Connect to DB
  หัวข้อ : "ความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งของเยาวชนรุ่นใหม่"
  เหตุผลและที่มาของการสำรวจ :.
                 เป้าหมายสำคัญของการจัดการเลือกตั้งทุกครั้งคือการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ทั้งนี้เพราะสำหรับสังคมประชาธิปไตย
แล้ว การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สูงขึ้นย่อมหมายถึงการตัดสินใจทางการเมืองที่ถูกต้องยิ่งขึ้นด้วย
            เยาวชนคนรุ่นใหม่คือกลุ่มบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นความหวังของประเทศชาติ โดยเป็นผู้ที่มีโอกาสทาง
การศึกษาดี และมีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าประชาชนทั่วไป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 จึงกำหนดให้เยาวชนอายุ 18-25 ปีมีสิทธิ์เลือกตั้งได้ นอกจากนี้การที่เยาวชนยังมีโอกาสในการใช้สิทธิ์
เลือกตั้งได้อีกหลายครั้ง ในชีวิต จึงเป็นกลุ่มที่สมควรได้รับการกระตุ้นปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับ การไปใช้สิทธิ์
เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานหลายแห่งได้ช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างความตื่นตัว
ในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแก่เยาวชนทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด บางแห่งถึงกับวางกลยุทธ์โดยใช้เด็กยุคใหม่นำผู้ใหญ่
ไปเลือกตั้ง
            อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากข่าวคราวเกี่ยวกับเยาวชนไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะพบว่าเป็นข่าวที่ออกมา
ในเชิงลบ เสียเป็นส่วนมาก จนดูเหมือนกับว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันไม่สนใจความเป็นไปของสังคมหรือประเทศชาติ
นอกจากสนใจแต่ตัวเองเท่านั้น
            ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงสนใจสำรวจประเด็นเกี่ยวกับความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ ของเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อจะได้ทราบถึงความสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ความตั้งใจ
ในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง พร้อมทั้งเหตุผลของ การไปใช้สิทธิ์และไม่ไปใช้สิทธิ์ เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
รวมถึงคุณสมบัติของรัฐบาลที่อยากได้ เพื่อเป็นแนวทางในการกระตุ้นโน้มน้าวให้คนกลุ่มนี้ ได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยเฉพาะการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งให้มากยิ่งขึ้น
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :.
 

            เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของเยาวชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
ในประเด็นต่อไปนี้
            • ความสนใจติดตามข่าวสารและการให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งครั้งนี้
            • การตัดสินใจที่จะไปใช้สิทธิ์หรือไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง พร้อมทั้งเหตุผลในการตัดสินใจ
            • การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า
            • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการ และขั้นตอนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
            • หลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
            • คุณสมบัติของรัฐบาลที่อยากได้

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่
ในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และชลบุรี ทั้งที่กำลังศึกษาอยู่ และไม่ได้ศึกษาแล้ว ได้ตัวอย่างจำนวน 1,795 คน
เป็นชายร้อยละ 47.1 หญิงร้อยละ 52.9
              สำหรับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 71.9 กำลังศึกษาอยู่ และร้อยละ 28.1 ไม่ได้ศึกษาแล้ว
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : .การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
                                   ในเรื่อง "ความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งของเยาวชนรุ่นใหม่"
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : . 29 - 31 มกราคม 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 2 กุมภาพันธ์ 2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
                1. ความสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ เยาวชนส่วนใหญ่ คือร้อยละ 80.9
ให้ความสนใจ ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง (โดยร้อยละ 18.7 สนใจมาก และร้อยละ 62.2 ค่อนข้างสนใจ) ในขณะที่
ร้อยละ 19.1 ไม่สนใจ (โดยไม่สนใจเลย ร้อยละ 1.6 และไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 17.5)

                            

