หัวข้อเยาวชนคิด และทำอะไรในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ  :   การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้  เพื่อต้องการทราบความเห็นของเยาวชนในกรุงเทพเกี่ยวกับเรื่องความหมาย
                                                      และกิจกรรมที่คิดจะทำในวันอาสาฬหบูชา  และความเห็นเรื่องการรณรงค์ให้เยาวชนปฏิบัติธรรม หรือรณรงค์ให้
                                                      เยาวชน ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิดในช่วงเข้าพรรษา  ตลอดจนกิจวัตรทางศาสนาที่เยาวชนปฏิบัติ
ระเบียบวิธีการสำรวจ     
การสุ่มตัวอย่าง  :   การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างสอบถามนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาของรัฐ 
                                และเอกชนในเขตพื้นที่กทม. ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 800 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)  :  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล  :  การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ 
                                        ในเรื่อง  "เยาวชนคิด และทำอะไรในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล  :   23  กรกฎาคม  2545
วันที่เผยแพร่ข้อมูล  :   24  กรกฎาคม  2545
สำรวจโดย  :   ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

                                             สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม สัมภาษณ์นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาของรัฐ 
    และเอกชนในเขตพื้นที่กทม.  จำนวน 800  คน 
    เป็นชายร้อยละ 47.8 เป็นหญิงร้อยละ 52.3  
    กลุ่มตัวอย่าง  ร้อยละ 50.7  มีอายุระหว่าง 15 - 18 ปี  
    ร้อยละ  37.9  มีอายุระหว่าง 19 - 22 ปี  
    และร้อยละ  11.4  มีอายุระหว่าง  23 - 25 ปี  
    สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 24.6  ศึกษาระดับมัธยม  
    ร้อยละ 28.0 ศึกษาระดับปวช.  
    ร้อยละ 22.1 ศึกษาระดับปวส./อนุปริญญา  
    และร้อยละ25.3 ศึกษาระดับปริญญาตรี

2. เมื่อถามความหมายวันอาสาฬหบูชา  
    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 มีความคิดเห็นที่ถูกต้องคือวันแรกที่มี พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  
    ส่วน 39.5 มีความคิดเห็นที่คลาดเคลื่อน (ร้อยละ 22.0 ระบุว่าหมายถึงวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  
    และร้อยละ 17.5 ระบุว่าหมายถึงวันระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ)

3. สำหรับคำถามว่ากิจกรรมที่คิดจะทำในวันอาสาฬหบูชา  
    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 31.5  ระบุว่าจะทำบุญตักบาตร  
    ร้อยละ 23.5 ระบุว่าจะเวียนเทียน  
    ร้อยละ 13.4 ระบุว่าจะบริจาคทาน  
    ร้อยละ 6.9 ระบุว่าจะรักษาศีล  
    ร้อยละ 6.9 ระบุว่าจะอยู่บ้านอ่านหนังสือ  
    ร้อยละ 6.1 ระบุว่าจะฟังธรรม  
    ร้อยละ 2.9 ระบุว่าจะทำความสะอาดบ้าน  
    ร้อยละ 2.7 ระบุว่าจะเล่นกีฬา 
    ร้อยละ 2.0 ระบุว่าจะเดินเที่ยว/ช๊อปปิ้ง  
    ร้อยละ 1.6 ระบุว่าจะปลูกต้นไม้  
    และร้อยละ 1.5 ระบุว่าจะจัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา  

4. ส่วนคำถามว่าถ้านึกถึงวันเข้าพรรษา จะนึกถึงอะไรบ้าง  
    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 38.9 ระบุว่านึกถึง  ประเพณี  หล่อเทียน ถวายเทียนพรรษา  และแห่เทียนเข้าพรรษา  
    ร้อยละ 23.8 ระบุว่าจะนึกถึงการทำบุญตักบาตร  
    มีเยาวชนเพียงร้อยละ 16.1  ที่เข้าใจสาระสำคัญของวันเข้าพรรษาว่าจะนึกถึงการจำพรรษาของพระสงฆ์ตลอด 3 เดือน  
    ร้อยละ 13.3 ระบุว่าจะนึกถึงการถวายผ้าอาบน้ำฝน/ถวายเครื่องสังฆทาน  
    และร้อยละ 7.3 ระบุจะนึกถึงการท่องเที่ยวงานแห่เทียนพรรษา

5. เมื่อถามว่าช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา ควรจะรณรงค์ให้เยาวชนปฏิบัติธรรมหรือไม่ (เช่น การรักษาศีล  ไหว้พระ  สวดมนต์  ฟังธรรม  นั่งสมาธิ)  
    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ  90.1  ระบุว่าควรรณรงค์  
    มีเพียงร้อยละ 4.5 ระบุว่าไม่ควรรณรงค์  
    และร้อยละ 5.4 ไม่มีความเห็น

