analyticstracking
หัวข้อ   “ ถอดบทเรียนวิกฤตน้ำท่วม 62
ประชาชน 80.7% เห็นปรากฏการณ์ความสามัคคี การช่วยเหลือกัน การบริจาคของคนในสังคม
และ 63.7% เห็นวีรบุรุษ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
ส่วนใหญ่ 69.8% กังวลปัญหาการทำกิน รายได้ของชาวบ้านหลังน้ำลด และ 52.6% กังวลงบเยียวยาไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืม
68.7% อยากให้ภาครัฐเตรียมมาตรการเข้าถึงประชาชนและความรวดเร็วด้านความช่วยเหลือให้ดีกว่านี้หากเกิดเหตุในอนาคต
ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของภาครัฐในการบริหารจัดการวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น 5.61 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน
โดยให้คะแนนการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ประสบภัยมากที่สุด 5.81 คะแนน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ถอดบทเรียนวิกฤตน้ำท่วม 62” โดยเก็บข้อมูลกับ
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,189 คน พบว่า ในภาพรวม
ประชาชนให้คะแนนการบริหารจัดการของภาครัฐต่อวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเฉลี่ย
5.61 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน โดยให้คะแนนการสื่อสารทำความเข้าใจกับ
ผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือน้ำท่วมมากที่สุด 5.81 คะแนน ขณะที่การจัดสรรงบ
การใช้เงินบริจาคที่ได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้คะแนนน้อยที่สุด
5.45 คะแนน
 
                 เมื่อถามว่าเห็นปรากฏการณ์อะไรจากวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น ในพื้นที่
ประสบภัย ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.7 เห็นว่าสถานการณ์สร้างความสามัคคี การช่วย
เหลือกัน การบริจาคของคนในสังคม
รองลงมาร้อยละ 63.7 เห็นว่าสถานการณ์สร้าง
วีรบุรุษ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ และร้อยละ 20.0 เห็นว่ามีการแสวงหาผลประโยชน์ คอร์รัปชั่น
จากเหตุการณ์น้ำท่วม
 
                  สำหรับปัญหาที่จะเกิด หลังจากน้ำลดในพื้นที่น้ำท่วมพบว่า ส่วนใหญ่
ร้อยละ 69.8 เห็นว่าจะเกิดปัญหาการทำกิน รายได้ของชาวบ้าน
รองลงมาร้อยละ
52.6 เห็นว่า งบประมาณในการเยียวยา ฟื้นฟู ไม่เพียงพอ ผู้ประสบภัยต้องกู้เงินเพิ่ม และ
ร้อยละ 50.6 เห็นว่า สินค้าแพงขึ้น มีการโก่งราคาพวกวัสดุก่อสร้าง
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าภาครัฐควรหามาตรการความพร้อมอย่างไร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในปีต่อไป
จากบทเรียนน้ำท่วมในปีนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 เห็นว่าเป็นเรื่องการเข้าถึงประชาชนและความรวดเร็ว
ด้านความช่วยเหลือ
รองลงมาคือ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ เตรียมการระบายน้ำ คิดเป็นร้อยละ 64.8 และการยกระดับ
การแจ้งเตือนภัย การรับรู้ให้แก่ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 55.7
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการบริหารจัดการของภาครัฐต่อวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็น
คะแนนเฉลี่ยเต็ม 10
การสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือน้ำท่วม
5.81
ความเอาใจใส่ในการลงพื้นที่ของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
5.76
การมีแผนงานและการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เห็นเป็นรูปธรรม
5.58
ความชัดเจนของมาตรการเยียวยาในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
5.46
การจัดสรรงบ การใช้เงินบริจาคที่ได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
5.45
เฉลี่ยรวม
5.61
 
 
             2. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตน้ำท่วม ในพื้นที่ประสบภัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
สถานการณ์สร้างความสามัคคี การช่วยเหลือกัน การบริจาคของคนในสังคม
80.7
สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
63.7
การแสวงหาผลประโยชน์ คอร์รัปชั่น จากเหตุการณ์น้ำท่วม
20.0
การสร้างความนิยม เพื่อหวังผลทางการเมือง
18.9
อื่นๆ อาทิเช่น นักการเมืองแตกความสามัคคี ความล่าช้าในการช่วยเหลือของภาครัฐ
0.7
 
 
             3. ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่จะเกิด หลังจากน้ำลดในพื้นที่น้ำท่วม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
ปัญหาการทำกิน รายได้ของชาวบ้าน
69.8
งบประมาณในการเยียวยา ฟื้นฟู ไม่เพียงพอ ผู้ประสบภัยต้องกู้เงินเพิ่ม
52.6
สินค้าแพงขึ้น มีการโก่งราคาพวกวัสดุก่อสร้าง
50.6
เศรษฐกิจตกต่ำ
46.4
พื้นที่ท่องเที่ยวเสียหาย ส่งผลต่อการท่องเที่ยว
36.5
อื่นๆ อาทิเช่น ปัญหาโรคต่างๆหลังน้ำท่วม
1.8
 
 
             4. ภาครัฐควรหามาตรการความพร้อมอย่างไร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต จากบทเรียนน้ำท่วมในปีนี้
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

                 

 
ร้อยละ
การเข้าถึงประชาชนและความรวดเร็วด้านความช่วยเหลือ
68.7
การบริหารจัดการน้ำ เตรียมการระบายน้ำ
64.8
การยกระดับการแจ้งเตือนภัย การรับรู้ให้แก่ประชาชน
55.7
การเตรียมรับมือ อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ให้ทันท่วงที
50.8
การเตรียมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย
42.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนการทำหน้าที่ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
                  2) เพื่อสะท้อนปัญหาที่จะเกิด หลังจากน้ำลดในพื้นที่น้ำท่วม
                  3) เพื่อสะท้อนถึงภาครัฐควรหามาตรการความพร้อมอย่างไร เพื่อป้องกันน้ำท่วมในปีต่อไปจากบทเรียนน้ำท่วม
                       ในปีนี้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธี
การถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 24-26 กันยายน 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 กันยายน 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
612
51.5
             หญิง
577
48.5
รวม
1,189
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
101
8.5
             31 – 40 ปี
238
20.0
             41 – 50 ปี
322
27.1
             51 – 60 ปี
300
25.2
             61 ปีขึ้นไป
228
19.2
รวม
1,189
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
728
61.3
             ปริญญาตรี
363
30.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
98
8.2
รวม
1,189
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
158
13.3
             ลูกจ้างเอกชน
248
20.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
460
38.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
57
4.8
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
220
18.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
20
1.7
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
25
2.1
รวม
1,189
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776