                2. เมื่อถามถึงความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ที่มีต่อตนเอง เยาวชนร้อยละ 85.1 เห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้
มีความสำคัญต่อตนเอง (โดยระบุว่าสำคัญมาก ร้อยละ 35.5 และค่อนข้างสำคัญ ร้อยละ 49.6) ในขณะที่ ร้อยละ 14.9
เห็นว่า ไม่สำคัญ (โดยระบุว่าไม่สำคัญเลย ร้อยละ 1.5 และไม่ค่อยสำคัญ ร้อยละ 13.4

                     

                3. สำหรับความตั้งใจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ ร้อยละ 86.6 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ในขณะที่ ร้อยละ 10.1 จะไม่ไปใช้สิทธิ์ และอีกร้อยละ 3.3 ยังไม่แน่ใจ
                                      
                    สำหรับกลุ่มที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 58.7 ได้ให้เหตุผลว่า เป็นหน้าที่ที่จะต้องไปใช้สิทธิ์ของตน
ตามระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 27.6 ไปเพื่อให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง ร้อยละ 12.4 ไปเพราะกลัวถูกตัดสิทธิ์ทาง
การเมืองและอื่นๆ เช่น ไปเพราะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของตน และไปตามครอบครัว ร้อยละ 1.3
                        

                    ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 54.9 ให้เหตุผลว่าเนื่องจากบ้านอยู่จังหวัดอื่นจึงไม่สะดวก
และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ร้อยละ 21.1 ไม่ไปเพราะติดธุระ ร้อยละ 9.5 ไม่ไปเพราะเบื่อนักการเมือง ร้อยละ 4.7
ไม่ไปเพราะไม่มีผู้สมัครที่ชอบ ร้อยละ 2.8 ไม่ไปเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว ร้อยละ 2.8 ไม่ไปเพราะหยุดงานไม่ได้ และ
เหตุผลอื่นอีกร้อยละ 4.2
                    

                    ทั้งนี้ การสำรวจพบว่าอายุของเยาวชนมีผลต่อความสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้งและการเห็นถึง
ความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเยาวชนที่มีระดับอายุมากขึ้นจะสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง และให้
ความสำคัญต่อการเลือกตั้งมากขึ้นไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ระดับอายุของเยาวชนที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อความตั้งใจ
ในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
             

                 
                    นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งของเยาวชนอายุ 18-25 ปี กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
ทุกช่วงอายุ ที่ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ได้ดำเนินการสำรวจไปเมื่อวันที่ 20-23 มกราคมที่ผ่านมา พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม
มีปริมาณของความตั้งใจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้เท่ากัน คือร้อยละ 86.6

                4. เกี่ยวกับการเปิดให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่าเยาวชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทราบ
เรื่องดังกล่าวร้อยละ 83.1 ขณะที่อีกร้อยละ 16.9 ระบุว่าไม่ทราบ อย่างไรก็ตามในบรรดาเยาวชนที่ทราบว่ามีการเปิดให้
ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า ได้นั้นยังมีบางส่วนที่ไม่ทราบวันเวลาและสถานที่ในการเปิดให้ไปใช้สิทธิ์
                                

                5. ส่วนการเลือกตั้งครั้งนี้ที่จะต้องเลือก สส. พร้อมกัน 2 ระบบ คือระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) และระบบ
แบ่งเขตนั้น เยาวชนส่วนใหญ่ ่คือร้อยละ 87.4 ระบุว่าทราบเรื่องดังกล่าว มีส่วนที่ไม่ทราบเพียงร้อยละ 12.6
                                 
                6. ในส่วนของความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการในการลงคะแนนเลือกตั้ง เยาวชนร้อยละ 34.6 ระบุว่า
มีความเข้าใจถึง ขั้นตอนวิธีการดังกล่าวเป็นอย่างดี ร้อยละ 49.6 ค่อนข้างเข้าใจ ร้อยละ 13.5 ยังไม่ค่อยเข้าใจ และร้อยละ 2.3
ยังไม่เข้าใจเลย
                       
