analyticstracking
หัวข้อ   “ นับถอยหลัง 35 วัน สู่การเลือกตั้ง
           ประชาชนที่ตัดสินใจแล้ว 9.3% ระบุว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทย รองลงมา 7.5% เลือกพรรคอนาคตใหม่
     และ 7.0% เลือกพรรคพลังประชารัฐ ส่วนใหญ่ 66.2% ยังไม่ตัดสินใจ
            ส่วนประชาชนที่ตัดสินใจแล้ว12.0%ระบุว่าจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
     รองลงมา 8.1 % คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ 6.6% คือ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
     ส่วนใหญ่ 59.4% ยังไม่ตัดสินใจ
            ทั้งนี้ ประชาชน 95.8 % มีความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในครั้งนี้ โดย 58.4% จะพิจารณาจากนโยบาย
     ที่พรรคการเมืองใช้ในการหาเสียง รองลงมา 57.5% พิจารณาจากพรรคที่มีสมาชิกทำงานช่วยเหลือชุมชน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม 2562
เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป กรุงเทพโพลล์โดย
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “นับถอยหลัง
35 วัน สู่การเลือกตั้ง”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,498 คน พบว่า
 
                 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95.8 ระบุว่า ตั้งใจว่า
จะไปเลือกตั้ง
มีเพียงร้อยละ 2.3 เท่านั้นที่ระบุว่า ตั้งใจว่าจะไม่ไป ที่เหลือร้อยละ 1.9
ระบุว่ายังไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองมาบริหารประเทศนั้น
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.4 ระบุว่า ตัดสินจากนโยบายที่พรรคการเมืองใช้
ในการหาเสียง
รองลงมาร้อยละ 57.5 ตัดสินใจจากพรรคที่มีสมาชิกทำงานช่วยเหลือ
ชุมชนแก้ปัญหาชุมชน และร้อยละ 53.3 ตัดสินใจจากพรรคที่มีสมาชิกเป็นคนมีความรู้
ความสามารถวิสัยทัศน์ก้าวไกล
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคใดมาบริหารประเทศ”ประชาชน
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.2 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ
ขณะที่ประชาชนที่ตัดสินใจแล้วร้อยละ 9.3 ระบุว่า จะเลือกพรรค
เพื่อไทย
รองลงมาร้อยละ 7.5 ระบุว่า จะเลือกพรรคอนาคตใหม่ และ ร้อยละ 7.0 ระบุว่าจะเลือกพรรคพลังประชารัฐ
 
                 เมื่อถามต่อว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี” ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ
59.4 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
ขณะที่ประชาชนที่ตัดสินใจแล้วร้อยละ 12.0 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รองลงมาร้อยละ 8.1 ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และร้อยละ 6.6 ระบุว่า นายธนาธร
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มี.ค. 62 ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไป
95.8
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ ร้อยละ 0.8
  เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 0.6
  เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.2
  ไม่เคยไปอยู่แล้ว ร้อยละ 0.2
  ไม่มีใครน่าสนใจ ร้อยละ 0.1
  อื่นๆ ร้อยละ 0.4
2.3
ไม่แน่ใจ
1.9
 
 
             2. ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองมาบริหารประเทศ (เลือกตอบได้มากกว่า ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
นโยบายที่พรรคการเมืองใช้ในการหาเสียง
58.4
พรรคที่มีคนทำงานช่วยเหลือชุมชน แก้ปัญหาชุมชน
57.5
พรรคที่มีคนมีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ก้าวไกล
53.3
พรรคที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริต
39.3
พรรคที่มีคนรุ่นใหม่ไฟแรง
27.5
การเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ของพรรคการเมือง
26.9
พรรคที่มี ส.ส. เก่า เป็นคนในพื้นที่
16.7
เป็นพรรคการเมืองใหญ่
10.9
พรรคที่มีคนดังมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก
6.9
อื่นๆ อาทิ ดูจากผลงานเก่าๆ ที่ผ่านมา ดูจากหัวหน้าพรรค ฯลฯ
7.5
 
 
             3.เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ท่านตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคใดมาบริหารประเทศ”
                 

 
ร้อยละ
ยังไม่ตัดสินใจ
66.2
พรรคเพื่อไทย
9.3
พรรคอนาคตใหม่
7.5
พรรคพลังประชารัฐ
7.0
พรรคประชาธิปัตย์
6.3
พรรคเสรีรวมไทย
1.7
พรรคชาติไทยพัฒนา
0.7
พรรคภูมิใจไทย
0.4
พรรคชาติพัฒนา
0.2
พรรคการเมืองอื่นๆ
0.7
 
 
             4. เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี”
                 

 
ร้อยละ
ยังไม่ตัดสินใจ
59.4
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
12.0
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
8.1
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
6.6
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
6.1
พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
3.3
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
2.3
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
0.5
นางกัญจนา ศิลปอาชา
0.5
นายอนุทิน ชาญวีรกุล
0.2
คน อื่นๆ
1.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562
ปัจจัยที่นำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองต่างๆ ตลอดจนแนวโน้มการเลือกสนับสนุนพรรคการเมือง
และนายกรัฐมนตรีจากพรรคต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 12-13 กุมภาพันธ์ 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 กุมภาพันธ์ 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
771
51.5
             หญิง
727
48.5
รวม
1,498
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
135
9.0
             31 – 40 ปี
286
19.1
             41 – 50 ปี
393
26.2
             51 – 60 ปี
397
26.5
             61 ปีขึ้นไป
287
19.2
รวม
1,498
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
917
61.2
             ปริญญาตรี
462
30.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
119
7.9
รวม
1,498
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
191
12.7
             ลูกจ้างเอกชน
334
22.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
532
35.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
127
8.5
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
273
18.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
1.5
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
15
1.0
รวม
1,498
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776