หัวข้อคิดอย่างไรกับการแก้ไขปัญหาจราจรใน กทม. และปริมณฑลของรัฐบาลทักษิณ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ  :   การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้  เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 
                                                      ในประเด็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาจราจร และความเห็นของประชาชนในเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจร 
                                                      ใน กทม. และปริมณฑลของรัฐบาลทักษิณ 
ระเบียบวิธีการสำรวจ     
การสุ่มตัวอย่าง  :   การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่  18  ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครอง
                                ของกรุงเทพมหานคร เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ  
                                ขั้นแรก    แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน  ชั้นกลาง   และชั้นนอก
                                               หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
                                               ปทุมวัน ราชเทวี  พระนคร  ป้อมปราบศัตรูพ่าย  พญาไท   ดุสิต  สัมพันธวงศ์  สาทร 
                                               บางรัก ยานนาวา  คลองเตย  พระโขนง  ลาดพร้าว  บึงกุ่ม   ห้วยขวาง   วัฒนา  
                                               วังทองหลาง  บางกะปิ  สวนหลวง  คลองสาน ราษฎร์บูรณะ  หลักสี่  บางเขน มีนบุรี 
                                               บางแค  ภาษีเจริญ ธนบุรี บางพลัด บางกอกน้อย บางซื่อ
                                ขั้นสอง    จากแต่ละเขตที่สุ่มได้  สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย 
                                ขั้นที่สาม  สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้าตามกลุ่มเพศ 
ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,488 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "คิดอย่างไรกับการแก้ไขปัญหาจราจรใน กทม. และปริมณฑลของรัฐบาลทักษิณ" ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 - 21 สิงหาคม 2545 วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 23 สิงหาคม 2545 สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 350-3500 ต่อ 527 http://research.bu.ac.th สรุปผลการสำรวจ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ใน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,488 คน เป็นชายร้อยละ 46.9 เป็นหญิงร้อยละ 53.1 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.4 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 36.6 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี ร้อยละ 31.2 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี และร้อยละ 7.8 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.5 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือ
ร้อยละ 49.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน รับจ้างทั่วไป
นักศึกษา พนักงานรัฐวิสาหกิจ ค้าขาย เจ้าของกิจการ รับราชการ พ่อบ้านและแม่บ้าน และอาชีพอื่นๆ
2. เมื่อถามถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาการจราจรใน กทม.และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 19.4 คิดว่า การฝ่าฝืนวินัยจราจรของผู้ใช้ถนน เป็นสาเหตุอันดับแรก รองลงมาร้อยละ 19.0 ระบุว่าปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับพื้นที่ถนนและระบบทางด่วนที่สามารถรองรับได้ ร้อยละ 16.9 ระบุว่าการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ กระทบต่อพื้นผิวจราจร ร้อยละ 9.4 ระบุว่าการขาดระบบขนส่งมวลชนที่เพียงพอและรวดเร็ว ร้อยละ 9.2 ระบุว่าการจัดระบบอัตราค่าผ่านทางด่วนไม่สัมพันธ์ ส่งผลให้บางเส้นทางมีการใช้ประโยชน์ทางด่วนได้ไม่เต็มที่ ร้อยละ 8.1 ระบุว่าน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกจากผิวจราจรได้ทัน ร้อยละ 6.3 ระบุว่าโครงข่ายวงแหวนทำให้รถเข้าสู่เมืองได้เร็วส่งผลให้การจราจรคับคั่งในตัวเมือง ร้อยละ 6.1 ระบุว่าป้าย เครื่องหมาย และสัญญาณจราจรไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 4.8 ระบุว่าขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเส้นทางจราจร
3. สำหรับคำถามที่ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลของ
รัฐบาล โดยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นดังนี้ ระยะเร่งด่วน - การเร่งรัดและติดตามผลโครงการก่อสร้างที่ล้าช้า (โครงการก่อสร้างปรับปรุงสะพาน หัวช้าง, โครงการสร้างทางลอดใต้ทางแยกบางพลัด) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 92.4 ระบุว่าเห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 1.7 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การเข้มงวดกวดขันการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างจริงจัง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 82.0 ระบุว่าเห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 11.2 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ร้อยละ 6.8 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การทดลองปรับราคาค่าผ่านทางด่วน (ทางด่วนรามอินทรา - อาจณรงค์ต่อเชื่อม ทางด่วนขั้นที่ 1 ในอัตราค่าผ่านทาง 40 บาทเป็นเวลา 3 เดือน) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.6 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 24.2 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และมีถึงร้อยละ 21.2 ระบุว่าไม่มีความเห็น ระยะกลาง - การเพิ่มสายรถโดยสารประจำทางด่วนให้มากขึ้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 68.3 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 20.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 11.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งสาธารณะ เช่น การยกระดับคุณภาพการให้บริการ รถไฟชานเมือง, ส่งเสริมการใช้รถแท็กซี่ / รถตู้มวลชนเป็นทางเลือกในการเดินทาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 67.9 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 14.6 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 17.5 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางด่วนให้เป็นระบบปิด คือผู้ใช้เสียค่าผ่านทางตามระยะทาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57.0 ระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 25.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 17.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น ระยะยาว - การพัฒนาถนนสายรอง ถนนรวม และการกระจายการจราจรให้เป็นไปตามแผน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 78.4 ระบุว่าเห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.0 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การจัดลำดับความสำคัญโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ถนน และการพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกัน เช่น การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ไปถึงย่านชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 73.5 ระบุว่าเห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 15.9 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
 จำนวนร้อยละ
เพศ :   
            ชาย69846.9
            หญิง79053.1
อายุ :  
            18 - 25 ปี36324.4
            26 - 35 ปี54536.6
            36 - 45 ปี46431.2
             มากกว่า 45 ปี1167.8
การศึกษา :  
            ประถมศึกษา 755.0
            มัธยมศึกษา 24216.3
            ปวช.27118.2
            ปวส./อนุปริญญา16411.0
            ปริญญาตรี 64743.5
            สูงกว่าปริญญาตรี896.0
อาชีพ  :  
            พนักงานบริษัทเอกชน42428.5
            รับจ้างทั่วไป21314.3
            นักศึกษา19813.3
            พนักงานรัฐวิสาหกิจ17812.0
            ค้าขาย16811.3
            เจ้าของกิจการ1067.1
            รับราชการ1036.9
            พ่อบ้าน/แม่บ้าน684.6
            อาชีพอื่น ๆ ๆ302.0
ตารางที่ 2 ท่านคิดว่าปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
 ร้อยละ
การฝ่าฝืนวินัยจราจรของผู้ใช้ถนน19.4
ปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับพื้นที่ถนนและระบบทางด่วนที่สามารถรองรับได้19.0
การก่อสร้างโครงการต่าง ๆ กระทบต่อพื้นผิวจราจร16.9
การขาดระบบขนส่งมวลชนที่พียงพอและรวดเร็ว9.4
การจัดระบบอัตราค่าผ่านทางด่วนไม่สัมพันธ์ส่งผลให้บางเส้นทางมีการใช้ประโยชน์ทางด่วนได้ไม่เต็มที่9.2
น้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกจากผิวจราจรได้ทัน8.1
โครงข่ายวงแหวนทำให้รถเข้าสู่เมืองได้เร็วส่งผลให้การจราจรคับคั่งในตัวเมือง6.3
ป้าย เครื่องหมาย และสัญญาณจราจรไม่ได้มาตรฐาน6.1
ขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเส้นทางจราจร4.8
สาเหตุอื่น ๆ0.7
ตารางที่ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลของรัฐบาลดังต่อไปนี้หรือไม่
 
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น
ระยะเร่งด่วน
เร่งรัดและติดตามผลโครงการก่อสร้างที่ล้าช้า 92.41.75.9
การเข้มงวดกวดขันการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างจริงจัง82.011.26.8
ทดลองปรับราคาค่าผ่านทางด่วน 40 บาทเป็นเวลา 3 เดือน54.624.221.2
ระยะกลาง
การเพิ่มสายรถโดยสารประจำทางด่วนให้มากขึ้น68.320.011.7
ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบขนส่งสาธารณะ67.914.617.5
ปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางด่วนให้เป็นระบบปิด 57.025.117.9
ระยะยาว
การพัฒนาถนนสายรอง ถนนรวม และกระจายการจราจรให้เป็นไปตามแผน78.47.514.0
การจัดลำดับความสำคัญโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนถนนและการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกัน73.515.910.7
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ โทร. 3503500 ต่อ 776
 

Copyright ©1999 Computer Center Bangkok University.
All rights reserved Bangkok Poll Research Center