analyticstracking
หัวข้อ   “ คนกรุงพร้อมใช้? ... รถเมล์ไร้เงินสด
                คนกรุงส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 รับทราบเรื่องที่ ขสมก. เริ่มรับชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด”
     เต็มรูปแบบ จากข่าวผ่านสื่อหลักและสื่อโซเชียล โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 89.3 ยังคงชำระค่าโดยสารรถเมล์
     ของ ขสมก. ด้วย เงินสด โดยมีเพียงร้อยละ 5.0 ชำระด้วยบัตรโดยสารล่วงหน้า อิเล็กทรอนิกส์
                ทั้งนี้ร้อยละ 61.1 เห็นว่าการจ่ายเงินค่าโดยสารรถเมล์แบบไร้เงินสดสะดวกดี ไม่ต้องพกเหรียญ
     /หาเหรียญไว้จ่ายค่ารถ แต่ยังคงกังวลเรื่องระบบล่ม/สัญญาณมีปัญหาขณะเก็บเงิน และเห็นควร
     จะประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์จากการชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด” เพื่อจูงใจประชาชน
      และร้อยละ 74.4 ระบุว่าอนาคตกระเป๋ารถเมล์ ยังมีความจำเป็น สำหรับสังคมไทย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น ประชาชน เรื่อง “คนกรุงพร้อมใช้?... รถเมล์ไร้เงินสด” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน ที่ใช้บริการรถ ขสมก. ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,176 คน พบว่า
 
                 จากการเริ่มใช้ รถเมล์ไร้เงินสด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ประชาชน
ที่ใช้บริการ รถ ขสมก. ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 ทราบเรื่องที่ ขสมก. เริ่มรับชำระ
ค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด” เต็มรูปแบบและทุกคัน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.6
ระบุว่าทราบจากข่าวผ่านสื่อหลักและสื่อโซเชียล
รองลงมาร้อยละ 31.7 ระบุว่าทราบ
จากกระเป๋ารถเมล์และคนขับรถ ขสมก. และ ร้อยละ 23.9 ระบุว่า ทราบจากคลิป ประชาสัมพันธ์การชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด” ของ ขสมก.
 
                 ทั้งนี้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ร้อยละ 89.3 ระบุว่า ชำระค่าโดยสารรถเมล์
ของ ขสมก. ด้วย เงินสด
รองลงมาร้อยละ 6.9 ชำระด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ
ร้อยละ 5.0 ชำระด้วยบัตรโดยสารล่วงหน้า อิเล็กทรอนิกส์ โดยร้อยละ 1.4 ใช้บัตร
E –Ticket ของ ขสมก. แบบ 50 บาท
 
                  ส่วนความเห็นที่มีต่อการจ่ายเงินค่าโดยสารรถเมล์แบบไร้เงินสด
ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.1 ระบุว่าสะดวกดี ไม่ต้องพกเหรียญ/หาเหรียญไว้จ่ายค่ารถ

รองลงมาร้อยละ 39.0 ระบุว่าจะได้ไม่ต้องมีเงินทอน(จ่ายแบงค์ ทอนเป็นเหรียญ) และ
ร้อยละ 37.8 ระบุว่า ทันสมัยเหมาะกับยุคสมัย
 
                 สำหรับสิ่งที่ห่วง/กังวล จากการชำระค่าโดยสารรถเมล์แบบ “ไร้เงินสด” เต็มรูปแบบ มากที่สุดนั้น
ส่วนใหญ่ร้อยละ 31.1 กังวลเรื่อง ระบบล่ม/สัญญาณมีปัญหาขณะเก็บเงิน
รองลงมาร้อยละ 27.5 กังวลว่า คนยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการใช้งาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และร้อยละ 12.6 กังวลว่าจะเกิดความวุ่นวายตรงป้ายรถเมล์ที่มีคนขึ้นเยอะ
 
