analyticstracking
หัวข้อ   “ มุมมองประชาชนต่อความท้าทายที่รัฐบาลใหม่ต้องเผชิญ
ประชาชนส่วนใหญ่ 65.6% เห็นว่ารัฐบาลใหม่จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
64.1% เห็นว่ารัฐบาลจะเผชิญกับความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล การจัดสรรตำแหน่ง โควตารัฐมนตรี
ส่วนใหญ่ 59.6 % อยากให้สานต่อนโยบายแบบไร้รอยต่อด้านการช่วยเหลือผู้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
และ 53.1% วอนรัฐบาลรีบดำเนินการนโยบายเพิ่มรายได้ประเทศ เพิ่มรายได้ประชาชน ตามที่ได้หาเสียงไว้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “มุมมองประชาชนต่อความท้าทายที่รัฐบาลใหม่ต้อง
เผชิญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,196 คน
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.6 เห็นว่ารัฐบาลใหม่จากการผสมกว่า 19
พรรคการเมือง จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่
ร้อยละ 34.4 เห็นว่า จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  สำหรับสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะเผชิญกับความท้าทายด้านเสถียรภาพ
ทางการเมืองมากที่สุดคือ ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล การจัดสรรตำแหน่ง
โควตารัฐมนตรี คิดเป็นร้อยละ 64.1
รองลงมาคือ กระแสข่าวโจมตีรัฐบาล คิดเป็น
ร้อยละ 43.8 และจำนวนเสียงที่ใกล้เคียงกันระหว่าง ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
คิดเป็นร้อยละ 41.6
 
                  ส่วนนโยบายที่รัฐบาลใหม่ควรเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศและแก้
ปัญหาต่างๆ สานต่อจากที่ค้างคาไว้ในอดีต แบบไร้รอยต่อพบว่า อันดับแรกคือ
ช่วยเหลือผู้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม คิดเป็นร้อยละ 59.6
รองลงมา
คือ ปฏิรูปเศรษฐกิจ การลงทุน ที่มีนวัตกรรมและการวิจัย คิดเป็นร้อยละ 58.1 และต่อต้าน
การทุจริตคอร์รัปชั่น คิดเป็นร้อยละ 44.7
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่านโยบายหาเสียงของฝ่ายรัฐบาลที่อยากให้รีบดำเนิ นการมากที่สุดคือ เพิ่มรายได้
ประเทศ เพิ่มรายได้ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 53.1
รองลงมาคือ ทวงคืนกำไรให้ชาวสวน ชาวนา คิดเป็นร้อยละ 51.5
และเศรษฐกิจประชารัฐ คิดเป็นร้อยละ 45.3
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อรัฐบาลใหม่จากการผสมกว่า 19 พรรคการเมือง จะมีเสถียรภาพและความมั่นคง
                  มากน้อยเพียงใด


 
ร้อยละ
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 41.2 และน้อยที่สุดร้อยละ 24.4)
65.6
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 29.7 และมากที่สุดร้อยละ 4.7)
34.4
 
 
             2. สิ่งที่รัฐบาลใหม่จะเผชิญกับความท้าทายด้านเสถียรภาพทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล การจัดสรรตำแหน่ง โควต้ารัฐมนตรี
64.1
กระแสข่าวโจมตีรัฐบาล
43.8
จำนวนเสียงที่ใกล้เคียงกันระหว่าง ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
41.6
ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ
38.7
การชุมนุมประท้วง ภายหลังปลดล็อค ม.44
35.5
 
 
             3. นโยบายที่รัฐบาลใหม่ควรเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ สานต่อจากที่ค้างคาไว้ในอดีต
                  แบบไร้รอยต่อ 5 อันดับแรก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

                 

 
ร้อยละ
ช่วยเหลือผู้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
59.6
ปฏิรูปเศรษฐกิจ การลงทุน ที่มีนวัตกรรมและการวิจัย
58.1
ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
44.7
ช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย พัฒนาคืนความสุขให้ประชาชน
28.6
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง รถไฟความเร็วสูง
22.1
 
 
             4. นโยบายหาเสียงของฝ่ายรัฐบาลที่อยากให้รีบดำเนินการมากที่สุด 5 อันดับแรก
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

                 

 
ร้อยละ
เพิ่มรายได้ประเทศ เพิ่มรายได้ประชาชน
53.1
ทวงคืนกำไรให้ชาวสวน ชาวนา
51.5
เศรษฐกิจประชารัฐ
45.3
สังคมประชารัฐ
38.1
สวัสดิการประชารัฐ
25.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนเห็นต่อรัฐบาลใหม่จากการผสมกว่า 19 พรรคการเมือง จะมีเสถียรภาพและความมั่นคง
                       มากน้อยเพียงใด
                  2) เพื่อสะท้อนถึงสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะเผชิญกับความท้าทายด้านเสถียรภาพทางการเมือง
                  3) เพื่อสะท้อนถึงนโยบายที่รัฐบาลใหม่ควรเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ สานต่อจาก
                       ที่ค้างคาไว้ในอดีต แบบไร้รอยต่อ
                  4) เพื่อสะท้อนถึงนโยบายหาเสียงของฝ่ายรัฐบาลที่อยากให้รีบดำเนินการมากที่สุด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธี
การถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11-13 มิถุนายน 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 มิถุนายน 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
640
53.5
             หญิง
556
46.5
รวม
1,196
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
126
10.5
             31 – 40 ปี
210
17.6
             41 – 50 ปี
309
25.8
             51 – 60 ปี
320
26.8
             61 ปีขึ้นไป
231
19.3
รวม
1,196
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
714
59.7
             ปริญญาตรี
369
30.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
113
9.4
รวม
1,196
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
147
12.3
             ลูกจ้างเอกชน
274
22.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
440
36.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
65
5.4
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
213
17.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
35
2.9
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
21
1.8
รวม
1,196
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776