analyticstracking
หัวข้อ   “ เสียงสะท้อนคนไทยต่อมาตรการเยียวยา ”
ประชาชนส่วนใหญ่ 70.6% มีสิทธิหรือเข้าถึงมาตรการดูแลเยียวยารายได้ลูกจ้าง
แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ
สิ่งที่ประชาชนต้องการจากการเยียวยามากที่สุด ส่วนใหญ่ 70.9% ต้องการเงิน
โดยเห็นว่ารัฐควรหาวิธีการเยียวยาที่เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึงมากที่สุด
ชี้หากไม่ได้รับการเยียวยาประชาชนร้อยละ 45.7 จะกู้ยืม
จากวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ประชาชนแนะรัฐควรให้แรงงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออม
โดยมีรัฐเป็นผู้สมทบในกองทุนมากที่สุด เพื่อเป็นหลักประกันให้กับแรงงาน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “เสียงสะท้อนคนไทยต่อมาตรการเยียวยา” โดยเก็บ
ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,402 คน พบว่า
 
                  เมื่อถามประชาชนว่า “มาตรการที่ท่านมีสิทธิได้รับการเยียวยา
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19” ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 มีสิทธิ
หรือเข้าถึงมาตรการดูแลเยียวยารายได้ลูกจ้าง แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ

รองลงมาคือ มาตรการดูแลและเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อคิดเป็นร้อยละ 21.8
และมาตรการดูแลและเยียวยาจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค COVID-19 คิดเป็นร้อยละ 12.9
 
                  สำหรับสิ่งที่ต้องการมากที่สุดจากการเยียวยาคือ เงินเยียวยาคิดเป็น
ร้อยละ 70.9
รองลงมาคือ ไม่ถูกพักงานหรือลดเงินเดือนคิดเป็นร้อยละ 7.2 พักชำระหนี้
จากสถาบันทางการเงิน คิดเป็นร้อยละ 6.9 ข้าวสารอาหารแห้ง คิดเป็นร้อยละ 4.5 และ
ลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค คิดเป็นร้อยละ 4.2
 
                  เมื่อถามว่า “คิดเห็นอย่างไรต่อการจัดการมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
COVID-19 ที่มีหลากหลายมาตรการ ไปยังคนหลากหลายกลุ่ม” ประชาชนร้อยละ 37.5 เห็นว่าควรหาวิธี
การเยียวยาที่เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึงมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 25.5 เห็นว่าไม่ต้องมีระบบการลงทะเบียน
ควรแจกตามฐานข้อมูลสำเนาทะเบียนราษฎร์ และร้อยละ17.7 เห็นว่าการเยียวยาต้องรวดเร็วและตรวจสอบง่ายมากกว่านี้
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามว่า “ท่านจะทำอย่างไร หากไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย” ประชาชนร้อยละ 45.7
จะกู้ยืมมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 41.1 จะร้องเรียน / ทบทวนสิทธิประโยชน์อีกครั้ง ร้อยละ 39.5 จะประหยัด พอพียง
และร้อยละ 16.1 จะเปลี่ยนอาชีพ หางานพิเศษ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามความเห็นต่อแรงงานไทย ผู้มีอาชีพอิสระ ควรได้รับหลักประกันใดที่เหมาะสม
จากวิกฤตที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนร้อยละ 30.9 เห็นว่าควรให้แรงงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออม
โดยมีรัฐเป็นผู้สมทบในกองทุนมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 27.3 เห็นว่าควรมีการลงทะเบียนแรงงานในระบบที่ตรวจสอบได้
และร้อยละ 19.5 เห็นว่าควรมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมสำหรับแรงงานเพื่อรักษาสภาพคล่อง ยามจำเป็น
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “มาตรการที่ท่านมีสิทธิได้รับการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19”
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
มาตรการดูแลเยียวยารายได้ลูกจ้าง แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ
70.6
มาตรการดูแลและเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
21.8
มาตรการดูแลและเยียวยาจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค COVID-19
12.9
มาตรการดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ กลุ่มนักลงทุน เช่น ปล่อยเงินกู้เสริมสภาพคล่อง
5.5
มาตรการดูแลและเยียวยากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์
3.3
อื่นๆ เช่น ถุงยังชีพ เข้าไม่ถึงสิทธิ ไม่ได้รับการเยียวยา
14.0
 
