Connect to DB
..........................หัวข้อ " ความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง"
..........................วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
............................... ..... การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของคนกรุงในเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการ
..........................รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) และความรู้สึกหวาดกลัวต่อภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนความมั่นใจต่อมาตรการแก้
.......................... ปัญหาภัยอันตรายต่าง ๆ บนรถเมล์
..........................ระเบียบวิธีการสำรวจ

..........................การสุ่มตัวอย่าง : ..การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์)
.........................................................ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 เขต คือ
.........................................................บึงกุ่ม บางกะปิ มีนบุรี ดุสิต บางซื่อ พระนคร ดินแดง บางเขน จตุจักร คลองเตย พระโขนง วัฒนา บางกอกน้อย
.........................................................บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ คลองสาน คลองสามวา จอมทอง ตลิ่งชัน ทุ่งครุ คันนายาว บางขุนเทียน บางคอแหลม
.........................................................บางแค บางบอน ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ บางนา ลาดพร้าว วังทองหลาง
.........................................................ดอนเมือง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองแขม หลักสี่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,171 คน

..........................ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
..........................วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
............................................. ..... ..... ..... .ในเรื่อง " ความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง "
..........................ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 23 - 24 สิงหาคม 2546
..........................วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 26 สิงหาคม 2546
..........................สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th
..........................สรุปผลการสำรวจ

..........................1. . การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง 1,171 คน
................................ในเขตกรุงเทพมหานคร
................................เป็นชายร้อยละ 42.5
................................เป็นหญิงร้อยละ 57.5
......................................กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 46.5 มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี
................................ร้อยละ 26.8 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี
................................ร้อยละ 15.6 มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี
................................และร้อยละ 11.1 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
.....................................สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
................................ร้อยละ 54.6 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
................................ที่เหลือ ร้อยละ 45.4 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
................................ประกอบอาชีพ นักศึกษา พนังงานบริษัทเอกชน รับจ้างทั่วไป รับราชการ ค้าขาย
................................พ่อบ้านและแม่บ้าน พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าของกิจการ

..........................2. . เมื่อถามว่า ปัจจุบันการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีความปลอดภัยหรือไม่
................................ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.9 ระบุว่าไม่ปลอดภัย
................................ร้อยละ 21.6 ระบุว่าปลอดภัย
................................และร้อยละ 34.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ
..........................3. ..สำหรับคำถาม เมื่อเดินทางโดยรถเมล์ในปัจจุบัน จะรู้สึกหวาดกลัวกับเรื่องใดมากที่สุด
................................ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34.2 ระบุว่าการล้วง หรือกรีดกระเป๋า
................................ ร้อยละ 25.4 ระบุว่าการตีกันของวัยรุ่น
................................ ร้อยละ 19.6 ระบุว่าการปล้นทรัพย์สิน
................................ และร้อยละ 12.2 ระบุว่าการลวนลามทางเพศ
..........................4. .ส่วนคำถาม คนกลุ่มใดที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อความรุนแรง หรือภัยอันตรายต่าง ๆ บนรถเมล์มากที่สุด
............................... กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 55.8 ระบุว่าผู้หญิง
................................ร้อยละ 33.4 ระบุว่าเด็ก นักเรียน นักศึกษา
................................ร้อยละ 6.2 ระบุว่าผู้สูงอายุ
................................ และร้อยละ 2.5 ระบุว่าพนักงานขับรถ และกระเป๋ารถเมล์
..........................5. ..เมื่อถามมั่นใจหรือไม่ว่า หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะแก้ไขปัญหาเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนรถเมล์ได้อย่างจริงจัง
................................ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.7 ระบุว่ามั่นใจ
................................ ร้อยละ 73.0 ระบุว่าไม่มั่นใจ
................................ และร้อยละ 10.3 ระบุว่าไม่มีความเห็น
..........................6. ..สำหรับคำถามทราบข่าวมาตรการติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบ และไซเรนเตือนภัยบนรถเมล์ ขสมก. เฉพาะเส้นทางที่เสี่ยงอันตราย หรือไม่
................................ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ระบุว่าทราบ
................................ ร้อยละ 41.8 ระบุว่าไม่ทราบ
..........................7. ..ส่วนมั่นใจหรือไม่ว่ามาตรการ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบ และไซเรนเตือนภัยบนรถเมล์จะสามารถแก้ปัญหาภัยอันตรายต่าง ๆ
................................ที่เกิดขึ้นบนรถเมล์ได้ ................................
................................กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.7 ระบุว่ามั่นใจ
................................ร้อยละ 62.3 ระบุว่าไม่มั่นใจ
................................และร้อยละ 13.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
 

ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล

 
........................................ ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
   จำนวน ร้อยละ
เพศ :    
            ชาย 498 42.5
             หญิง 673 57.5
อายุ :    
            18 – 25 ปี 544 46.5
            26 – 35 ปี 314 26.8
            36 – 45 ปี 183 15.6
            มากกว่า 45 ปี 130 11.1
การศึกษา:    
            ประถมศึกษา 106 9.1
            มัธยมศึกษา 305 26.0
            ปวช. 75 6.4
            ปวส./อนุปริญญา 153 13.1
            ปริญญาตรี 490 41.8
            สูงกว่าปริญญาตรี 42 3.6
อาชีพ :    
            นักศึกษา 310 26.5
            พนักงานบริษัทเอกชน 288 24.6
            รับจ้างทั่วไป 166 14.2
            รับราชการ 99 8.5
            ค้าขาย 93 7.9
            พ่อบ้าน/แม่บ้าน 61 5.2
            พนักงานรัฐวิสาหกิจ 57 4.9
            เจ้าของกิจการ 48 4.1
            อาชีพอื่น ๆ 49 4.2
........................................ ตารางที่ 2 ท่านคิดว่า ปัจจุบันการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีความปลอดภัยหรือไม่
  จำนวน ร้อยละ
ไม่ปลอดภัย 514 43.9
ปลอดภัย 253 21.6
ไม่แน่ใจ 404 34.5
........................................ ตารางที่ 3 เมื่อท่านเดินทางโดยรถเมล์ในปัจจุบัน จะรู้สึกหวาดกลัวกับเรื่องใดมากที่สุด
  จำนวน ร้อยละ
การล้วง หรือกรีดกระเป๋า 401 34.2
การตีกันของวัยรุ่น 297 25.4
การปล้นทรัพย์สิน 230 19.6
การลวนลามทางเพศ 143 12.2
อื่น ๆ 100 8.6
........................................ ตารางที่ 4 ท่านคิดว่า คนกลุ่มใดที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อความรุนแรง หรือภัยอันตรายต่าง ๆ บนรถเมล์มากที่สุด
  จำนวน ร้อยละ
ผู้หญิง 653 55.8
เด็ก นักเรียน นักศึกษา 391 33.4
ผู้สูงอายุ 73 6.2
พนักงานขับรถ และกระเป๋ารถเมล์ 29 2.5
อื่น ๆ 25 2.1
........................................ ตารางที่ 5 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะแก้ไขปัญหาเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ
............................................................ ที่เกิดขึ้นบนรถเมล์ได้อย่างจริงจัง
  จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 195 16.7
ไม่มั่นใจ 855 73.0
ไม่มีความเห็น 121 10.3
........................................ ตารางที่ 6 ท่านทราบข่าว มาตรการติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบ และไซเรนเตือนภัยบนรถเมล์ ขสมก.
............................................................ เฉพาะเส้นทางที่เสี่ยงอันตราย หรือไม่
  จำนวน ร้อยละ
ทราบ 682 58.2
ไม่ทราบ 489 41.8
........................................ ตารางที่ 7 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่ามาตรการ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบ และไซเรนเตือนภัยบนรถเมล์จะสามารถ
............................................................ แก้ปัญหาภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนรถเมล์ได้
  จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 278 23.7
ไม่มั่นใจ 730 62.3
ไม่มีความเห็น 163 13.9
 
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( ความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email : research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776