                7. เมื่อถามว่ามีผู้สมัครที่จะเลือกอยู่ในใจแล้วหรือยัง ร้อยละ 60.2 ระบุว่ามีผู้สมัครที่จะเลือกอยู่ในใจแล้ว แต่ก็ยัง
มีเยาวชนอีกถึง ร้อยละ 39.8 ที่ยังไม่มีผู้สมัครที่จะเลือกอยู่ในใจแม้จะเหลือเวลาอีกเพียง 1 สัปดาห์จะถึงวันเลือกตั้งก็ตาม
                                
                    ทั้งนี้ ร้อยละ 42.6 ระบุว่าจะเลือก สส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ สส.ระบบแบ่งเขตที่มาจากพรรคเดียวกัน
ในขณะที่ร้อยละ 18.4 จะเลือก สส.คนละพรรค และ ร้อยละ 39.0 ยังไม่แน่ใจ
             
                8. ส่วนเกณฑ์ในการเลือกผู้สมัครสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ เยาวชนร้อยละ 38.8 ตัดสินใจโดยดูจากนโยบาย
ที่นำเสนอ รองลงมา ร้อยละ 30.8 ดูที่ตัวผู้สมัคร ร้อยละ 23.0 ดูพรรคที่สังกัด ร้อยละ 4.3 ดูทีมผู้สนับสนุน และร้อยละ 3.0
พิจารณาจากเกณฑ์อื่น เช่น ผลงานในอดีตและเลือกตามครอบครัว
               
                    เมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้สมัครระหว่างเยาวชนอายุ 18-25 ปีที่สำรวจครั้งนี้ กับเกณฑ์
การเลือกของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยรวมซึ่งสำรวจเมื่อวันที่ 20-23 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยรวมเลือกจากพรรค
เป็นอันดับแรก (ร้อยละ 36.3) ขณะที่กลุ่มเยาวชนเลือกที่นโยบายเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 38.8)

                9. สำหรับคุณสมบัติของรัฐบาลที่อยากได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้ เยาวชนร้อยละ 24.5 อยากได้รัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์
กว้างไกล รองลงมา ร้อยละ 24.1 อยากได้รัฐบาลที่ไม่คอร์รัปชันโกงกิน ร้อยละ 21.2 อยากได้รัฐบาลที่ทำเพื่อประชาชนจริงๆ
ร้อยละ 14.7 อยากได้รัฐบาลที่รับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 12.7 อยากได้รัฐบาลที่พูดจริงทำจริง และต้องการ
คุณสมบัติอื่น เช่นรัฐบาลที่เข้าถึงประชาชนเหมือนตอนหาเสียง และรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอีก ร้อยละ 2.8
         