 
             2. สิ่งที่ท่านต้องการมากที่สุดจากการเยียวยา
                  (ตอบเพียง 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
เงินเยียวยา
70.9
ไม่ถูกพักงานหรือลดเงินเดือน
7.2
พักชำระหนี้จากสถาบันทางการเงิน
6.9
ข้าวสารอาหารแห้ง
4.5
ลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค
4.2
สิทธิตรวจรักษา COVID-19 ฟรี
3.0
อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค
0.5
อื่นๆ เช่น ลดค่าเช่าร้าน เข้าถึงเงินกู้ง่ายขึ้น
2.8
 
 
             3. ข้อคำถาม “คิดเห็นอย่างไรต่อการจัดการมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
                 COVID-19 ที่มีหลากหลายมาตรการ ไปยังคนหลากหลายกลุ่ม” (ตอบเพียง 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ควรหาวิธีการเยียวยาที่เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
37.5
ไม่ต้องมีระบบการลงทะเบียน ควรแจกตามฐานข้อมูลสำเนาทะเบียนราษฎร์
25.5
การเยียวยาต้องรวดเร็วและตรวจสอบง่ายมากกว่านี้
17.7
ควรให้การเยียวยาด้วยมาตรการที่เป็นธรรม
10.3
ระบบการลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต อาจทำให้หลายคนตกหล่นไป
4.6
ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกกลุ่มแล้ว
1.9
อื่นๆ เช่น แจกทุกคน แจกทุกบ้าน
2.5
 
 
             4. ข้อคำถาม “ท่านจะทำอย่างไร หากไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ เลย”
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
กู้ยืม
45.7
ร้องเรียน / ทบทวนสิทธิประโยชน์อีกครั้ง
41.1
ประหยัด พอพียง
39.5
เปลี่ยนอาชีพ หางานพิเศษ
16.1
กลับภูมิลำเนาบ้านเกิด
7.4
ไม่ได้รับผลกระทบ ไม่เป็นไรเลย
1.2
อื่นๆ เช่น ทำใจอยู่ไปวันๆ ดิ้นรนสู้ต่อไป
7.6
 
 
             5. ความเห็นต่อแรงงานไทย ผู้มีอาชีพอิสระ ควรได้รับหลักประกันใดที่เหมาะสม จากวิกฤตที่ผ่านมา
                  (ตอบเพียง 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ควรให้แรงงานมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเก็บออม โดยมีรัฐเป็นผู้สมทบในกองทุน
30.9
ควรมีการลงทะเบียนแรงงานในระบบที่ตรวจสอบได้
27.3
ควรมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมสำหรับแรงงานเพื่อรักษาสภาพคล่อง ยามจำเป็น
19.5
ควรให้แรงงานทุกคนเข้าระบบประกันสังคม ให้มีค่ารักษาพยาบาล และเงินยามเกษียณ
16.4
ควรมีระบบฝึกอบรมพัฒนาทักษะแรงงานอย่างเป็นระบบ
3.0
อื่นๆเช่น รัฐควรจัดทำฐานข้อมูลแรงงาน รัฐควรช่วยหางานให้
2.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 1) เพื่อสะท้อนถึงมาตรการเยียวยาและเรื่องที่อยากให้เยียวยาจากสถานการณ์ covid-19
                 2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแรงงานไทย ผู้มีอาชีพอิสระ ควรได้รับหลักประกันใดที่เหมาะสม จากวิกฤตที่ผ่านมา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน social media รูปแบบต่างๆ โดยเป็นแบบสอบถามที่มี
โครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนการประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22 - 29 เมษายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 พฤษภาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
383
27.3
             หญิง
1,019
72.7
รวม
1,402
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
497
35.5
             31 – 40 ปี
488
34.8
             41 – 50 ปี
282
20.1
             51 – 60 ปี
115
8.2
             61 ปีขึ้นไป
20
1.4
รวม
1,402
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
999
71.2
             ปริญญาตรี
363
25.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
40
2.9
รวม
1,402
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
51
3.6
             ลูกจ้างเอกชน
296
21.1
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
831
59.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
31
2.2
             ทำงานให้ครอบครัว
41
2.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
26
1.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
61
4.4
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
65
4.6
รวม
1,402
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 092-672-0152 และ 092-878-0602