analyticstracking
หัวข้อ   “ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คนไทยรับมืออย่างไร
                  ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.6 รับมือสถานการณ์ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” ด้วยการ
   ใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้านโดยประชาชนร้อยละ 76.8 ให้ความสนใจและติดตามมากที่สุดเรื่อง
   วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อโดยส่วนใหญ่มีระดับความวิตกกังวลเรื่องการติดเชื้อในระดับปานกลาง
                   พร้อมวอนรัฐบาลให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชนขจัดข่าวลวงที่สร้างความตื่นตระหนก
   ให้แก่ประชาชนทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 มีความเชื่อมั่นมากถึงมากที่สุดในฝีมือแพทย์และสาธารณสุข
   ของไทยต่อการรับมือ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คนไทยรับมืออย่างไร”โดย
เก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,199 คน พบว่า
 
                 เรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษจากการติดตามข่าว
และสถานการณ์“ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” ร้อยละ 76.8 คือวิธี
ป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ
รองลงมาร้อยละ 48.9 คือ แนวทางการรักษาและ
ควบคุมการติดเชื้อ และร้อยละ 43.2 คือ จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทย
 
                 เมื่อถามถึงความวิตกกังวล/กลัวการติดเชื้อ “ไวรัสโคโรนา
สายพันธุ์ใหม่ 2019” เพียงใด พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 42.0 ระบุว่า กังวล
ระดับปานกลาง
รองลงมาร้อยละ 37.4 ระบุว่า กังวลระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
และร้อยละ 20.6 ระบุว่า กังวลระดับมากถึงมากที่สุด
 
                 สำหรับการรับมือกับสถานการณ์จากข่าวการติดเชื้อ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” นั้น
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 ระบุว่า รับมือโดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน
รองลงมาร้อยละ
68.5 ระบุว่า ติดตามข่าวสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และร้อยละ 61.6 ระบุว่า ระมัดระวังตัวเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีคนเยอะๆ
 
                 ส่วนสิ่งที่รัฐบาลควรทำมากที่สุด จากสถานการณ์ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”ที่เกิดขึ้น
ในประเทศขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 66.7 ระบุว่า ควรให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชนขจัดข่าวลวงที่สร้างความ
ตื่นตระหนกให้แก่ประชาชน
รองลงมาร้อยละ 54.2 ระบุว่า ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการ
ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนและร้อยละ 53.1 ระบุว่า ควรให้ข้อปฏิบัติเรื่องการป้องกันที่ถูกต้องกับประชาชนอย่างทั่วถึง
 
                 ด้านความมั่นใจในฝีมือของทีมแพทย์และสาธารณสุขของไทยในการรับมือกับสถานการณ์
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 ระบุว่า มั่นใจมากถึงมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 26.5 ระบุว่ามั่นใจปานกลาง
และร้อยละ 5.5 เท่านั้นที่ระบุว่ามั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่สนใจเป็นพิเศษจากการติดตามข่าวและสถานการณ์“ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”
                 
(สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ
76.8
แนวทางการรักษาและควบคุมการติดเชื้อ
48.9
จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทย
43.2
จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตทั่วโลก
40.5
สาเหตุและอาการของโรค
39.0
การกักตัวและการเฝ้าระวังคนไทยที่รับกลับมาจากจีน
38.7
จำนวนคนไทยที่ติดเชื้อแล้ว
35.5
วิธีการตรวจคัดกรองคนเข้าประเทศ
33.4
 
 
             2.วิตกกังวล/กลัวการติดเชื้อ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”

 
ร้อยละ
กังวลมากถึงมากที่สุด
20.6
กังวลปานกลาง
42.0
กังวลน้อยถึงน้องที่สุด
37.4
 
 
             3.การรับมือกับสถานการณ์จากข่าวการติดเชื้อ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”
                 
(สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน
70.6
ติดตามข่าวสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
68.5
ระมัดระวังตัวเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีคนเยอะๆ
61.6
ต้องพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือติดตัว /ล้างมือบ่อยขึ้น
47.7
ไม่เดินทางออกนอกประเทศ/หลีกเลี่ยงการใช้สนามบิน
16.1
ไม่ใช้บริการขนส่งสาธารณะ
10.9
ซื้ออาหารหน้ากากอนามัยเจลแอลกอฮอลตุนไว้
8.9
 
 
             4.สิ่งที่รัฐบาลควรทำมากที่สุด จากสถานการณ์ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019”
                 ที่เกิดขึ้นในประเทขณะนี้
(สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชนขจัดข่าวลวงที่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชน
66.7
เปิดโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการออกมาให้ข้อมูลกับประชาชน
54.2
ให้ข้อปฏิบัติเรื่องการป้องกันที่ถูกต้องกับประชาชนอย่างทั่วถึง
53.1
ควรแจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชน /ควบคุมราคาและไม่ให้มีการกักตุน
50.0
มีมาตรการดูแลพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดตามสถานที่สำคัญต่างๆทั่วประเทศ
45.5
ควรปิดประเทศเพื่อป้องกันการรับเชื้อจากประเทศต้นทาง
24.2
 
 
             5. ความมั่นใจในฝีมือของทีมแพทย์และการสาธารณสุขของไทยในการควบคุมดูแล
                 ไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย


 
ร้อยละ
มั่นใจมากถึงมากที่สุด
68.0
มั่นใจปานกลาง
26.5
มั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด
5.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่มีผู้ติดเชื้อ
กระจายไปหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยในประเด็นต่างๆ อาทิการติดตามข่าวสารของประชาชน ความกังวล
การรับมือกับสถานนการณ์ที่เกิดขึ้น ความมั่นใจในทีมแพทย์และการสาธารณสุขของไทย ตลอดจนสิ่งที่อยากให้รัฐบาล
ทำมากที่สุดเพื่อรับมือกับสถานการณ์ไวรัสที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชน
ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5 – 6 กุมภาพันธ์ 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 กุมภาพันธ์ 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
614
51.2
             หญิง
585
48.8
รวม
1,199
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
96
8.0
             31 – 40 ปี
177
14.7
             41 – 50 ปี
329
27.5
             51 – 60 ปี
326
27.2
             61 ปีขึ้นไป
271
22.6
รวม
1,199
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
715
59.6
             ปริญญาตรี
384
32.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
100
8.3
รวม
1,199
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
162
13.5
             ลูกจ้างเอกชน
280
23.4
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
435
36.2
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
51
4.3
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
230
19.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
19
1.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
18
1.5
รวม
1,199
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776