หัวข้อหญิงชาวกรุงกับการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงาน
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ  :    
                การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้  เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของหญิงชาวกรุง  เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงาน 
ในประเด็น การเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบพฤติกรรมต่าง ๆ  บุคคลที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงาน 
สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ  ผลกระทบด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ
ในสถานที่ทำงาน
ระเบียบวิธีการสำรวจ การสุ่มตัวอย่าง : การสำรวจ การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่ทำงานในสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน
อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทำงานอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,157 คน ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "หญิงชาวกรุงกับการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงาน" ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 - 21 กุมภาพันธ์ 2546 วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 28 กุมภาพันธ์ 2546 สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 776 http://research.bu.ac.th สรุปผลการสำรวจ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้หญิงที่ทำงานในสถานที่ราชการ
รัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,157 คน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.9 มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี ร้อยละ 43.6 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.3 มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี และร้อยละ 10.2 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 19.5 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือ
ร้อยละ 80.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน 2. เมื่อถามว่าเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 42.2 ระบุว่าเคย ร้อยละ 40.3 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 17.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ 3. สำหรับคำถามว่าเคยเผชิญกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงานหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นดังนี้
ทางวาจา
- เพศตรงข้ามวิจารณ์เกี่ยวกับรูปร่าง/การแต่งตัวที่ส่อไปในทางลามก
ร้อยละ 40.8 ระบุว่าเคย ร้อยละ 58.0 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 1.2 ระบุว่าไม่มีความเห็น
- การพูดสองแง่สองง่ามหรือพูดเรื่องสัปดน / พูดเสียดสีเล้าโลม
ร้อยละ 42.5 ระบุว่าเคย ร้อยละ 56.7 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 0.8 ระบุว่าไม่มีความเห็น
- ถูกตามตื้อตามจีบจากบุคคลที่ท่านไม่ชอบ
ร้อยละ 36.3 ระบุว่าเคย ร้อยละ 62.3 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 1.4 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ทางกิริยาอาการ
- ถูกจ้องมองอย่างกรุ้มกริ่มหรือส่อไปในทางเพศ
ร้อยละ 35.0 ระบุว่าเคย ร้อยละ 63.1 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 1.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
- ถูกจงใจให้เห็นภาพโป๊บนโต๊ะทำงานหรือในเครื่องคอมพิวเตอร์
ร้อยละ 18.8 ระบุว่าเคย ร้อยละ 78.9 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 2.4 ระบุว่าไม่มีความเห็น
- ถูกแอบดูตามห้องน้ำ
ร้อยละ 5.3 ระบุว่าเคย ร้อยละ 91.9 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 2.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น ทางการสัมผัส
- การยืน เดินหรือนั่งใกล้ชิดเกินความจำเป็นหรือใช้ร่างกายเสียดสี ร้อยละ 39.8 ระบุว่าเคย ร้อยละ 59.5 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 0.8 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การแตะเนื้อต้องตัว การจับต้องเสื้อผ้า / ร่างกาย การนวดคอ / แขน ร้อยละ 30.0 ระบุว่าเคย ร้อยละ 68.9 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 1.2 ระบุว่าไม่มีความเห็น - การกอดจูบ หอมแก้ม ตีก้น/ สะโพก จับหน้าอก ร้อยละ 14.9 ระบุว่าเคย ร้อยละ 83.6 ระบุว่าไม่เคย และร้อยละ 1.5 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถามว่าเคยถูกกระทำการล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลใดบ้าง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.3 ระบุว่าเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 14.7 ระบุว่าผู้บังคับบัญชา ร้อยละ 13.5 ระบุว่าลูกค้า ร้อยละ 4.0 ระบุว่าบุคคลในครอบครัว และร้อยละ 2.5 ระบุว่าผู้ใต้บังคับบัญชา 5. เมื่อถามว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.8 ระบุว่าการแต่งกายล่อแหลมไม่เหมาะสม ร้อยละ 15.0 ระบุว่าความผิดปกติของจิตใจ ร้อยละ 13.1 ระบุว่าความใกล้ชิด ร้อยละ 8.7 ระบุว่าอุปนิสัยส่วนตัว / ความเจ้าชู้ ร้อยละ 8.4 ระบุว่าลอกเลียนแบบสื่อโฆษณา และร้อยละ 8.2 ระบุว่าความคึกคะนอง / ความสนุก
6. สำหรับคำถามว่าพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ มีผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจอย่างไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.4 ระบุว่าความกลัว / อาย / วิตกกังวล ร้อยละ 15.3 ระบุว่าความโกรธ / เกลียด / รำคาญ ร้อยละ 9.8 ขาดความเชื่อมั่น ร้อยละ 8.6 ระบุว่าสุขภาพจิตเสีย ร้อยละ 6.7 ระบุว่าความเครียด / กดดัน ร้อยละ 5.7 ระบุว่าความรู้สึกไม่ดีกับผู้ชาย 7. ส่วนคำถามว่าพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ มีผลกระทบด้านการทำงานอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุว่าประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง ร้อยละ 23.2 ระบุว่าการขาดงาน ลางานบ่อย ร้อยละ 15.2 ระบุว่าสูญเสียกำลังใจในการทำงาน และร้อยละ 6.1 ระบุว่าเกิดความตรึงเครียด

8. เมื่อถามว่าควรใช้วิธีใดในการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.2 ระบุว่าควรป้องกันตนเอง ร้อยละ 15.3 ระบุว่า ควรวางตัวให้เหมาะสม ร้อยละ 10.8 ระบุว่าไม่ควรแต่งกายล่อแหลมไม่เหมาะสม ร้อยละ 9.4 ระบุว่าควรมีการจัดอบรมพฤติกรรม ร้อยละ 9.3 ระบุว่าควรมีกฎระเบียบที่เข็มงวด / มีการลงโทษตามกฎหมาย ร้อยละ 8.5 ระบุว่าควรฟ้องผู้บังคับบัญชา และร้อยละ 7.9 ระบุว่าควรโต้ตอบกลับ
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล

 ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
อายุ :  
 
 
            18 – 25 ปี
300
25.9
            26 – 35 ปี
504
43.6
            36 – 45 ปี
235
20.3
            มากกว่า 45 ปี
118
10.2
การศึกษา :  
 
 
            ประถมศึกษา
8
0.7
            มัธยมศึกษา
28
2.4
            ปวช.
31
2.7
            ปวส./อนุปริญญา
158
13.7
            ปริญญาตรี
819
70.8
            สูงกว่าปริญญาตรี
113
9.8
อาชีพ :  
            รับราชการ
370
32.0
            พนักงานรัฐวิสาหกิจ
403
34.8
            พนักงานบริษัทเอกชน
384
33.2

ตารางที่ 2
ท่านคิดว่าเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่
 
จำนวน
ร้อยละ
เคย
488
42.2
ไม่เคย
466
40.3
ไม่แน่ใจ
203
17.6

ตารางที่ 3
ท่านเคยเผชิญกับพฤติกรรมดังต่อไปนี้ในสถานที่ทำงานหรือไม่
 พฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ
เคย
ไม่เคย
ไม่มีความเห็น
ทางวาจา
     
1. เพศตรงข้ามวิจารณ์เกี่ยวกับรูปร่าง/การแต่งตัวที่ส่อไปในทางลามก
40.8
58.0
1.2
2. การพูดสองแง่สองง่ามหรือพูดเรื่องสัปดน / พูดเสียดสีเล้าโลม
42.5
56.7
0.8
3. ถูกตามตื้อตามจีบจากบุคคลที่ท่านไม่ชอบ
36.3
62.3
1.4
ทางกิริยาอาการ
 
 
 
4. ถูกจ้องมองอย่างกรุ้มกริ่มหรือส่อไปในทางเพศ
35.0
63.1
1.9
5. ถูกจงใจให้เห็นภาพโป๊บนโต๊ะทำงานหรือในเครื่องคอมพิวเตอร์
18.8
78.9
2.4
6. ถูกแอบดูตามห้องน้ำ
5.3
91.9
2.9
ทางการสัมผัส
 
 
 
7. การยืน เดินหรือนั่งใกล้ชิดเกินความจำเป็นหรือใช้ร่างกายเสียดสี
39.8
59.5
0.8
8. การแตะเนื้อต้องตัว การจับต้องเสื้อผ้า / ร่างกาย การนวดคอ / แขน
30.0
68.9
1.2
9. การกอดจูบ หอมแก้ม ตีก้น/ สะโพก จับหน้าอก
14.9
83.6
1.5

ตารางที่ 4
ท่านเคยถูกกระทำการล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลใดบ้าง
 
ร้อยละ
เพื่อนร่วมงาน
52.3
ผู้บังคับบัญชา
14.7
ลูกค้า
13.5
บุคคลในครอบครัว
4.0
ผู้ใต้บังคับบัญชา
2.5
อื่น ๆ
13.0

ตารางที่ 5
ท่านคิดว่าสิ่งใด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ
 
จำนวน
ร้อยละ
การแต่งกายล่อแหลมไม่เหมาะสม
298
25.8
ความผิดปกติของจิตใจคน
174
15.0
ความใกล้ชิด
152
13.1
อุปนิสัยส่วนตัว / ความเจ้าชู้
101
8.7
การลอกเลียนแบบสื่อโฆษณา
97
8.4
ความคึกคะนอง / ความสนุก
95
8.2
อื่น ๆ
240
20.7

ตารางที่ 6
ท่านคิดว่าพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศใน มีผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจอย่างไร
 
จำนวน
ร้อยละ
ความกลัว / อาย / วิตกกังวล
329
28.4
ความโกรธ / เกลียด / รำคาญ
177
15.3
ขาดความเชื่อมั่น
113
9.8
สุขภาพจิตเสีย
100
8.6
ความเครียด / กดดัน
78
6.7
ความรู้สึกไม่ดีกับผู้ชาย
66
5.7
อื่น ๆ
184
16.0
ไม่มีผลกระทบ
110
9.5

ตารางที่ 7 ท่านคิดว่าพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ มีผลกระทบด้านการทำงาน อย่างไร
 
จำนวน
ร้อยละ
ประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง
295
25.5
การขาดงาน ลางานบ่อย
269
23.2
สูญเสียกำลังใจในการทำงาน
176
15.2
เกิดความตรึงเครียด
71
6.1
อื่น ๆ
136
11.7
ไม่มีผลกระทบ
210
18.2

ตารางที่ 8 ท่านคิดว่าควรใช้วิธีใดในการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงาน
 
จำนวน
ร้อยละ
ควรป้องกันตัวเอง
269
23.2
ควรวางตัวให้เหมาะสม อาทิ ไม่อยู่ในที่ลับตาคน
177
15.3
ไม่ควรแต่งกายล่อแหลมไม่เหมาะสม
125
10.8
ควรมีการจัดอบรมพฤติกรรม
109
9.4
ควรมีกฎระเบียบที่เข็มงวด / มีการลงโทษตามกฎหมาย
108
9.3
ควรฟ้องผู้บังคับบัญชา
98
8.5
ควรโต้ตอบกลับ
91
7.9
อื่น ๆ
180
15.5

 


                                                                                                                   ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
                                                                                                                  โทร. 0-2350-3500 ต่อ 776
 
 

Copyright ©1999 Computer Center Bangkok University.
All rights reserved Bangkok Poll Research Center