  บทสรุปและวิเคราะห์ :.
                 ผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเยาวชนรุ่นใหม่มีความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้ ค่อนข้างมาก
โดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้งและเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์
ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ โดยเยาวชนร้อยละ 86.6 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งเป็นจำนวน เท่ากับเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของ
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรวมทุกช่วงอายุที่ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ได้สำรวจไปเมื่อวันที่
20-23 มกราคม ที่ผ่านมา
            เมื่อพิจารณาจากเหตุผลของเยาวชนกลุ่มที่ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทำให้เห็นว่า เยาวชนรุ่นใหม่
ของไทยมีความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนตามระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องไปเลือกตั้งเพื่อให้ได้คนดี
เข้ามาบริหารบ้านเมือง ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจากบ้านอยู่จังหวัดอื่น
จึงไม่สะดวกและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คำตอบดังกล่าวน่าจะบ่งบอกได้ว่า การประชาสัมพันธ์ข้อมูล
เรื่องการลงคะแนนล่วงหน้านอกเขตจังหวัดยังเข้าถึงกลุ่มเยาวชนไม่มากเพียงพอ
             นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่าเยาวชนรุ่นใหม่มีเกณฑ์ในการเลือกผู้สมัครโดยดูจากนโยบายที่นำเสนอ
เป็นหลัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่ายินดีว่าคนรุ่นใหม่ไม่ได้ยึดติดกับตัวผู้สมัครหรือพรรคการเมืองเป็นหลัก
จริงอยู่ที่ส่วนหนึ่งของเยาวชนกลุ่มนี้เพิ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งแรก จึงยังไม่มีใจผูกพันอยู่กับผู้สมัครคนใดหรือ
พรรคใดเป็นพิเศษ แต่การตัดสินใจโดยดูจากนโยบายย่อมแสดงให้เห็นว่าเยาวชนไทยในปัจจุบันรู้จักคิด
พิจารณาก่อนตัดสินใจ โดยเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและเหตุผลมากกว่าอยู่บนพื้นฐานด้านอารมณ์
หรือความชอบเป็นการส่วนตัว จึงเชื่อว่าหากเยาวชนไทยไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันจำนวนมากย่อมจะช่วยให้
ประเทศชาติมีโอกาสได้รัฐบาลที่มีคุณภาพมาบริหารบ้านเมือง
            สำหรับคุณสมบัติของรัฐบาลที่เยาวชนอยากได้มากที่สุดคือรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์
ใกล้เคียงกับความต้องการรัฐบาลที่ไม่คอร์รัปชันโกงกิน ผลสำรวจในส่วนนี้บ่งบอกได้ว่าคนรุ่นใหม่ต้องการรัฐบาล
ที่มีทั้งความสามารถและความซื่อตรงประกอบกัน ไม่ได้ต้องการรัฐบาลที่มีแต่ความเก่งแต่ขาดความดีหรือ
รัฐบาลที่มีความดีแต่ด้อยความสามารถในการนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญในอนาคต
   
 

ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล

       
    ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
   จำนวน ร้อยละ
เพศ :
            ชาย 845 47.1
            หญิง 950 52.9
อายุ :
            18 ปี
162
9.0
            19 ปี
225
12.5
            20 ปี
279
15.5
            21 ปี
256
14.3
            22 ปี
265
14.8
            23 ปี
239
13.3
            24 ปี
188
10.5
            25 ปี
181
10.1
การศึกษา :
            กำลังศึกษาอยู่ 1290 71.9
            ไม่ได้ศึกษาแล้ว 505 28.1
ประสบการณ์การเลือกตั้ง สส. :
            เคยไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สส. แล้ว
888
49.5
            ยังไม่เคยไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สส.
907
50.5
   
ตารางที่ 2: ท่านสนใจติดตามข่าวการเลือกตั้ง สส. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้หรือไม่
   
   จำนวน ร้อยละ
สนใจมาก 336 18.7
ค่อนข้างสนใจ 1117 62.2
ไม่ค่อยสนใจ 313 17.5
ไม่สนใจเลย
29
1.6
     

• เปรียบเทียบระดับอายุของเยาวชนกับความสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง

     
อายุ
สนใจติดตามข่าวการ
เลือกตั้ง
ไม่สนใจติดตามข่าวการ
เลือกตั้ง
18
1183 (65.9)
612 (30.1)
19
1371 (76.4)
424 (23.6)
20
1434 (79.9)
361 (20.1)
21
1468 (81.8)
327 (18.2)
22
1463 (81.5)
332 (18.5)
23
1502 (83.7)
293 (16.3)
24
1576 (87.8)
219 (12.2)
25
1578 (87.9)
217 (12.1)
เฉลี่ย
1453 (80.9)
342 (19.1)
   
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญต่อตัวท่านมากน้อยเพียงใด
   
   จำนวน ร้อยละ
สำคัญมาก 637 35.5
ค่อนข้างสำคัญ 890 49.6
ไม่ค่อยสำคัญ 241 13.4
ไม่สำคัญเลย 27 1.5
     

• เปรียบเทียบระดับอายุของเยาวชนกับการเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง

     
อายุ
สำคัญ
ไม่สำคัญ
18
1337 (74.5)
458 (25.5)
19
1436 (80.0)
359 (20.0)
20
1531 (85.3)
264 (14.7)
21
1562 (87.0)
233 (13.0)
22
1565 (87.2)
230 (12.8)
23
1578 (87.9)
217 (12.1)
24
1608 (89.6)
187 (10.4)
25
1610 (89.7)
185 (10.3)
เฉลี่ย
1527 (85.1)
268 (14.9)
   


