analyticstracking
หัวข้อ   “ คนไทยการ์ดตกหรือยัง
          จากมาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยลดน้อยลงหรือ
    เป็นศูนย์ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.1 ระบุว่า ยังมีพฤติกรรมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคด้วยการ
    ล้างมือ-กินร้อน-ช้อนใครช้อนมัน เหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 28.2 ยอมรับว่ามีพฤติกรรมการเว้นระยะห่าง
    ทางสังคม ลดลง
          ทั้งนี้ร้อยละ 56.0 กังวลว่าการปิดบัง/ไม่ปฏิบัติตามกฎ จากผู้ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จะทำให้การด์ตก
    จนเกิดความเสี่ยงต่อการเกิด COVID-19 รอบ 2 ส่วนร้อยละ 55.5 ระบุว่า ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์
    COVID-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามข้อเท็จจริง เพื่อกระตุ้นไม่ให้คนไทยการ์ดตก
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ประชาชน เรื่อง“คนไทยการ์ดตกหรือยัง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศจำนวน 1,215 คน พบว่า
 
                  จากมาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อ
ในประเทศไทยลดน้อยลงหรือเป็นศูนย์ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ารักษาพฤติกรรม
ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเท่าเดิม โดย 3 อันดับแรกคือ ล้างมือ-กินร้อน
-ช้อนใครช้อนมัน ร้อยละ 88.1
รองลงมาคือ เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบายร้อยละ
82.2 และสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน ร้อยละ 80.9
 
                 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า พฤติกรรมป้องกันการแพร่ระบาด
ของเชื้อโรคที่ประชาชนยอมรับว่าปฏิบัติลดลงมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
การเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร โดยลดลงร้อยละ 28.2

รองลงมาคือ นั่งทานอาหารห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร ลดลงร้อยละ 23.5 และ
เช็คอินไทยชนะ/ลงทะเบียน ก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ ลดลงร้อยละ 17.7
 
                  ส่วนสถานการณ์ที่กังวลว่าจะทำให้การด์ตก จนเกิดความเสี่ยงต่อการเกิด COVID-19 รอบ 2
ในประเทศไทยมากที่สุดคือ การปิดบัง/ไม่ปฏิบัติตามกฎ จากผู้ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการต้องสงสัย
แต่ไม่แจ้ง ร้อยละ 56.0
รองลงมาคือ พฤติกรรมการป้องกันตนเองของคนในประเทศลดลง ร้อยละ 33.2 และการเข้าไปอยู่
ในที่ชุมนุมชน มีการรวมกลุ่มในพื้นที่จำกัด เช่น ผับ บาร์ เพราะอาจเจอ super spread ร้อยละ 32.3
 
                  สำหรับมาตรการกระตุ้นไม่ให้คนไทยการ์ดตกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด COVID-19 รอบ 2 คือ
ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามข้อเท็จจริงแก่ประชาชน
ร้อยละ 55.5
รองลงมาคือ ควรแสดงให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเกิด COVID-19 รอบ 2
ร้อยละ 49.8 และควรประชาสัมพันธ์ ตามสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนป้องกันตนเองจากเชื้อ COVID-19 อยู่เสมอร้อยละ 44.7
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1.จากมาตรการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ลดน้อยลง
                  หรือเป็นศูนย์ ท่านรักษาพฤติกรรมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อย่างไร


ประเด็น
เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
เท่าเดิม
(ร้อยละ)
ลดลง
(ร้อยละ)
ล้างมือ-กินร้อน-ช้อนใครช้อนมัน
4.5
88.1
7.4
เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
11.9
82.2
5.9
สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
8.7
80.9
10.4
เช็คอินไทยชนะ/ลงทะเบียน ก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ
5.2
77.1
17.7
ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์
8.3
76.7
15.0
หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ
12.6
75.2
12.2
นั่งทานอาหารห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
3.6
72.9
23.5
ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอ จาม
25.6
70.1
4.3
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และมีมลภาวะเป็นพิษ
16.8
69.8
13.4
การเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร
5.0
66.8
28.2
 
 
             2.สถานการณ์ที่กังวลว่าจะทำให้การด์ตก จนเกิดความเสี่ยงต่อการเกิด COVID-19 รอบ 2
                  ในประเทศไทยมากที่สุด (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)


 
ร้อยละ
การปิดบัง/ไม่ปฏิบัติตามกฎ จากผู้ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการต้องสงสัยแต่ไม่แจ้ง
56.0
พฤติกรรมการป้องกันตนเองของคนในประเทศลดลง
33.2
การเข้าไปอยู่ในที่ชุมนุมชน มีการรวมกลุ่มในพื้นที่จำกัด เช่น ผับ บาร์ เพราะอาจเจอ super spread
32.3
อื่นๆ อาทิ ประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในประเทศไทย
2.5
 
 
             3. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด COVID-19 รอบ 2 ควรมีมาตรการอย่างไรกระตุ้นไม่ให้คนไทยการ์ดตก
                  (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามข้อเท็จ จริงแก่ประชาชน
55.5
แสดงให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเกิด COVID-19 รอบ 2
49.8
ประชาสัมพันธ์ ตามสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนป้องกันตนเองจากเชื้อ COVID-19 อยู่เสมอ
44.7
ตรวจสอบ สถานที่ต่างๆ เป็นประจำ เช่น ห้าง สถานบันเทิง ร้านอาหาร และลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรน
44.6
มาตรการที่มีอยู่ในขณะนี้ดีอยู่แล้ว
19.6
อื่นๆ อาทิ ควรมีมาตรการที่ชัดเจน สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศให้ปฏิบัติตาม
             โดยไม่มีข้อยกเว้น ตรวจตามด่านชายแดนที่อาจมีผู้ติดเชื้อการลักลอบเข้ามา
              มีระบบคัดกรองตามจุดสำคัญๆ ให้เข้มข้นขึ้น ฯลฯ
2.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันตนเองจากเชื้อ COVID-19 หลังจาก
ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยลดน้อยลงหรือเป็นศูนย์ ตลอดจนสถานการณ์ที่อาจทำให้การ์ดตกจนเกิดความเสี่ยงต่อการเกิด
COVID-19 รอบ 2 และแนวทางป้องกัน ไม่ให้คนไทยการ์ดตก เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 28-30 กันยายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 ตุลาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
570
46.9
             หญิง
645
53.1
รวม
1,215
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
100
8.2
             31 – 40 ปี
197
16.2
             41 – 50 ปี
302
24.9
             51 – 60 ปี
335
27.6
             61 ปีขึ้นไป
281
23.1
รวม
1,215
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
761
62.6
             ปริญญาตรี
349
28.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
105
8.7
รวม
1,215
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
168
13.8
             ลูกจ้างเอกชน
238
19.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
462
38.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
56
4.6
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
237
19.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
19
1.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
33
2.7
รวม
1,215
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898