analyticstracking
หัวข้อ   “ อยู่ให้เป็น...หยุดให้ได้:COVID-19
                ท่ามกลางวิกฤตการณ์ COVID-19 ประชาชนร้อยละ 29.4 อยู่อาศัย/ทำงานในที่คนพลุกพล่าน/แออัด
      คิดว่าตนเองอยู่ในจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 โดยประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.4 ระบุว่าในช่วง
      สถานการณ์ เชื้อ COVID-19 ระบาดทำให้ต้องมี ค่าใช้จ่ายเพิ่มในการซื้อหน้ากากอนามัยและค่าอาหาร น้ำ
      ข้าวสารของแห้ง สำรองภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 88.5 ระบุว่า การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
      เมื่ออกจากบ้านเป็นพฤติกรรมที่ ช่วยหยุดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “อยู่ให้เป็น...หยุดให้ได้ : COVID-19” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน
จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวนทั้งสิ้น 1,054 คน พบว่า
 
                  ในช่วงสถานการณ์ เชื้อ covid -19 ระบาด ทำให้ประชาชน
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.4 ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย(โดยส่วนใหญ่
จำนวนเงินต่ำกว่า 100 บาท) ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากันกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร น้ำ
ข้าวสารของแห้ง สำรองภาวะฉุกเฉิน (โดยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายจำนวนเงิน มากกว่า
2,000 บาท)
รองลงมา ร้อยละ 33.4 ระบุว่ามีเจลแอลกอฮอล์/แอลกอฮอล์ (โดยส่วนใหญ่
มีค่าใช้จ่ายจำนวน 101—300 บาท) และร้อยละ 32.7 ระบุว่ามีค่าเครื่องอุปโภค-บริโภค
สำรองภาวะฉุกเฉิน (โดยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากกว่า 2,000 บาท)
 
                  เมื่อถามว่าการใช้ชีวิตประจำวันของท่าน อยู่ในจุดความเสี่ยงใดบ้าง
ที่ท่านกังวลต่อการติดเชื้อ covid-19 พบว่า ร้อยละ 29.4 ระบุว่าอยู่อาศัย/ทำงาน
ในที่คนพลุกพล่าน/แออัด
รองลงมาร้อยละ 20.3 ระบุว่าไม่มีหน้ากากอนามัย/เจล
แอลกอฮอล์/แอลกอฮอล์ และร้อยละ 20.2 ระบุว่าขาดหลักประกันด้านการรักษาพยาบาล
 
                 ส่วนวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อหยุดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ covid-19 มากที่สุด นั้น
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.5 ระบุว่าสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน
รองลงมาร้อยละ 86.9 ระบุว่า
ล้างมือด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์ บ่อยๆ และร้อยละ 81.3 ระบุว่าไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ช่วงสถานการณ์ เชื้อ covid -19 ระบาด ทำให้มีค่าใช้จ่าย อะไร..... อยู่เท่าไหร่บ้าง
                 