ตารางที่ 4: ท่านจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สส. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้หรือไม่

   
   จำนวน ร้อยละ
ไป 1554 86.6
ไม่ไป 181 10.1
ไม่แน่ใจ 60 3.3
      • เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สส. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
     
 
จำนวน
ร้อยละ
เป็นหน้าที่ที่จะต้องไปใช้สิทธิ์ของตน
1189
58.7
เพื่อให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง
558
27.6
กลัวถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
251
12.4
อื่น ๆ เช่น เป็นการเลือกตั้งครั้งแรก และไปตามครอบครัว
27
1.3
     

• เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สส. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์

     
 
จำนวน
ร้อยละ
บ้านอยู่จังหวัดอื่น
112
54.9
ติดธุระ
45
21.1
เบื่อนักการเมือง
20
9.5
ไม่มีผู้สมัครที่ชอบ
10
4.7
เป็นเรื่องไกลตัว
6
2.8
หยุดงานไม่ได้
6
2.8
อื่น ๆ
9
4.2
   
ตารางที่ 5: ท่านทราบหรือไม่ว่ามีการเปิดให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าได้
   
 
จำนวน
ร้อยละ
ทราบ
1491
83.1
ไม่ทราบ
304
16.9
   
ตารางที่ 6: ท่านทราบหรือไม่ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้จะต้องเลือก สส. พร้อมกัน 2 ระบบ
                คือ ระบบบัญชีรายชื่อ และระบบแบ่งเขต
   
 
จำนวน
ร้อยละ
ทราบ
1568
87.4
ไม่ทราบ
227
12.6
   
ตารางที่ 7: ท่านเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เข้าใจเป็นอย่างดี
621
34.6
ค่อนข้างเข้าใจ
891
49.6
ไม่ค่อยเข้าใจ
242
13.5
ไม่เข้าใจเลย
41
2.3
   
ตารางที่ 8: ท่านมีผู้สมัครที่จะเลือกอยู่ในใจแล้วหรือยัง
   
 
จำนวน
ร้อยละ
มีแล้ว
1081
60.2
ยังไม่มี
714
39.8
   
ตารางที่ 9: ท่านจะเลือก สส. ระบบบัญชีรายชื่อ และระบบแบ่งเขต ที่มาจากพรรคเดียวกันหรือไม่
   
 
จำนวน
ร้อยละ
พรรคเดียวกัน
764
42.6
คนละพรรค
331
18.4
ยังไม่แน่ใจ
700
39.0
   
ตารางที่ 10: เกณฑ์ในการเลือกผู้สมัครสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านพิจารณาจากสิ่งใดเป็นสำคัญ
   
 
จำนวน
ร้อยละ
ดูนโยบายที่นำเสนอ
944
38.8
ดูที่ตัวผู้สมัคร
749
30.8
ดูพรรคที่สังกัด
560
23.0
ดูที่หัวคะแนน
104
4.3
อื่น ๆ เช่น ดูจากผลงานในอดีต และ เลือกตามครอบครัว
74
3.0
   
ตารางที่ 11: คุณสมบัติของรัฐบาลที่ท่านอยากได้มากที่สุด
   
 
จำนวน
ร้อยละ
รัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
439
24.5
รัฐบาลที่ไม่คอร์รัปชันโกงกิน
432
24.1
รัฐบาลที่ทำเพื่อประชาชนจริง ๆ
381
21.2
รัฐบาลที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน
264
14.7
รัฐบาลที่พูดจริงทำจริง
228
12.7
อื่น ๆ เช่น รัฐบาลที่เข้าถึงประชาชนเหมือนตอนที่ไปหาเสียง และรัฐบาล
ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา
51
2.8
 
   
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
   
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
   
Download document file :   ( ความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งของเยาวชนรุ่นใหม่ )
   
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776