analyticstracking
หัวข้อ   “ ขอพรสงกรานต์ปีใหม่ไทย คนไทยอยากได้อะไร ”
ขอพรสงกรานต์ปีใหม่ไทย ประชาชนส่วนใหญ่ 76.1% อยากให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากินคล่อง มีกินมีใช้

เรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญา ส่วนใหญ่ 85.7% อยากให้คำมั่นว่าจะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติในช่วง covid-19

เรื่องที่อยากส่งกำลังใจ ส่วนใหญ่ 91.9% อยากขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ขอพรสงกรานต์ปีใหม่ไทย คนไทยอยากได้อะไร”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า พรที่ประชาชน
อยากขอมากที่สุดในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทยคือ ขอให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากิน
คล่อง มีกินมีใช้ คิดเป็นร้อยละ 76.1
รองลงมาคือ ขอให้ผลิตวัคซีนรักษาเชื้อ covid-19
ได้โดยเร็วคิดเป็นร้อยละ 57.2 ขอให้เชื้อ covid-19 หายไปจากโลกนี้คิดเป็นร้อยละ 55.4
ขอให้ประเทศมีความมั่นคง ปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 46.6 และขอให้คนในประเทศรัก
และสามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 46.5
 
                  สำหรับเรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19
พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 บอกจะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติ
รองลงมาร้อยละ
45.7 บอกจะดูแลตัวเอง -ล้างมือ- กินร้อน –ช้อนกู ร้อยละ 45.5 บอกจะเชื่อฟังคำสั่ง
ทางการ –ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน – จะฝ่าวิกฤตตินี้ไปด้วยกัน และร้อยละ 28.7 บอกจะ
ป้องกันตนเอง-ป้องกันคนอื่น-ป้องกันสังคม ด้วยการใส่หน้ากาก
 
                  ส่วนเรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจให้แก่บุคลากร
ทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ covid-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.9 อยากบอกว่า
เราขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย
รองลงมาร้อยละ
68.8 อยากบอกว่าเราจะไม่เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ และร้อยละ 42.4 อยากบอกว่าเราจะร่วมบริจาคเงิน
สนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งชุด PPE
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. พรที่อยากขอในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ขอให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากินคล่อง มีกินมีใช้
76.1
ขอให้ผลิตวัคซีนรักษาเชื้อ covid-19 ได้โดยเร็ว
57.2
ขอให้เชื้อ covid-19 หายไปจากโลกนี้
55.4
ขอให้ประเทศมีความมั่นคง ปลอดภัย
46.6
ขอให้คนในประเทศรักและสามัคคีกัน
46.5
ขอให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย
44.4
ขอให้ตนเองและคนใกล้ตัวไม่ติดเชื้อ covid-19
41.3
ขอให้บุคลากรทางการแพทย์มีอุปกรณ์เครื่องมือที่เพียงพอในการตรวจไวรัส COVID19
34.3
ขอให้มีงานทำ มีเงินเดือน ไม่ตกงาน
24.6
ขอให้สถานการณ์ปกติโดยเร็ว เลิกกักตัวเร็วๆ ใช้ชีวิตได้ปกติเสียที
16.9
ขอให้สินค้าไม่โก่งราคา ไม่มีการกักตุน
11.4
ขอให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัย
10.1
อื่นๆ เช่น ขอให้ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ ขอให้แพทย์มีอุปกรณ์เพียงพอ
1.8
 
 
             2. เรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
จะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติ
85.7
จะดูแลตัวเอง -ล้างมือ- กินร้อน -ช้อนกู
45.7
จะเชื่อฟังคำสั่งทางการ –ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน – จะฝ่าวิกฤตตินี้ไปด้วยกัน
45.5
จะป้องกันตนเอง-ป้องกันคนอื่น-ป้องกันสังคม ด้วยการใส่หน้ากาก
28.7
จะรักสามัคคีกัน-ช่วยเหลือ-ให้กำลังใจกัน-ไม่เอาเปรียบ-ไม่กักตุนสินค้า
13.1
จะทิ้งระยะห่าง – ไม่ชุมนุม – ไม่อยู่ในที่คนพลุกพล่าน
9.1
อื่นๆ เช่น จะทำหน้ากากอนามัยใช้เอง
1.5
 
 
             3. เรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจอะไรให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ covid-19
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
เราขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย
91.9
เราจะไม่เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ
68.8
เราจะร่วมบริจาคเงินสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งชุด PPE
42.4
เราจะร่วมบริจาคซื้อแอลกอฮอล์ เจลล้างมือให้แก่ประชาชนทั่วไป
40.7
เราจะร่วมบริจาคหน้ากากอนามัย / หน้ากาก N95 ที่ใช้ในทางการแพทย์
33.4
เราจะปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด-อยู่บ้าน-ทิ้งระยะห่างเมื่อออกไปข้างนอก
13.9
อื่นๆ เช่น เราขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน
2.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนถึงพรที่อยากขอในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย
                 2) เพื่อสะท้อนเรื่องที่อยากบอก อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19
                 3) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจอะไรให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ
                     covid-19
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน social media รูปแบบต่างๆ โดยเป็นแบบสอบถามที่มี
โครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนการประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1-9 เมษายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 เมษายน 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
180
35.9
             หญิง
320
64.1
รวม
500
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
165
33.2
             31 – 40 ปี
137
27.4
             41 – 50 ปี
82
16.4
             51 – 60 ปี
95
18.9
             61 ปีขึ้นไป
21
4.1
รวม
500
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
165
32.9
             ปริญญาตรี
265
53.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
70
14.0
รวม
500
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
51
10.1
             ลูกจ้างเอกชน
199
40.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
65
12.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
29
5.8
             ทำงานให้ครอบครัว
13
2.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
29
5.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
86
17.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
28
5.5
รวม
500
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 092-672-0152 และ 092-878-0602