 
ร้อยละ
หน้ากากอนามัย
  ต่ำกว่า 100 บาท ร้อยละ 26.5
  101-300 บาท ร้อยละ 24.6
  301-500 บาท ร้อยละ 13.6
  501- 700 บาท ร้อยละ 9.3
  701-1,000 บาท ร้อยละ 14.6
  มากกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 11.4
34.4
อาหารสด น้ำ ข้าวสารของแห้ง สำรองภาวะฉุกเฉิน
  ต่ำกว่า 100 บาท ร้อยละ 2.4
  101-500 บาท ร้อยละ 14.3
  501-1,000 บาท ร้อยละ 20.0
  1,001-1,500 บาท ร้อยละ 13.9
  1,501-2,000 บาท ร้อยละ 11.7
  มากกว่า 2,000 บาท ร้อยละ 37.7
34.4
เจลแอลกอฮอล์/แอลกอฮอล์
  ต่ำกว่า 100 บาท ร้อยละ 15.8
  101-300 บาท ร้อยละ 34.7
  301-500 บาท ร้อยละ 26.6
  501- 700 บาท ร้อยละ 5.9
  701-1,000 บาท ร้อยละ 6.8
  มากกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 10.2
33.4
เครื่องอุปโภค-บริโภคสำรองภาวะฉุกเฉิน
  ต่ำกว่า 100 บาท ร้อยละ 2.3
  101-500 บาท ร้อยละ 19.8
  501-1,000 บาท ร้อยละ 21.3
  1,001-1,500 บาท ร้อยละ 15.9
  1,501-2,000 บาท ร้อยละ 13.8
  มากกว่า 2,000 บาท ร้อยละ 26.9
32.7
ค่าเดินทาง
  ต่ำกว่า 300 บาท ร้อยละ 23.6
  301-700 บาท ร้อยละ 22.1
  701-1,000 บาท ร้อยละ 18.7
  1,001-1,300 บาท ร้อยละ 6.3
  1,301-1,500 บาท ร้อยละ 5.7
  มากกว่า 1,500 บาท ร้อยละ 23.6
17.9
ยา/ฟ้าทะลายโจร/วิตามิน
  ต่ำกว่า 100 บาท ร้อยละ 24.3
  101-300 บาท ร้อยละ 30.7
  301-500 บาท ร้อยละ 21.1
  501-700 บาท ร้อยละ 6.3
  701-1,000 บาท ร้อยละ 8.1
  มากกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 9.5
17.7
ค่าตรวจรักษาพยาบาล
  ต่ำกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 27.6
  1,001-3,000 บาท ร้อยละ 24.6
  3,001-5,000บาท ร้อยละ 14.2
  5,001-7,000 บาท ร้อยละ 6.0
  7,001-1,0000 บาท ร้อยละ 14.9
  มากกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 12.7
6.0
 
 
             2. การใช้ชีวิตประจำวันของท่าน อยู่ในจุดความเสี่ยงใดบ้างที่ท่านกังวลต่อการติดเชื้อ covid-19
                  (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)


 
ร้อยละ
อยู่อาศัย /ทำงานในที่คนพลุกพล่าน/แออัด
29.4
ไม่มีหน้ากากอนามัย /เจลแอลกอฮอล์/แอลกอฮอล์
20.3
ขาดหลักประกันด้านการรักษาพยาบาล
20.2
อยู่อาศัย/ทำงานใกล้ชิดกับผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีคนใกล้ชิด/ครอบครัวติดเชื้อ/ผู้ที่เดินทางกลับจาก ตปท /ชาวต่างชาติ
14.4
อยู่อาศัย/ทำงานด้านการแพทย์/สาธารณสุข
5.0
ไม่ได้อยู่ในจุดเสี่ยง
40.6
 
 
             3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองอย่างไรเพื่อหยุดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ covid-19 มากที่สุด
                  (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)


 
ร้อยละ
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออกจากบ้าน
88.5
ล้างมือด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์ บ่อยๆ
86.9
ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น
81.3
ไม่ไปในที่คนพลุกพล่าน/แออัด
76.3
ซื้ออาหารมาทานที่บ้าน ไม่นั่งที่ร้าน
72.4
เมื่อกลับเข้าบ้านอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
48.1
เว้นระยะห่างในการนั่ง เดิน พูดคุย ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
46.0
งดกิจกรรม งดการรวมกลุ่ม ตามที่รัฐบาลแจ้ง
43.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนไทย ในช่วงที่สถานการณ์ไวรัส COVID-19
มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน social media รูปแบบต่างๆ โดยเป็นแบบสอบถามที่มี
โครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนการประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 24 - 30 มีนาคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 31 มีนาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
318
30.2
             หญิง
736
69.8
รวม
1,054
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
433
41.1
             31 – 40 ปี
213
20.2
             41 – 50 ปี
209
19.8
             51 – 60 ปี
175
16.6
             61 ปีขึ้นไป
24
2.3
รวม
1,054
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
316
30.0
             ปริญญาตรี
578
54.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
160
15.2
รวม
1,054
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
99
9.3
             ลูกจ้างเอกชน
367
34.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
126
11.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
41
3.9
             ทำงานให้ครอบครัว
10
1.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
49
4.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
282
26.8
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
80
7.6
รวม
1,054
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 092-672-0152 และ 092-878-0602