analyticstracking
หัวข้อ   “ หัวอกแรงงานไทยวันนี้
แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 ได้รับผลกระทบต่อการทำงานในช่วงโควิด-19
ในจำนวนนี้ร้อยละ 52.2 มีรายได้ต่อวันลดลง
โดยแรงงานร้อยละ 44.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินออม ขณะที่ร้อยละ 40.2 ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 รอเงินช่วยเหลือ เงินเยียวยา เพื่อมาใช้จัดการกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
ซึ่งหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลายแรงงานอยากให้มีการเพิ่มค่าแรงมากที่สุด
แรงงานวางเป้าหมายอยากเป็นพนักงานบริษัทที่มีเงินเดือนมั่นคงมากที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “หัวอกแรงงานไทยวันนี้” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน
ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 625 คน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ
81.8 ได้รับผลกระทบต่อการทำงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส
โควิด-19 โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 52.2 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมา
ร้อยละ 23.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 22.0 ไม่มี OT
เงินโบนัส
ขณะที่ร้อยละ 18.2 ไม่ได้รับผลกระทบ
 
                  เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่าย
เป็นอย่างไร” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงิน
เหลือเพื่อเก็บออม
ขณะที่ร้อยละ 40.2 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้
ต้องหยิบยืม ส่วนร้อยละ 15.1 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามว่าจัดการกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.3 รอเงินช่วยเหลือ เงินเยียวยา จากภาครัฐ

รองลงมาร้อยละ 30.7 กู้หนี้ยืมสิน ร้อยละ 27.8 หารายได้ หาอาชีพเสริม และร้อยละ
20.7 นำเงินเก็บมาใช้
 
                  ส่วนเมื่อถามว่าคาดหวังอะไร หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย พบว่าแรงงานร้อยละ 30.9
คาดหวังว่าค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นถึง 400 บาท
รองลงมาร้อยละ 27.5 คาดหวังว่าจะมีสวัสดิการดีขึ้น และร้อยละ 26.3
คาดหวังว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีงานให้เลือกมากขึ้น
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าตั้งเป้าหมายหรือวางแผนชีวิตไว้อย่างไร ในอนาคต พบว่าแรงงานร้อยละ 25.8
อยากเป็นพนักงานบริษัทมีเงินเดือนมั่นคง
รองลงมาร้อยละ 23.0 อยากเป็นเจ้าของกิจการ และร้อยละ 20.5 อยากกลับ
ไปทำงานที่บ้านเกิดอยู่กับครอบครัว
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ผลกระทบต่อการทำงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 
ร้อยละ
ได้รับผลกระทบ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)    
รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม ร้อยละ 52.2
ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น ร้อยละ 23.3
ไม่มี OT เงินโบนัส ร้อยละ 22.0
หางานได้ยากขึ้น ร้อยละ 19.3
ตกงาน ต้องหางานใหม่ ร้อยละ 10.0
ถูกลดสวัสดิการต่างๆที่เคยได้รับลง ร้อยละ 6.5
อื่นๆ อาทิเช่น จ่ายเงินล่าช้า ร้อยละ 0.2
81.8
ไม่ได้รับผลกระทบ
18.2
 
 
             2. ข้อคำถาม “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร”

 
ร้อยละ
รายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
15.1
รายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
44.7
รายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
40.2
 
 
             3. ข้อคำถาม “ท่านจัดการกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไร”
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
รอเงินช่วยเหลือ เงินเยียวยา จากภาครัฐ
54.3
กู้หนี้ยืมสิน
30.7
หารายได้ หาอาชีพเสริม
27.8
นำเงินเก็บมาใช้
20.7
นำของมีค่ามาขายประทังชีวิต
8.5
จำนอง จำนำ
7.0
อื่นๆ ไม่มีการจัดการ ไม่ได้รับผลกระทบ
4.2
 
 
             4. ข้อคำถาม “ท่านคาดหวังอะไร หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย”

 
ร้อยละ
ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นถึง 400 บาท
30.9
มีสวัสดิการดีขึ้น
27.5
มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีงานให้เลือกมากขึ้น
26.3
มีโบนัส มี OT เพิ่มขึ้น
13.5
อื่นๆ อาทิเช่น รอรัฐช่วยเหลือ ไม่ได้คาดหวัง
1.8
 
 
             5. ข้อคำถาม “ท่านตั้งเป้าหมายหรือวางแผนชีวิตไว้อย่างไร ในอนาคต”

 
ร้อยละ
อยากเป็นพนักงานบริษัทมีเงินเดือนมั่นคง
25.8
อยากเป็นเจ้าของกิจการ
23.0
อยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิดอยู่กับครอบครัว
20.5
อยากทำสวน ทำการเกษตร อยู่แบบพอเพียง
9.7
อยากศึกษาต่อ
3.5
อยากเป็นแรงงานเฉพาะที่มีการอบรมพัฒนาทักษะการทำงาน
3.5
ไม่มีเป้าหมายหรือวางแผนจะเป็นแรงงานแบบนี้ต่อไป
14.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อต้องสะท้อนผลกระทบต่อการทำงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
                  2) เพื่อต้องการทราบถึงรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร ในปัจจุบัน
                  3) เพื่อต้องการทราบถึงวิธีจัดการกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไร
                  4) เพื่อสะท้อนถึงความคาดหวังหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย
                  5) เพื่อต้องการทราบถึงตั้งเป้าหมายหรือวางแผนชีวิต ในอนาคต
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
จำนวน 6 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ บางขุนเทียน บางเขน ประเวศ ยานาวา
ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 625 คน
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22 – 27 เมษายน 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 พฤษภาคม 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
306
49.0
             หญิง
319
51.0
รวม
625
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
244
39.1
             31 – 40 ปี
114
18.3
             41 – 50 ปี
142
22.7
             51 – 60 ปี
92
14.7
             61 ปีขึ้นไป
33
5.2
รวม
625
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
591
94.5
             ปริญญาตรี
34
5.5
รวม
625
100.0
อาชีพ:
   
             โรงงานอุตสาหกรรม
68
10.8
             กรรมกรก่อสร้าง
47
7.5
             รปภ. / ภารโรง
55
8.8
             แม่บ้าน / คนสวน
59
9.5
             รับจ้างทั่วไป
181
29.0
             ช่างซ่อมตามอู่ / ช่างไฟฟ้า / ช่างซ่อม
21
3.3
             พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ
123
19.7
             พนักงานขับรถ
17
2.7
             พนักงานขาย
54
8.7
รวม
625
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898