6. สำหรับคำถามว่าช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา ควรจะรณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งด จำหน่าย สิ่งเสพติดทุกชนิดหรือไม่  
    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 75.9  ระบุว่าควรรณรงค์  
    มีเพียงร้อยละ 12.8  ระบุว่าไม่ควรรณรงค์  
    และร้อยละ 11.4 ไม่มีความเห็น

7. ส่วนคำถามว่าโดยปกติปฏิบัติกิจวัตรทางศาสนาหรือไม่  
    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 69.8  ระบุว่าปฏิบัติ  
    ร้อยละ 27.4 ระบุว่าไม่ได้ปฏิบัติ  
    และร้อยละ 2.9 ไม่มีความเห็น


8. เมื่อถามว่ากิจวัตรทางศาสนาที่ปฏิบัติคืออะไร  
    กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุว่าไหว้พระ  
    ร้อยละ 30.9 ระบุว่าทำบุญตักบาตร  
    ร้อยละ 18.3 ระบุว่าสวดมนต์  
    ร้อยละ 6.8 ระบุว่ารักษาศีล  
    และร้อยละ 4.1 ระบุว่าฟังธรรม  


ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
  จำนวน ร้อยละ
เพศ :     
            ชาย 382 47.8
            หญิง 418 52.3
อายุ :    
            15 - 18 ปี 406 50.7
            19-22 ปี 303 37.9
             23-25 ปี 91 11.4
การศึกษา :    
            มัธยมศึกษา 197 24.6
            ปวช. 224 28.0
            ปวส./อนุปริญญา 177 22.1
            ปริญญาตรี 202 25.3
ตารางที่ 2 วันอาสาฬหบูชา หมายถึง
  จำนวน ร้อยละ
วันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ 484 60.5
วันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า 176 22.0
วันระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ 140 17.5
ตารางที่ 3 กิจกรรมที่คิดจะทำในวันอาสาฬหบูชา
  ร้อยละ
ทำบุญตักบาตร 31.5
เวียนเทียน 23.5
บริจาคทาน 13.4
รักษาศีล 6.9
อยู่บ้านอ่านหนังสือ 6.9
ฟังธรรม 6.1
ทำความสะอาดบ้าน 2.9
เล่นกีฬา 2.7
เดินเที่ยว/ช๊อปปิ้ง 2.0
ปลูกต้นไม้ 1.6
จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา 1.5
อื่น ๆ 0.9
ตารางที่ 4 ถ้านึกถึงวันเข้าพรรษา จะนึกถึงอะไรบ้าง
  ร้อยละ
ประเพณี หล่อเทียน ถวายเทียนพรรษา และแห่เทียนเข้าพรรษา 38.9
ทำบุญตักบาตร 23.8
การจำพรรษาของพระสงฆ์ ตลอด 3 เดือน 16.1
ถวายผ้าอาบน้ำฝน/ถวายเครื่องสังฆทาน 13.3
การท่องเที่ยวงานแห่เทียนพรรษา 7.3
อื่น ๆ 0.6
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่าช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา ควรจะรณรงค์ให้เยาวชนปฏิบัติธรรมหรือไม่ (เช่น การรักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ)
  จำนวน ร้อยละ
ควรรณรงค์ 721 90.1
ไม่ควรรณรงค์ 36 4.5
ไม่มีความเห็น 43 5.4
ตารางที่ 6 ท่านคิดว่าช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา ควรจะรณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งด จำหน่าย สิ่งเสพติดทุกชนิดหรือไม่
  จำนวน ร้อยละ
ควรรณรงค์ 607 75.9
ไม่ควรรณรงค์ 102 12.8
ไม่มีความเห็น 91 11.4
ตารางที่ 7 โดยปกติท่านได้ ปฏิบัติกิจวัตรทางศาสนา หรือไม่
  จำนวน ร้อยละ
ปฏิบัติ 558 69.8
ไม่ได้ปฏิบัติ 219 27.4
ไม่มีความเห็น 23 2.9
ตารางที่ 8 กิจวัตรทางศาสนาที่ท่านปฏิบัติ
  ร้อยละ
ไหว้พระ 39.4
ทำบุญตักบาตร 30.9
สวดมนต์ 18.3
การรักษาศีล 6.8
ฟังธรรม 4.1
อื่น ๆ 0.6
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ โทร. 3503500 ต่อ 776

Copyright ©1999 Computer Center Bangkok University.
All rights reserved Bangkok Poll Research Center