analyticstracking
หัวข้อ   “ มาตรการช้อปช่วยชาติ ประชาชนจะซื้ออะไร?
คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ 54% รับทราบเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ช้อปช่วยชาติ 2561”
63.2% เชื่อจะทำให้คนอยากซื้อสินค้า OTOP มากขึ้น
ส่วนใหญ่ 82.6% สนใจซื้อสินค้า 3 กลุ่มที่อยู่ในมาตรการช้อปช่วยชาติ
โดย 59.0% สนใจซื้อยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์มากที่สุด
53.1% เชื่อจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “มาตรการช้อปช่วยชาติ ประชาชนจะซื้ออะไร?”
โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน
1,181 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.0 รับทราบเกี่ยวกับมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจ “ช้อปช่วยชาติ 2561” ที่ซื้อสินค้าแล้วนำไปลดหย่อนภาษีได้
เฉพาะสินค้า 3 กลุ่ม
ขณะที่ร้อยละ 46.0 ไม่ทราบ
 
                 เมื่อถามว่ามาตรการ ช้อปช่วยชาติ 2561 ในสินค้า 3 กลุ่ม ที่นำไป
ลดหย่อนภาษี จะช่วยกระตุ้นพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของประชาชนได้อย่างไร
ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.2 เห็นว่าจะทำให้อยากซื้อสินค้า OTOP มากขึ้น เพื่อช่วย
กลุ่มชุมชนของจังหวัดต่างๆ
รองลงมา ร้อยละ 27.2 เห็นว่าจะทำให้อยากเปลี่ยน
ยางรถส่วนตัว เพื่อความปลอดภัยในช่วงปีใหม่ และร้อยละ 25.1 เห็นว่าจะทำให้อยากซื้อ
หนังสือ เพื่อให้ลูกให้หลานเป็นของขวัญปีใหม่ ขณะที่ร้อยละ 2.6 เห็นว่าไม่ทำให้
อยากซื้ออะไร
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่า “ท่านสนใจจะซื้อสินค้า 3 กลุ่มที่อยู่ในมาตรการ
ช้อปช่วยชาติหรือไม่” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 82.6 ระบุว่า “สนใจ” โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 59.0 สนใจซื้อ
ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์
รองลงมาร้อยละ 27.8 สนใจซื้อ หนังสือ รวมทั้งอี-บุ๊ก และร้อยละ 16.9 สนใจซื้อสินค้า
OTOP ของดีของแต่ละภาค แต่ละจังหวัด ขณะที่ร้อยละ 17.4 ไม่สนใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่ามาตรการช้อปช่วยชาติ 2561 จะกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีได้มากน้อยเพียงใด
พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.1 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 46.9 จะช่วยกระตุ้น
เศรษฐกิจได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ช้อปช่วยชาติ 2561” ที่ซื้อสินค้า
                  แล้วนำไปลดหย่อนภาษีได้เฉพาะสินค้า 3 กลุ่ม


ประเด็น
ไม่ทราบ (ร้อยละ)
ทราบ
54.0
ไม่ทราบ
46.0
 
 
             2. ข้อคำถาม “คิดว่ามาตรการ ช้อปช่วยชาติ 2561 ในสินค้า 3 กลุ่ม ที่นำไปลดหย่อนภาษี จะช่วย
                  กระตุ้นพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของประชาชนได้อย่างไร” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

                 

 
ร้อยละ
ทำให้อยากซื้อสินค้า OTOP มากขึ้น เพื่อช่วยกลุ่มชุมชนของจังหวัดต่างๆ
63.2
ทำให้อยากเปลี่ยนยางรถส่วนตัว เพื่อความปลอดภัยในช่วงปีใหม่
27.2
ทำให้อยากซื้อหนังสือ เพื่อให้ลูกให้หลานเป็นของขวัญปีใหม่
25.1
ไม่ทำให้อยากซื้ออะไร
2.6
 
 
             3. ข้อคำถาม “ท่านสนใจจะซื้อสินค้า 3 กลุ่มที่อยู่ในมาตรการช้อปช่วยชาติหรือไม่”

 
ร้อยละ
สนใจ
โดย ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 59.0
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) หนังสือ รวมทั้งอี-บุ๊ก ยกเว้นนิตยสารและ นสพ. ร้อยละ 27.8

  สินค้า OTOP ของดีของแต่ละภาค แต่ละจังหวัด ร้อยละ 16.9

82.6
ไม่สนใจ
17.4
 
 
             4. ท่านคิดว่ามาตรการ ช้อปช่วยชาติ 2561 จะกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีได้มากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 49.7 และมากที่สุดร้อยละ 3.4)
53.1
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.2 และน้อยที่สุดร้อยละ 9.7)
46.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช้อปช่วยชาติ 2561 ที่ซื้อสินค้าแล้วนำไป
                      ลดหย่อนภาษีได้เฉพาะสินค้า 3 กลุ่ม
                  2) เพื่อสะท้อนว่ามาตรการช้อปช่วยชาติ 2561 ในสินค้า 3 กลุ่ม ที่นำไปลดหย่อนภาษี จะช่วยกระตุ้น
                      พฤติกรรมในการซื้อสินค้าของประชาชนได้อย่างไร
                  3) เพื่อสะท้อนความาสนใจจะซื้อสินค้า 3 กลุ่มที่อยู่ในมาตรการช้อปช่วยชาติ
                  4) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อมาตรการช้อปช่วยชาติ 2561 จะกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีได้มากน้อยเพียงใด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 15 เขต
จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดินแดง บางกอกน้อย บางกะปิ
บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ และปริมณฑล 3 จังหวัด
ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้น
ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,181 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11 – 14 ธันวาคม 2561
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 ธันวาคม 2561
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
587
49.7
             หญิง
594
50.3
รวม
1,181
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
278
23.4
             31 – 40 ปี
256
21.7
             41 – 50 ปี
224
19.0
             51 – 60 ปี
231
19.6
             61 ปีขึ้นไป
192
16.3
รวม
1,181
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
697
59.0
             ปริญญาตรี
403
34.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
81
6.9
รวม
1,181
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
164
13.9
             ลูกจ้างเอกชน
342
29.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว
346
29.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
59
5.0
             ทำงานให้ครอบครัว
13
1.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
162
13.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
68
5.8
             ว่างงาน
27
2.2
รวม
1,181
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776