                 เมื่อถามว่า “ขสมก. ควรทำอย่างไรเพื่อเป็นการจูงใจ ให้คนหันมา ชำระค่าโดยสารแบบ ไร้เงินสด”
พบว่า ร้อยละ 36.8 ควรจะประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์จากการชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด”
รองลงมา ร้อยละ
28.6 ควรจัดโปรโมชั่นลดราคาค่าโดยสารเมื่อจ่ายผ่าน E –Ticket รูปแบบต่างๆ และร้อยละ 17.5 ควรจะสามารถใช้บัตร
ทำธุรกรรมเรื่องอื่นๆได้
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “อนาคตพนักงานเก็บเงิน/กระเป๋ารถเมล์ ยังคงมีความจำเป็นหรือไม่ สำหรับ
สังคมไทย” พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.4 ระบุว่า “จำเป็น”
(เพราะคอยให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก
แก่ผู้โดยสาร ดูแลความปลอดภัยให้ผู้โดยสารขณะขึ้น-ลงรถ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็ก และคนพิการ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เส้นทางเดินรถ ซึ่งเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีทำไม่ได้ เป็นต้น) ขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุว่า “ไม่จำเป็น” (เพราะ มีเครื่อง
scan แล้ว มีป้ายอัตโนมัติบอกแล้ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ มารองรับแล้ว ควรให้ระบบทำงานแทนคน ต่างประเทศก็ไม่มีแล้ว
เราควรปรับให้ทันโลก เป็นต้น)
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบเรื่องที่ ขสมก. เริ่มรับชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด” เต็มรูปแบบและทุกคัน
                 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
ทราบ
โดยทราบจาก....
  -จากข่าวผ่านสื่อหลักและสื่อโซเชียล ร้อยละ 51.6
  -จากกระเป๋ารถเมล์และคนขับรถ ขสมก. ร้อยละ 31.7
  -คลิปประชาสัมพันธ์การชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด”
  ของ ขสมก.
ร้อยละ 23.9
  -การประชาสัมพันธ์ตามป้ายรถเมล์ใหญ่ๆ ร้อยละ 13.4
  -ทราบจากเพื่อน ญาติ คนรู้จัก ร้อยละ 11.8
  -จาก facebook และ เว็บไซต์ ของ ขสมก. ร้อยละ 7.4
  -อื่นๆ อาทิ ผู้โดยสารคุยกันบนรถเมล์ ฯลฯ ร้อยละ 8.5
51.7
ไม่ทราบ
48.3
 
 
             2. ปัจจุบันชำระค่าโดยสาร รถเมล์ ของ ขสมก. ด้วยวิธี.... (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
                 

 
ร้อยละ
เงินสด
89.3
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
6.9
บัตรโดยสารล่วงหน้า อิเล็กทรอนิกส์
5.0
บัตร E –Ticket ของ ขสมก. แบบ 50 บาท
1.4
QR code บนแอพพลิเคชั่นของธนาคาร
1.0
บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
0.5
บัตรโดยสาร อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียน
0.5
อื่นๆ อาทิ ตั๋วรายเดือน ตั๋วรายสัปดาห์ ฯลฯ
2.2
 
 
             3. ความเห็นต่อการจ่ายเงินค่าโดยสารรถเมล์แบบไร้เงินสด (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
                 

 
ร้อยละ
สะดวกดี ไม่ต้องพกเหรียญ/หาเหรียญไว้จ่ายค่ารถ
61.1
จะได้ไม่ต้องมีเงินทอน(จ่ายแบงค์ ทอนเป็นเหรียญ)
39.0
ทันสมัยเหมาะกับยุคสมัย
37.8
บัตร E-Ticket ควรปรับใช้ได้กับ บริการรถสาธารณะทุกประเภท
32.6
ยุ่งยาก ต้องซื้อบัตร/ จำยอดเงินและคอยเติมเงิน
30.7
ใช้บริการได้แต่รถ ขสมก. รถร่วมเอกชนใช้ไม่ได้
25.7
อื่นๆ อาทิ เหมาะกับคนที่ใช้บริการรถ ขสมก. เป็นประจำ ฯลฯ
0.9
 
 
             4. สิ่งที่ห่วง/กังวล จากการ ชำระค่าโดยสารรถเมล์แบบ “ไร้เงินสด” เต็มรูปแบบ มากที่สุด คือ
                 

