analyticstracking
หัวข้อ   “ กำลังใจ แด่...นักรบเสื้อกาวน์ ”
                ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.8 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อการที่ ครม. อนุมัติโดยหลักการให้ บุคลากร
      ทางแพทย์ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 83.3 ให้เหตุผลว่า เป็นการสร้างขวัญและ
      กำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากรการแพทย์
                ทั้งนี้ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.1 ระบุว่ารัฐบาลควร
      เพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยช่วงปฏิบัติงานสถานการณ์การแพร่ระบาด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรทาง
      การแพทย์ที่เสียสละตนเอง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “กำลังใจ แด่...นักรบเสื้อกาวน์” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจาก
ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวนทั้งสิ้น 1,060 คน พบว่า
 
                  ความเห็นต่อการที่ ครม. อนุมัติโดยหลักการให้ บุคลากรทางแพทย์
ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ พบว่า ประชาชนส่วนใหญร้อยละ 75.8 ระบุว่า
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รองลงมาร้อยละ 21.8 ระบุว่าเห็นด้วย และร้อยละ 1.4 ระบุว่าไม่แน่ใจ
มีเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่าเหตุใดจึงเห็นด้วยที่ ครม. อนุมัติโดยหลักการให้
บุคลากรทางแพทย์ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ
83.3 ให้เหตุผลว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากร
การแพทย์
รองลงมาร้อยละ 63.5 ให้เหตุผลว่าสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับบุคลากร
การแพทย์ และร้อยละ 51.6 ให้เหตุผลว่าบุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักควรได้รับ
สิ่งตอบแทน
 
                 สำหรับภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.1 ระบุว่ารัฐบาล
ควรเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยช่วงปฏิบัติงานสถานการณ์การแพร่ระบาด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการ
แพทย์ที่เสียสละตนเอง
รองลงมาร้อยละ 69.9 ระบุว่าควรปรับปรุงสวัสดิการให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และร้อยละ 67.1
ระบุว่าควรปรับเพิ่มเงินเดือนหรือเงินค่าตอบแทนประจำจากฐานค่าจ้างเดิมทุกตำแหน่ง
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อการที่ ครม. อนุมัติโดยหลักการให้ บุคลากรทางแพทย์ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ                  
 
ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
75.8
เห็นด้วย
21.8
ไม่แน่ใจ
1.4
ไม่เห็นด้วย
1.0
ไม่เห้นด้วยอย่างยิ่ง
0.0
 
 
             2. เมื่อถามว่า เหตุใดท่านจึงเห็นด้วยที่ ครม. อนุมัติโดยหลักการให้ บุคลากรทางแพทย์
                 ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับบุคลากรการแพทย์
83.3
สร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับบุคลากรการแพทย์
63.5
บุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักควรได้รับสิ่งตอบแทน
51.6
เสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการแพทย์
48.7
 
 
             3. ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 บุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละตนเอง ควรได้รับ
                 ขวัญและกำลังใจใด จากภาครัฐบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
เพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยช่วงปฏิบัติงานสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19
72.1
ปรับปรุงสวัสดิการให้กับบุคลากรทางการแพทย์
69.9
ปรับเพิ่มเงินเดือนหรือเงินค่าตอบแทนประจำจากฐานค่าจ้างเดิมทุกตำแหน่ง
67.1
สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการ
60.4
ทุ่มงบกลางให้แก่โรงพยาบาล และแพทย์ให้เพียงพอ
58.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการปรับบุคลากรทางการแพทย์เป็นข้าราชการเพื่อ
สร้างขวัญกำลังใจแด่ผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชน
ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน social media รูปแบบต่างๆ โดยเป็นแบบสอบถามที่มี
โครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนการประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3 - 7 เมษายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 เมษายน 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
406
38.3
             หญิง
654
61.7
รวม
1,060
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
347
32.7
             31 – 40 ปี
427
40.3
             41 – 50 ปี
207
19.5
             51 – 60 ปี
69
6.5
             61 ปีขึ้นไป
10
1.0
รวม
1,060
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
232
21.9
             ปริญญาตรี
692
65.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
136
12.8
รวม
1,060
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
233
22.0
             ลูกจ้างเอกชน
365
34.4
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
105
9.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
128
12.1
             ทำงานให้ครอบครัว
75
7.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
34
3.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
86
8.1
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
34
3.2
รวม
1,060
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 092-672-0152 และ 092-878-0602