analyticstracking
หัวข้อ   “ ความเห็นของประชาชนต่อมาตรการ ชิม ช้อป ใช้
คนไทย 1 ใน 3 ได้เข้าร่วมลงทะเบียนมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ 64.5% ลงทะเบียนสำเร็จ
ผู้ลงทะเบียนเลือกใช้เงินมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ในภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคเหนือ ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน
โดยส่วนใหญ่ 52.2% เลือกเพราะเป็นจังหวัดที่ใกล้ที่อยู่อาศัย
71.4% จะนำเงินที่ได้ไปซื้อของใช้ภายในบ้าน
65.6% ชี้มาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ช่วยให้ใช้เงินได้คล่องตัวขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในการพาครอบครัวไปเที่ยวกิน ช้อป
ส่วนใหญ่ 55.7% รอการขยายเวลาและเพิ่มจำนวนผู้ลงทะเบียน มาตรการ ชิม ช้อป ใช้
ส่วนใหญ่ 50.4% เห็นด้วยหากภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แบบนี้อีกในปีหน้า
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 หลังจากมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ มีผู้ลงทะเบียนครบจำนวนตาม
เป้าหมาย กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเห็นของประชาชนต่อมาตรการ ชิม ช้อป
ใช้” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,184 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.3 ไม่ได้เข้าร่วมลงทะเบียนมาตรการ ชิม ช้อป ใช้
ขณะที่ร้อยละ 34.7 ได้เข้าร่วมลงทะเบียน
 
                  ประชาชนที่เข้าร่วมลงทะเบียนมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ส่วนใหญ่
ร้อยละ 64.5 สามารถลงทะเบียนได้
ขณะที่ร้อยละ 35.5 ไม่สามารถลงทะเบียนได้
โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 14.7 ให้เหตุผลว่าต้องรอคิว รองลงมาร้อยละ 13.0 ให้เหตุผลว่า
ครบ 1 ล้านคนต่อวันแล้ว และร้อยละ 9.5 ลงแล้วไม่ผ่านเกณฑ์
 
                  โดยผู้ที่สามารถลงทะเบียนได้เลือกใช้เงินในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 17.7
รองลงมาคือภาคกลางคิดเป็นร้อยละ 16.2
และภาคเหนือคิดเป็นร้อยละ 15.5 โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลที่เลือกจังหวัดไปใช้เงิน
มาตรการ ชิม ช้อป ใช้คือ เป็นจังหวัดที่ใกล้ที่อยู่อาศัยคิดเป็นร้อยละ 52.2

รองลงมาคือ เป็นจังหวัดที่อยากไปท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 22.6 และเป็นจังหวัดที่
ทำงานอยู่คิดเป็นร้อยละ 18.5
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่าจะนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายในเรื่องใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.4 จะนำไปซื้อของใช้
ภายในบ้าน
รองลงมาร้อยละ 50.8 จะนำไปซื้อของกิน ไปใช้ในร้านอาหาร และร้อยละ 10.3 จะนำไปใช้เป็นค่าโรงแรม
ค่าที่พัก
 
                  เมื่อถามความเห็นต่อมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ทำให้ตัวท่านและครอบครัวสามารถไปเที่ยว ไปกิน
ไปช้อป ใช้เงินได้คล่องตัวขึ้นมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.6 เห็นว่าช่วยให้ใช้เงินได้คล่องตัวขึ้น
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 34.4 เห็นว่าค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามว่า “อยากให้ภาครัฐมีการขยายเวลาและเพิ่มจำนวนผู้ลงทะเบียน มาตรการ ชิม ช้อป ใช้
หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.7 อยากให้เพิ่มเพราะจะได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
ขณะที่ร้อยละ 44.3
ไม่อยากให้เพิ่มเพราะคิดว่าไม่ช่วยอะไรเปลืองภาษีประชาชน
 
                  ส่วนความเห็นต่อมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ช่วงปลายปี
ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.1 เห็นว่าจะช่วยกระตุ้นได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 46.9
เห็นว่าจะช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่หากภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แบบนี้อีกในปีหน้า”
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.4 เห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 40.2 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 9.4 ไม่แน่ใจ
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การเข้าร่วมลงทะเบียนมาตรการ ชิม ช้อป ใช้