 
ร้อยละ
ระบบล่ม/สัญญาณมีปัญหาขณะเก็บเงิน
31.1
คนยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการใช้งาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
27.5
เกิดความวุ่นวายตรง ป้ายรถเมล์ที่มีคนขึ้นเยอะ
12.6
เงินในบัตรหมดแต่ไม่รู้ก็จะชำระค่าโดยสารไม่ได้
9.6
ใช้ได้แต่รถของ ขสมก. เท่านั้น รถอื่นใช้ไม่ได้
5.5
ไม่มีหลักฐานการชำระเงิน จะเกิดปัญหาจ่ายแล้ว หรือยังไม่จ่าย
4.8
ต้องปรับวัฒนธรรมการขึ้น-ลง รถเมล์กันใหม่ (ขึ้นข้างหน้า ลงตรงกลาง)
4.7
กระเป๋ารถเมล์อาจเก็บเงินไม่ทัน
3.2
อื่นๆ อาทิ ไม่มั่นใจว่าเติมเงินแล้วเงินจะเข้าไหม ที่จำหน่ายบัตรน้อย ฯลฯ
1.0
 
 
             5. เมื่อถามว่า“ขสมก. ควรทำอย่างไรเพื่อเป็นการจูงใจ ให้คนหันมาชำระค่าโดยสารแบบ ไร้เงินสด”พบว่า
                 

 
ร้อยละ
ประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์จากการชำระค่าโดยสารแบบ “ไร้เงินสด”
36.8
จัดโปรโมชั่นลดราคาค่าโดยสารเมื่อจ่ายผ่าน E –Ticket รูปแบบต่างๆ
28.6
สามารถใช้บัตรทำธุรกรรมเรื่องอื่นๆได้
17.5
ลดราคา E –Ticket ของ ขสมก. ให้ถูกกว่า 50 บาท
11.7
แจกของแถม/สะสมแต้มในช่วงแรก
2.7
อื่นๆ อาทิ สามารถใช้กับรถร่วมบริการได้ ขึ้นฟรีครั้งแรก บังคับให้ใช้บัตร ขสมก. เพียงอย่างเดียว ฯลฯ
2.7
 
 
             6. เมื่อถามว่า “อนาคตพนักงานเก็บเงิน/กระเป๋ารถเมล์ ยังคงมีความจำเป็นหรือไม่ สำหรับสังคมไทย”
                 

 
ร้อยละ
จำเป็น
โดยให้เหตุผลว่า
  -ให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ดูแลความปลอดภัย
  ให้ผู้โดยสารขณะขึ้น-ลงรถ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็ก และคนพิการ
  - เพื่อสอบถามเส้นทาง, ไว้กรณีฉุกเฉิน
  -แจ้งค่าโดยสาร และตรวจสอบการชำระเงินค่าโดยสาร ป้องกันการโกงค่าโดยสาร
  - เครื่อง scan บัตรบางครั้งเกิดปัญหา พนักงานเก็บตั๋วน่าจะดีกว่า
  - คนไทยยังมีระเบียบวินัยน้อยอยู่
  - จะทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้น
74.4
จำเป็น
โดยให้เหตุผลว่า
  -มีเครื่อง scan แล้ว มีป้ายอัตโนมัติบอกแล้ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ มารองรับแล้ว
  ควรให้ระบบทำงานแทนคน
  - ต่างประเทศก็ไม่มีแล้ว เราควรปรับให้ทันโลก
  - สร้างความรำคาญให้ผู้โดยสารเป็นบางครั้ง บางคนพูดจาไม่ดี
  - ลดค่าใช้จ่ายรัฐบาลในการจ้างพนักงาน
25.6
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการรถ ขสมก. ในกรุงเทพฯและปริมณฑล เกี่ยวกับการ
ชำระค่าโดยสาร รถ ขสมก. แบบ “ไร้เงินสด” เต็มรูปแบบ ในประเด็นต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของ
ประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกสาขาอาชีพที่ที่ใช้บริการรถ ขสมก. ในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ แบ่งพื้นที่การเก็บข้อ
มูลออกเป็น เขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน
บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี สวนหลวง สาทร และจังหวัดปริมณฑล
3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,176 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.7 และเพศหญิงร้อยละ 52.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11- 16 ตุลาคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 ตุลาคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
561
47.7
             หญิง
615
52.3
รวม
1,176
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
307
26.1
             31 – 40 ปี
229
19.5
             41 – 50 ปี
233
19.8
             51 – 60 ปี
228
19.4
             61 ปีขึ้นไป
179
15.2
รวม
1,176
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
686
58.3
             ปริญญาตรี
421
35.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
69
5.9
รวม
1,176
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
132
11.2
             ลูกจ้างเอกชน
376
32.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
305
25.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
13
1.1
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
145
12.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
174
14.8
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
27
2.3
รวม
1,176
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776