analyticstracking
หัวข้อ   “ บัตรแมงมุม บัตรร่วมโดยสาร เดินทางได้ทุกระบบของคนกรุงเทพฯ
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.9 ได้รับความยุ่งยากในการใช้บัตรโดยสารสาธารณะในกรุงเทพฯ
        ที่มีความหลากหลายและใช้ร่วมกันไม่ได้ ทั้ง MRT BTS Airport Rail Link โดยร้อยละ 65.1 เชื่อว่า หาก
        “บัตรแมงมุม”ทำได้ครอบคลุมทั้งระบบ จะทำให้การเดินทางของคนในกรุงเทพฯ สะดวกสบายขึ้น แต่ทั้งนี้
        การเปิดใช้บัตรแมงมุมในช่วงแรก ประชาชนร้อยละ 52.7 ระบุว่า จะสะดวกเฉพาะกับผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าสายสี
        ม่วง MRT Airport Rail Link เท่านั้น โดยร้อยละ 37.8 กังวลว่าระบบขนส่งบางประเภทอาจไม่เชื่อมต่อ
         หรืออุปกรณ์ติดตั้งไม่พร้อม ทำให้ใช้ประโยชน์จากบัตรแมงมุมได้ไม่เต็มที่
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีการเปิดตัวและแจก “บัตรแมงมุม”
เพื่อนำร่องใช้สำหรับรถไฟฟ้าฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน จำนวน 200,000 ใบ
ให้กับประชาชน ในทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจนกว่าจะหมด กรุงเทพโพลล์โดย
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “บัตรแมงมุม
บัตรร่วมโดยสาร เดินทางได้ทุกระบบของคนกรุงเทพฯ ”
โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ
ในกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 1,184 คน มีผลสำรวจดังนี้
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.9 ระบุว่า ปัจจุบันมีความยุ่งยากในการ
ใช้บัตรโดยสารขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายและใช้ร่วมกัน
ไม่ได้ เพราะต้องพกบัตรทีละหลายใบทั้ง MRT BTS Airport Rail Link ฯลฯ

รองลงมาร้อยละ 24.7 ระบุว่า ต้องเสียเวลาต้องต่อคิวซื้อตั๋วใหม่เวลาเปลี่ยนประเภท
การเดินทาง และร้อยละ 22.4 ระบุว่า ไม่มีปัญหาเพราะเคยชินแล้ว
 
                  เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่ารัฐบาลมีโครงการจัดทำ“บัตรแมงมุมหรือ
ตั๋วร่วมเดินทางได้ทุกระบบ” ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.6 ระบุว่าทราบ
ขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุว่าไม่ทราบ
 
                  ส่วนเรื่องการแจก “บัตรแมงมุม” เพื่อนำร่องใช้สำหรับรถไฟฟ้าฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินก่อน จำนวน
200,000 ใบ ให้กับประชาชน ในทุกสถานีของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจนกว่าจะหมดนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.4
ระบุว่ายังไม่ทราบ
ขณะที่ร้อยละ 32.6 ระบุว่าทราบแล้ว
 
                  ทั้งนี้การที่บัตรแมงมุมในช่วงแรกใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สายสีน้ำเงินในเดือน มิถุนายน โดยจะขยาย
ไปใช้ร่วมกับ แอร์พอร์ตเรลลิ้งค์และรถเมล์ ในเดือนตุลาคมนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.7 ระบุว่า คนที่ใช้บริการ
เฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง MRT Airport Rail Link และรถเมล์ จะสะดวกขึ้น
รองลงมาร้อยละ 26.7 ระบุว่าอาจจะยัง
ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรเพราะยังไม่ครอบคลุมทุกการเดินทาง และร้อยละ 20.2 ระบุว่าการเดินทางเหมือนเดิมเพราะใช้
BTS เป็นหลัก
 
                  หากบัตรแมงมุม สามารถทำได้ครอบคลุมระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทในกรุงเทพฯ ชีวิตคนกรุงเทพฯ
จะเป็นเช่นไรนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.1 ระบุว่า การเดินทางสะดวกสบายขึ้นเพราะไม่ต้องพกบัตรหลายใบ
/ต่อแถวซื้อตั๋วบริเวณจุดเชื่อมต่อ
รองลงมาร้อยละ 21.8 ระบุว่า เหมาะกับยุคสมัยที่อนาคตจะเป็นสังคมไร้เงินสด มีบัตร
เดียวใช้ได้กับขนส่งสาธารณะทุกระบบ และร้อยละ 12.2 ระบุว่า จะทำให้คนกรุงเทพฯ จะหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น
 
                  สำหรับเรื่องที่ห่วงหรือกังวลมากที่สุดหากมีการใช้ “บัตรแมงมุม” พบว่าร้อยละ 37.8 กังวลว่าจะใช้
ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่เพราะระบบขนส่งบางประเภทอาจไม่เชื่อมต่อหรืออุปกรณ์ติดตั้งไม่พร้อม
รองลงมาร้อยละ 28.2
กังวลว่าระบบการชำระเงินหรือตัดยอดเงินไม่พร้อมและมีปัญหาการใช้งานเมื่อเปลี่ยนประเภทการเดินทาง และร้อยละ 24.7
กังวลเรื่องความเข้าใจของประชาชนในการใช้บัตรแมงมุม
 
 
                 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
             1. คิดอย่างไรกับการใช้บัตรโดยสารขนส่งในกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายและใช้ร่วมกันไม่ได้

