analyticstracking
หัวข้อ   “ ความสุขคนไทย....สะท้อนสู่รัฐบาลใหม่ ปี 2562
                  คนไทยให้คะแนนความพึงพอใจการจัดการเลือกตั้งที่ผ่านมา 5.06 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน
         ส่วนความพึงพอใจต่อการเตรียมจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองต่างๆได้ 4.73 คะแนน
                  ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลชุดใหม่ มีนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการรักษาสุขภาพมีสวัสดิการสุขภาพที่มี
        คุณภาพและเท่าเทียมกันจะทำให้คนไทยมีความสุข 8.09 จากเต็ม 10
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง“ความสุขคนไทย....สะท้อนสู่รัฐบาลใหม่ ปี 2562”โดยเก็บข้อมูล
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,186 คนพบว่า
 
                 คนไทยให้คะแนนความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง 2562
ที่ผ่านมา 5.06 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ให้คะแนนความพึงพอใจต่อการ
เตรียมจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองต่างๆ (เปิดประชุมสภาฯ การจัดตั้งรัฐบาล/ฝ่ายค้าน)
4.73 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
 
                 เมื่อให้คนไทยวัดระดับความสุขของตัวเอง หากรัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ
นโยบายต่างๆ พบว่า ถ้ามีการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการรักษาสุขภาพ
มีสวัสดิการสุขภาพที่มีคุณภาพและเท่าเทียมกันจะทำให้คนไทยมีความสุข 8.09 จากเต็ม
10 รองลงมา คือ นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการศึกษาลดค่าใช้จ่าย
ทางการศึกษา และนโยบายการจัดกิจกรรมให้คนไทยร่วมรักชาติ จรรโลงสังคมและ
วัฒนธรรมจะทำให้คนไทยมีความสุข 7.68 เท่ากัน และนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคง
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะทำให้คนไทยมีความสุข 7.59 จากเต็ม 10
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ประเมินความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ต่อไปนี้
                 
                 
 
ร้อยละ
ความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง 2562 ที่ผ่านมา
5.06
ความพึงพอใจต่อการเตรียมจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองต่างๆ
(เปิดประชุมสภาฯ การจัดตั้งรัฐบาล/ฝ่ายค้าน)
4.73
 
 
             2. วัดระดับความสุขของประชาชนหากรัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการนโยบายต่างๆต่อไปนี้
                 
                 
 
ร้อยละ
ส่งเสริมการรักษาสุขภาพ มีสวัสดิการสุขภาพที่มีคุณภาพและเท่าเทียม
8.09
ส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการศึกษา ลดค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
7.68
จัดกิจกรรมให้คนไทยร่วมรักชาติ จรรโลงสังคมและวัฒนธรรม
7.68
ความมั่นคง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
7.59
รณรงค์/ต่อต้านมลภาวะ ฝุ่น ควันพิษ ความสะอาด
7.58
มีความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษต่างๆ
7.52
มีการสร้างงาน/ส่งเสริมอาชีพ/สร้างความมั่นคงในการทำงาน
7.17
ลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (ค่าสาธารณูปโภค ขนส่งสาธารณะ)
7.13
มีมาตรการทางภาษี/ลดหย่อนภาษี ช่วยเหลือผู้มีภาระ
6.58
ยกระดับรายได้ ให้ประชาชนระดับฐานราก เพื่อลดช่องว่างของผู้มีรายได้เยอะกับผู้มีรายได้น้อย
6.26
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ
ในช่วงนี้ รวมถึงนโยบายที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขหากรัฐบาลชุดใหม่มีการดำเนินการ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิด
เห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 28-29 พฤษภาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 มิถุนายน 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
589
49.7
             หญิง
597
50.3
รวม
1,186
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
117
9.9
             31 – 40 ปี
228
19.2
             41 – 50 ปี
322
27.2
             51 – 60 ปี
311
26.2
             61 ปีขึ้นไป
208
17.5
รวม
1,186
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
702
59.2
             ปริญญาตรี
371
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
113
9.5
รวม
1,186
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
168
14.2
             ลูกจ้างเอกชน
295
24.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
440
37.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
58
4.9
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
184
15.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
19
1.6
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
20
1.7
รวม
1,186
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776