analyticstracking
หัวข้อ   “ New Normal ชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย
                ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยการ
      สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้านเป็นประจำ ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียน
      ที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัยนั้น ร้อยละ 70.0 ระบุว่า ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย
                ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่า มาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่
      (New Normal) ของประชาชน คือ การจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการ
      ปรับรูปแบบการทำงาน รองลงมาร้อยละ 67.2 ควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียน
      แบบออนไลน์ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง “New Normal ชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน
จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า
 
                  สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 พบว่าประชาชนได้ปรับการ
ดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยพบว่าสิ่งที่ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 ปฏิบัติเป็นประจำคือ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
เมื่อออกจากบ้าน
รองลงมาร้อยละ 73.5 คือ ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง และร้อยละ
73.3 คือ งด/ ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์แบบหมู่คณะ ให้มีระยะห่าง
 
                  ส่วนสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย คือ
เรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย
รองลงมาร้อยละ
47.4 คือ การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ จ่ายเงินแบบไร้เงินสด(Cashless)
และร้อยละ 44.7 คือ การสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ แทนการออกไปที่ร้าน
 
                 ส่วนมาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน นั้น
ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่าควรจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการปรับรูปแบบ
การทำงาน
รองลงมาร้อยละ 67.2 ระบุว่าควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์การศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียม และร้อยละ 62.1 ระบุว่าหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ต้องหาซื้อง่าย ราคาถูก
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1.สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ท่านได้ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่
                (New Normal) ระดับใด


ประเด็น
เป็น
ประจำ
บ่อยๆ
บางครั้ง
นานๆ
ครั้ง
ไม่ได้
ทำเลย
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
92.6
6.0
1.3
0.1
-
ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง
73.5
19.4
6.0
0.8
0.3
งด/ ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์แบบหมู่คณะ ให้มีระยะห่าง
73.3
6.9
4.1
3.4
12.3
เว้นระยะห่างขณะยืนรอ/ใช้บริการขนส่งสาธารณะ
69.2
11.0
5.1
2.9
11.8
ทำงานที่บ้าน เหลื่อมเวลาในการเข้างาน สลับวันหยุด แยกโต๊ะทำงาน
54.8
10.1
5.7
1.1
28.3
การเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร
52.6
25.1
16.6
3.1
2.6
สั่ง/ซื้ออาหารมาทานที่บ้าน ไม่นั่งทานอาหารร่วมกัน นั่งทานอาหารโต๊ะละคน
36.5
8.7
16.1
9.1
29.6
เรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย
18.2
3.6
7.6
0.6
70.0
การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ จ่ายเงินแบบไร้เงินสด(Cashless)
15.2
13.0
17.4
7.0
47.4
การสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ แทนการออกไปที่ร้าน
6.7
10.6
23.7
14.3
44.7
 
 
             2. มาตรการที่ควรมีเพื่อมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน
                 (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)


 
ร้อยละ
อบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง
จากการปรับรูปแบบการทำงาน
74.8
ขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
67.2
หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ต้องหาซื้อง่าย ราคาถูก
62.1
เพิ่มพื้นที่บริการและความแรงของสัญญาณอินเทอร์เนต เพื่อรองรับการทำงานที่บ้านและการเรียนออนไลน์
55.9
เข้มงวดกับผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะทุกราย โดยยึดหลัก Social Distancing
50.1
ขอความร่วมมืออย่างจริงจังจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนห้างร้านต่างๆ จัดพื้นที่การทำงานของพนักงานโดยเว้นระยะห่าง
48.7
สนับสนุน และให้ความรู้ แก่ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ เรื่องการขายออนไลน์
และบริการส่งถึงบ้าน
43.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการปรับรูปแบบในการดำเนินชีวิตสู่ “ ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)” อันสืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัส COVID -19 ตลอดจนมาตรการต่างๆที่ควรออกมารองรับหรือสนับสนุนชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 18 - 20 พฤษภาคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 พฤษภาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
555
46.2
             หญิง
646
53.8
รวม
1,201
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
85
7.1
             31 – 40 ปี
194
16.2
             41 – 50 ปี
315
26.2
             51 – 60 ปี
328
27.3
             61 ปีขึ้นไป
279
23.2
รวม
1,201
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
816
68.0
             ปริญญาตรี
303
25.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
82
6.8
รวม
1,201
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
129
10.7
             ลูกจ้างเอกชน
235
19.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
517
43.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
56
4.7
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
205
17.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
15
1.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
42
3.5
รวม
1,201
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898