 
ร้อยละ
ยุ่งยากต้องพกทีละหลายใบ ทั้ง MRT BTS Airport Rail Link ฯลฯ
52.9
เสียเวลาต้องต่อคิวซื้อตั๋วใหม่
24.7
ไม่มีปัญหาเคยชินแล้ว
22.4
 
 
             2. ทราบเรื่องที่รัฐบาลจัดทำ “บัตรแมงมุมหรือ บัตรโดยสารร่วมเดินทางได้ทุกระบบ” ที่บัตรเดียวสามารถ
                  ใช้กับบริการขนส่งสาธารณะได้ทุกระบบทั้ง รถเมล์ MRT, BTS, Airport rail Link, ทางด่วน


 
ร้อยละ
ทราบ
53.6
ไม่ทราบ
46.4
 
 
             3. ทราบเรื่องการแจก “บัตรแมงมุม” เพื่อนำร่องใช้สำหรับรถไฟฟ้าฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินก่อน
                  จำนวน 200,000 ใบ ให้กับประชาชน โดยเริ่มแจก ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 2561 ในทุกสถานี
                  ของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจนกว่าจะหมด


 
ร้อยละ
ทราบ
32.6
ไม่ทราบ
67.4
 
 
             4. การที่บัตรแมงมุมใช้ในช่วงแรกเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สายสีน้ำเงินในเดือน มิถุนายน
                  และจะขยายไปใช้ร่วมกับแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ และรถเมล์ให้เดือนตุลาคม นั้น คิดว่าจะเป็นเช่นไร


 
ร้อยละ
คนที่ใช้บริการเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง MRT Airport Rail Link และ รถเมล์ สะดวกขึ้น
52.7
อาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรเพราะยังไม่ครอบคลุมทุกการเดินทาง
26.7
ชีวิตการเดินทางเหมือนเดิมเพราะส่วนใหญ่ยังใช้บริการร่วมกับ BTS เป็นหลัก
20.2
อื่นๆ อาทิ ไม่แน่ใจ BTS ยังไม่เข้าร่วมเลยไม่น่าสนใจ ฯลฯ
0.4
 
 
             5. หากบัตรแมงมุม สามารถทำได้ครอบคลุมระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทในกรุงเทพฯ
                 ชีวิตคนกรุงเทพฯ จะเป็นเช่นไร


 
ร้อยละ
การเดินทางสะดวกสบายขึ้นเพราะไม่ต้องพกบัตรโดยสารหลายใบ
/ต่อแถวซื้อตั๋วบริเวณจุดเชื่อมต่อสถานี MRT , BTS, Airport Rail Link
65.1
เหมาะกับยุคสมัยที่อนาคตจะเป็นสังคมไร้เงินสด มีบัตรเดียวใช้ได้กับขนส่งสาธารณะทุกระบบ
21.8
คนกรุงเทพฯ จะหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น
12.2
อื่นๆ อาทิ ไม่แน่ใจ คนอาจไม่สนใจเพราะไม่มีส่วนลด รถยังคงติดเหมือนเดิม
0.9
 
 
             6. สิ่งที่ห่วงหรือกังวลมากที่สุดหากมีการใช้ “บัตรแมงมุม”

 
ร้อยละ
กลัวใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่เพราะระบบขนส่งสาธารณะบางประเภท
อาจไม่เชื่อมต่อ หรืออุปกรณ์ไม่พร้อม
37.8
ระบบการชำระเงินไม่พร้อม/มีปัญหาในการใช้บริการเวลาเปลี่ยนประเภทการเดินทาง
28.2
ความเข้าใจของประชาชนในการใช้บัตรแมงมุมว่าใช้ได้กับอะไรบ้าง
24.7
พนักงานเกี่ยวกับการรับเงินหลายคนอาจถูกเลิกจ้าง/ตกงาน
6.7
อื่นๆ อาทิ งบประมาณที่นำมาใช้ กลัวเปลี่ยนรัฐบาลแล้วโครงการจะเปลี่ยน
ความไม่ปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวในบัตร กลัวบัตรหายและถูกคนอื่นนำไปใช้ ฯลฯ
2.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้ระบบบริการขนส่งในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการรับทราบเรื่อง
การแจกบัตรแมงมุม ชีวิตการเดินทางในกรุงเทพฯ เมื่อบัตรแมงมุมสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบขนส่งทุกระบบในอนาคต
ตลอดจนความห่วงและกังวลต่อการใช้บัตรแมงมุมของประชาชน ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนและหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจในครั้งนี้ใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนที่ใช้บริการระบบขนส่งในกรุงเทพฯ โดยเป็นผู้ใช้บริการ
ระบบขนส่งในการเดินทางตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟใต้ดินMRT รถไฟฟ้าBTS Airport Rail Link
และรถประจำทาง เป็นต้น โดยสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,184 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21 – 25 มิถุนายน 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 มิถุนายน 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
581
49.1
             หญิง
603
50.9
รวม
1,184
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
332
28.0
             31 – 40 ปี
284
24.0
             41 – 50 ปี
240
20.3
             51 – 60 ปี
202
17.1
             61 ปีขึ้นไป
126
10.6
รวม
1,184
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
497
42.0
             ปริญญาตรี
564
47.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
123
10.4
รวม
1,184
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
116
9.8
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
510
43.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
231
19.5
             เจ้าของกิจการ
51
4.3
             ทำงานให้ครอบครัว
9
0.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
125
10.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
122
10.3
             ว่างงาน /รอฤดูกาล / รวมกลุ่ม
20
1.7
รวม
1,184
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776