศึกษาของลูกโดยเฉพาะ
70.6
นำเงินที่เก็บออมออกมาใช้
31.7
หยิบยืมจากญาติเพื่อนกรณีหมุนเงินไม่ทัน
10.5
กู้ธนาคาร/รูดบัตรเครดิต
3.1
กู้นอกระบบกรณีหมุนเงินไม่ทัน
2.8
อื่นๆ เช่น รายได้จาการทำงาน เงินโบนัส เป็นต้น
1.2
 
 
             6. เรื่องที่ต้องการการสนับสนุนด้านการศึกษาจากรัฐบาลมากที่สุด

 
ร้อยละ
สร้างหลักสูตรทางเลือกที่หลากหลายเหมาะกับศักยภาพของเด็ก
17.7
ให้ครูสอนเต็มที่จะได้ไม่ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่ม
17.5
พัฒนาครูให้มีเทคนิคการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นหลัก
15.9
พัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมกับลักษณะของเด็กGEN Z
14.6
ปรับระบบ/ลดการแข่งขันการสอบคัดเลือกเข้าม.1 ม.4 และมหาวิทยาลัย
12.0
ให้ทุนการศึกษาสำหรับเด็กเรียนดีแต่ยากจน
11.0
สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุม
10.2
อื่นๆ เช่น ให้มาตรฐานการสอนเท่ากันทุกโรงเรียน พัฒนาทักษะด้านการดำเนินชีวิต เป็นต้น
1.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพ่อแม่ผู้ปกครองในยุคใหม่ เกี่ยวกับการวางแผนการศึกษาและการ
สนับสนุนเพื่อเสริมทักษะความสามารถให้กับลูกหลานที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาหรือ
เทียบเท่า ในช่วงเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ตลอดจนความเห็นต่อค่าเรียนพิเศษเพื่อเสริมทักษะความสามารถและ
เรื่องที่ต้องการการสนับสนุนด้านการศึกษาจากรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาและสังคมไทย
โดยรวม
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกเหลาน เรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาหรือ
เทียบเท่า ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,175 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 8-11 พฤษภาคม 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 พฤษภาคม 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
อายุ:
 
 
             20 – 30 ปี
117
10.0
             31 – 40 ปี
441
37.5
             41 – 50 ปี
472
40.2
             51 – 60 ปี
125
10.6
             61 ปีขึ้นไป
20
1.7
รวม
1,045
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
748
63.6
             ปริญญาตรี
372
31.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
55
4.7
รวม
1,045
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
156
13.3
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
353
30.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
462
39.3
             เจ้าของกิจการ
71
6.0
             ทำงานให้ครอบครัว
22
1.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
107
9.1
             ว่างงาน /รอฤดูกาล / รวมกลุ่ม
4
0.3
รวม
1,045
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776