analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “น้ำมันแพงกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับ ”
           ประชาชนร้อยละ 84.1 ระบุว่าได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพง ทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น
    มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 57.1 เลือกใช้วิธีรับมือกับน้ำมันแพงด้วยการ งดเดินทาง งดเที่ยว
    ช่วงวันหยุด
           ทั้งนี้ร้อยละ 76.7 ห่วงว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดจะแพงขึ้นอีกหากราคาน้ำมัน
    ยังคงแพงอยู่ โดยร้อยละ 32.2 เห็นว่ารัฐบาลควรขายน้ำมันราคาถูกให้กับบางกลุ่ม เช่นธุรกิจขนส่ง
    สินค้า มอเตอร์ไซค์วิน แท็กซี่ ขนส่งมวลชน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันและค่าเดินทางให้
    ประชาชน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง
“น้ำมันแพงกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ
จำนวน 1,123 คน เมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม ที่ผ่านมาพบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 84.1 ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพง
โดยระบุว่า ทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้น เงินเหลือเก็บลดลง ขณะที่
ร้อยละ 15.9 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่ค่อยได้เดินทาง บริษัทจ่ายค่าน้ำมันให้
ส่วนใหญ่ใช้บริการรถสาธารณะ
 
                  เมื่อถามถึงวิธีปรับตัวหรือรับมือกับปัญหาน้ำมันแพง พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 ใช้วิธีงดเดินทาง งดเที่ยวช่วงวันหยุด
รองลงมา
ร้อยละ 44.9 ใช้วิธีวางแผนก่อนเดินทางเพื่อเลี่ยงรถติด และร้อยละ 40.4 ใช้วิธีประหยัด
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อเก็บเงินไว้จ่ายค่าน้ำมัน
 
                  สำหรับเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.7 มีความกังวล
หากราคาน้ำมันยังแพงอยู่คือ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดอาจแพงขึ้นอีก

รองลงมาร้อยละ 11.1 คือเกิดการกู้หนี้ ยืมสินเพิ่มขึ้น และร้อยละ 5.5 คือ เกิดการก่ออาชญากรรม ขโมยน้ำมัน การลักลอบ
ขนน้ำมันเถื่อน
 
                  ส่วนความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลว่าจะสามารถจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันแพงได้ นั้น ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
ขณะที่ร้อยละ 14.3 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมาก
 
                  ทั้งนี้เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลควรทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันและ
ค่าเดินทางมากที่สุดร้อยละ 32.2 คือ ควรขายน้ำมันราคาถูกให้กับบางกลุ่ม เช่น ธุรกิจขนส่งสินค้าและอาหาร
มอเตอร์ไซค์วิน แท็กซี่ ขนส่งมวลชน ฯลฯ
รองลงมาร้อยละ 15.3 คือ ควรปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ
ปลอดภัยจากโควิด เพื่อให้คนหันมาใช้แทนรถส่วนตัว และร้อยละ 14.4 คือ ลดภาษีน้ำมัน ลดจำนวนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
เพื่อไม่ให้น้ำมันในประเทศขึ้นราคา
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ท่านได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำมันแพงหรือไม่ อย่างไร

 
ร้อยละ
ได้รับผลกระทบ
(โดยระบุว่า ต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงขึ้น สินค้าแพงขึ้น ค่าเดินทางแพงขึ้น เงินเหลือเก็บ
ลดลง ฯลฯ)
84.1
ไม่ได้รับผลกระทบ
(เพราะ ไม่ค่อยได้เดินทาง บริษัทจ่ายค่าน้ำมันให้ ส่วนใหญ่ใช้บริการรถสาธารณะ ฯลฯ)
15.9
 
 
             2. ท่านมีวิธีปรับตัว หรือ รับมืออย่างไรจากปัญหาน้ำมันแพง (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
งดเดินทาง งดเที่ยวช่วงวันหยุด
57.1
วางแผนก่อนเดินทางเพื่อเลี่ยงรถติด
44.9
ประหยัดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อเก็บเงินไว้จ่ายค่าน้ำมัน
40.4
ไปคันเดียวกันแทนขับคนละคัน
33.2
ใช้ขนส่งสาธารณะแทน
9.7
ใช้รถน้อยลง ใช้รถเท่าที่จำเป็น
6.0
เปลี่ยนไปใช้รถมอเตอร์ไซค์แทน
5.2
จะซื้อรถพลังงานไฟฟ้า(EV) มาขับแทน
4.0
นำรถไปติดตั้งแก๊ส
2.3
อื่นๆ อาทิ ขับรถช้าลงเพื่อประหยัดน้ำมัน เดินทางใกล้ใช้ขี่จักรยานแทน ฯลฯ
2.1
 
 
             3. หากราคาน้ำมันยังคงแพงอยู่ ท่านมีความกังวลเรื่องใดมากที่สุด

 
ร้อยละ
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดอาจแพงขึ้นอีก
76.7
เกิดการกู้หนี้ ยืมสิน เพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่รายได้เท่าเดิม
11.1
เกิดการก่ออาชญากรรม ขโมยน้ำมัน การลักลอบขนน้ำมันเถื่อน
5.5
ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น
4.2
ขนส่ง มอเตอร์ไซค์วิน แท็กซี่ อาจประท้วงเรียกร้องให้ขึ้นราคา
1.5
อื่นๆ การเลิกจ้างงาน ธุรกิจติดขัด ฯลฯ
1.0
 
 
             4. ท่านเชื่อมั่นเพียงใดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันได้

 
ร้อยละ
ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 37.2 และไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 48.5)
85.7
ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมาก
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 13.3 และเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 1.0)
14.3
 
 
             5. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อช่วยเหลือประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันและค่าเดินทาง
 
ร้อยละ
ขายน้ำมันราคาถูกให้กับบางกลุ่ม เช่น ธุรกิจขนส่งสินค้าและอาหาร มอเตอร์ไซค์วิน แท็กซี่ ขนส่งมวลชน ฯลฯ
32.2
ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากโควิด เพื่อให้คนหันมาใช้แทนรถส่วนตัว
15.3
ลดภาษีน้ำมัน ลดจำนวนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อไม่ให้น้ำมันในประเทศขึ้นราคา
14.4
รณรงค์ให้ประชาชนใช้รถส่วนตัวเท่าที่จำเป็น
13.1
แจกคูปอง บัตรเติมน้ำมันให้ประชาชน
13.0
ให้มีการ Work from Home อย่างจริงจังเพื่อลดภาระค่าเดินทาง
8.2
อื่นๆ อาทิ หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแก้ปัญหา ให้ตรึงราคาน้ำมันทุกประเภท ฯลฯ
3.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากน้ำมันแพง วิธีปรับตัวในช่วงสถานการณ์
น้ำมันแพง ตลอดจนข้อกังวลและแนวทางที่รัฐบาลควรแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือประชาชนลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพื่อสะท้อน
มุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 14-16 มีนาคม 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 มีนาคม 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
596
53.1
             หญิง
527
46.9
รวม
1,123
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 24 ปี
71
6.3
             25 – 34 ปี
157
14.0
             35 – 44 ปี
283
25.2
             45 – 54 ปี
317
28.2
             55 ปีขึ้นไป
295
26.3
รวม
1,123
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
665
59.2
             ปริญญาตรี
363
32.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
95
8.5
รวม
1,123
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
134
11.9
             ลูกจ้างเอกชน
231
20.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
460
41.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
51
4.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
216
19.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
13
1.2
             ว่างงาน
18
1.6
รวม
1,123
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898