analyticstracking
หัวข้อ   “ โค้งสุดท้าย ส.ส.แบบไหน คนไทยจะเลือก
                  ประชาชน 96.9% ยืนยันจะออกไปสิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้
55.9 % จะตัดสินจากนโยบายที่ใช้ในการหาเสียง
39.7% จะดูจากความรู้ความสามารถมีวิสัยทัศน์
39.3% ดูจากผลงานในอดีต
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม 2562
เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไปกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์
วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง“โค้งสุดท้ายส.ส.
แบบไหนคนไทยจะเลือก”
โดยเก็บข้อมูลประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,794 คน พบว่า
 
                  ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 96.9 ระบุว่าตั้งใจว่า
จะไปเลือกตั้ง
มีเพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้นที่ระบุว่า ตั้งใจว่าจะไม่ไป ที่เหลือร้อยละ 1.5
ระบุว่ายังไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง/ส.ส. เข้ามา
บริหารประเทศนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.9 ระบุว่าตัดสินจากนโยบายที่ใช้
ในการหาเสียง
รองลงมาร้อยละ 39.7ระบุว่าดูจากความรู้ความสามารถวิสัยทัศน์ก้าวไกล
ร้อยละ 39.3 ระบุว่าดูจากผลงานในอดีต ร้อยละ 38.7 ระบุว่าต้องไม่มีประวัติด่างพร้อย
ด้านการทุจริต และร้อยละ 35.9 ระบุว่าเป็นคนทำงานช่วยเหลือชุมชนแก้ปัญหาชุมชน
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มี.ค. 62 ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไป
96.9
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ ร้อยละ 0.8
  ไม่มีใครน่าสนใจ ร้อยละ 0.2
  เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 0.1
  เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.1
  อื่นๆ ร้อยละ 0.4
1.6
ไม่แน่ใจ
1.5
 
 
             2. ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง/ส.ส. เข้ามาบริหารประเทศ (เลือกตอบได้มากกว่า ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
นโยบายที่ใช้ในการหาเสียง
55.9
มีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ก้าวไกล
39.7
ดูจากผลงานในอดีต
39.3
ไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริต
38.7
ทำงานช่วยเหลือชุมชน แก้ปัญหาชุมชน
35.9
การเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
26.6
คนรุ่นใหม่ไฟแรง
21.3
ส.ส. เก่า เป็นคนในพื้นที่
20.5
พรรคการเมืองใหญ่
10.4
คนดังมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก
4.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562
ปัจจัยที่นำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชน
ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11-12 มีนาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 มีนาคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
929
51.8
             หญิง
865
48.2
รวม
1,794
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
145
8.1
             31 – 40 ปี
320
17.8
             41 – 50 ปี
474
26.4
             51 – 60 ปี
477
26.6
             61 ปีขึ้นไป
378
21.1
รวม
1,794
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,083
60.4
             ปริญญาตรี
562
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
149
8.3
รวม
1,794
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
232
12.9
             ลูกจ้างเอกชน
403
22.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
662
36.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
128
7.1
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
322
18.0
             นักเรียน/ นักศึกษา
22
1.2
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
24
1.3
รวม
1,794
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776