ประเด็น
ร้อยละ
ไม่ได้เข้าร่วมลงทะเบียน
65.3
ได้เข้าร่วมลงทะเบียน
34.7
 
 
             2. ข้อคำถาม “ลงทะเบียนมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ได้หรือไม่” (ถามเฉพาะผู้เข้าร่วมลงทะเบียน)
                 

 
ร้อยละ
ลงทะเบียนได้
64.5
ลงทะเบียนไม่ได้
เพราะ ต้องรอคิว ร้อยละ 14.7
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ครบ 1 ล้านคนต่อวันแล้ว ร้อยละ 13.0
  ลงแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 9.5
35.5
 
 
             3. ภูมิภาคที่ลงทะเบียนใช้เงินมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนได้)
                 

 
ร้อยละ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
17.7
ภาคกลาง
16.2
ภาคเหนือ
15.5
ภาคตะวันออก
14.8
กรุงเทพมหานคร
13.1
ภาคใต้
12.7
ปริมณฑล
10.0
 
 
             4. เหตุผลที่เลือกจังหวัดไปใช้เงินมาตรการ ชิม ช้อป ใช้
                  (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนได้)

                 

 
ร้อยละ
เป็นจังหวัดที่ใกล้ที่อยู่อาศัย
52.2
เป็นจังหวัดที่อยากไปท่องเที่ยว
22.6
เป็นจังหวัดที่ทำงานอยู่
18.5
เป็นจังหวัดบ้านเกิด
5.5
อื่นๆระบุ เป็นจังหวัดญาติ คนรู้จัก แฟน เพื่อน
1.2
 
 
             5. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าจะนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายในเรื่องใด”
                  (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนได้)

                 

 
ร้อยละ
นำไปซื้อของใช้ภายในบ้าน
71.4
นำไปซื้อของกิน ใช้ในร้านอาหาร
50.8
นำไปใช้เป็นค่าโรงแรม ค่าที่พัก
10.3
นำไปซื้อเครื่องแต่งกายเสื้อผ้า รองเท้า
3.1
 
 
             6. ความเห็นต่อมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ทำให้ตัวท่านและครอบครัวสามารถไปเที่ยว ไปกิน ไปช้อป
                  ใช้เงินได้คล่องตัวขึ้นมากน้อยเพียงใด (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนได้)

                 

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 58.0 และมากที่สุดร้อยละ 7.6)
65.6
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 29.2 และน้อยที่สุดร้อยละ 5.2)
34.4
 
 
             7. ข้อคำถาม “อยากให้ภาครัฐมีการขยายเวลา และเพิ่มจำนวนผู้ลงทะเบียน มาตรการชิม ช้อป ใช้
                  หรือไม่”


ประเด็น
ร้อยละ
อยากให้เพิ่มเพราะจะได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
55.7
ไม่อยากให้เพิ่ม เพราะคิดว่าไม่ช่วยอะไรเปลืองภาษีประชาชน
44.3
 
 
             8. ความเห็นต่อมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว
                  ช่วงปลายปีได้มากน้อยเพียงใด

                 

 
ร้อยละ
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 16.1)
53.1
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 41.8 และมากที่สุดร้อยละ 5.1)
46.9
 
 
             9. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่หากภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แบบนี้อีกในปีหน้า”

ประเด็น
ร้อยละ
เห็นด้วย
50.4
ไม่เห็นด้วย
40.2
ไม่แน่ใจ
9.4
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนการเข้าร่วมมาตรการชิม ช้อป ใช้ ของประชาชน
                  2) เพื่อต้องการทราบถึงการใช้จ่ายหลังการเข้าร่วมมาตรการ ชิม ช้อป ใช้
                  3) เพื่อสะท้อนถึงมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ช่วงปลายปีได้เพียงใด
                  4) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้อีกในปีหน้า
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธี
การถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5-7 ตุลาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 ตุลาคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
559
47.2
             หญิง
625
52.8
รวม
1,184
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
116
9.8
             31 – 40 ปี
225
19.0
             41 – 50 ปี
324
27.3
             51 – 60 ปี
299
25.3
             61 ปีขึ้นไป
220
18.6
รวม
1,184
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
719
60.7
             ปริญญาตรี
346
29.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
119
10.1
รวม
1,184
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776