|
หัวข้อ
: "คุณภาพชีวิตของสาวโรงงาน" |
|
เหตุผลและที่มาของการสำรวจ :. |
|
ด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ
อันเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะได้หันมา
ใส่ใจถึงคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน กลุ่มคนผู้ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงจำนวนไม่น้อยที่กระจายอยู่ตามโรงงานต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้
มักตกเป็นผู้เสียเปรียบและด้อยโอกาสในหลายๆ ด้าน นับตั้งแต่ด้านการศึกษา
การประกอบอาชีพ รายได้ รวมถึงการใช้ชีวิต
อย่างมีคุณภาพทัดเทียมบุคคลในอาชีพอื่น ในโอกาสดังกล่าวศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ข้อมูลเกี่ยวกับ
คุณภาพชีวิต ของสาวโรงงานในปัจจุบันขึ้นเพื่อเป็นช่องทางสะท้อนภาพเกี่ยวกับความคิด
ความรู้สึก ปัญหา และความต้องการ
ของสาวโรงงานให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวตของสาวโรงงานให้มีคุณภาพ
ทัดเทียมบุคคลในอาชีพอื่นต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :. |
|
เพื่อทราบความคิดเห็นของสาวโรงงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับ
1.
ความพึงพอใจต่องานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
2.
อาชีพที่อยากทำมากที่สุด
3.
ปัญหาสำคัญที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน
4.
ภาระหนี้สินและสาเหตุที่ก่อให้เกิดหนี้
5.
ความพึงพอใจต่อรัฐบาลในการดูแลแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานไทย
6.
ข้อเรียกร้องที่สาวโรงงานฝากถึงรัฐบาล |
|
ระเบียบวิธีการสำรวจ : |
|
การสุ่มตัวอย่าง |
|
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างสาวโรงงานที่ทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,082 คน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ
4.0 มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 39.8 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ
34.9 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี
ร้อยละ 15.9 มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี และร้อยละ 5.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 10.3 มีการศึกษาต่ำกว่าประถม 6 ร้อยละ 29.8 ประถม 6 ร้อยละ 28.5
มัธยมต้น ร้อยละ 24.9 มัธยมปลาย/ปวช. ร้อยละ 4.1 ปวส./อนุปริญญา และร้อยละ
2.4 ปริญญาตรี
ส่วนสถานภาพสมรสของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 48.3 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 41.6 สมรส ร้อยละ 7.8 หย่าร้าง/ แยกกันอยู่
และร้อยละ 2.3 หม้าย
สำหรับภูมิลำเนาเดิมของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ
11.2 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ร้อยละ 20.7 มาจากภาคกลาง
ร้อยละ 7.1 มาจากภาคตะวันออก ร้อยละ 13.3 มาจากภาคเหนือ ร้อยละ 44.5
มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 3.2 มาจากภาคใต้ |
|
ความคลาดเคลื่อน
(Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน
+- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% |
|
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
: .การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง "คุณภาพชีวิตของสาวโรงงาน"
|
|
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
: . 22 - 25 เมษายน 2548 |
|
วันที่เผยแพร่ข้อมูล
: . 29 เมษายน 2548 |
|
สำรวจโดย
: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500
ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php |
|
ผลการสำรวจ : |
|
1. เมื่อสอบถามถึงความพอใจต่องานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
พบว่า ส่วนใหญ่ คือร้อยละ 59.7 ค่อนข้างพอใจ
ร้อยละ 17.8 พอใจมาก ขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 2.3
ไม่พอใจเลย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นอาชีพที่อยากทำมากที่สุดหรือไม่
พบว่ามีเพียงร้อยละ
18.7 ที่ตอบว่าอาชีพสาวโรงงานเป็นอาชีพที่อยากทำมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ
81.3 ตอบว่าไม่ใช่ โดยในจำนวนนี้ระบุว่า
อาชีพที่อยากทำมากที่สุดได้แก่ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
(ร้อยละ 44.5) รองลงมาคือช่างเสริมสวย/ช่างตัดเสื้อ (ร้อยละ
17.7)
พนักงานบริษัท (ร้อยละ 13.4) ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ
11.0) ดารา/นักร้อง (ร้อยละ 6.7) เกษตรกร (ร้อยละ 3.1)
พนักงานร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 2.2) และอื่นๆ อีกร้อยละ
1.4 |
|
2. เมื่อถามว่าอยากกลับไปทำงานใช้ชีวิตยังภูมิลำเนาเดิมหรือไม่
พบว่า สาวโรงงานถึงร้อยละ 65.7
อยากกลับไปทำงานใช้ชีวิตยังภูมิลำเนาเดิม ในขณะที่ ร้อยละ 34.3
ไม่อยากกลับ |
|
3.
สำหรับปัญหาหนักที่สุดที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย
(ร้อยละ 42.1)
ร องลงมาคือ ขาดสวัสดิการที่ดี (ร้อยละ 13.4) มีภาระต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว
(ร้อยละ 7.1) งานหนักเกินไป (ร้อยละ 6.5)
ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 4.2) ปัญหาเรื่องการเดินทาง (ร้อยละ 3.7) ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
(ร้อยละ 3.2) ถูกเอาเปรียบ
ค่าแรง (ร้อยละ 3.0) และปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน (ร้อยละ 1.8)
ขณะที่อีกร้อยละ 15.0 ระบุว่าไม่มีปัญหาหนักใจใดๆ |
|
4. เมื่อถามถึงประเด็นเกี่ยวกับหนี้สิน พบว่ามีสาวโรงงานเพียงร้อยละ
38.0 ที่ไม่มีภาระด้านหนี้สิน ขณะที่ส่วนใหญ่
คือร้อยละ 62.0 มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน
โดยในจำนวนนี้เป็นหนี้สินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในครอบครัว
(ร้อยละ 43.5) ค่าผ่อนบ้าน/ผ่อนรถ (ร้อยละ 19.6) ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเล่าเรียน
(ร้อยละ 17.7) ปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 6.0)
การลงทุนที่ผิดพลาด (ร้อยละ 4.9) ค่าเสื้อผ้าเครื่องสำอางค์ (ร้อยละ
4.2) และหนี้สินจากการพนัน/อบายมุข (ร้อยละ 4.1) |
|
5. สำหรับความพึงพอใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการดูแลแก้ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้
แรงงานไทย พบว่า ร้อยละ 57.4 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 20.6 พอใจมาก
ขณะที่ ร้อยละ 19.2 ไม่ค่อยพอใจ และร้อยละ 2.8
ไม่พอใจเลย |
|
6. ข้อเรียกร้องที่อยากฝากถึงรัฐบาล
อันดับแรก ขอให้เพิ่มค่าแรง (ร้อยละ35.6) รองลงมาให้ปรับปรุง
สวัสดิการ (ร้อยละ 21.0) ปรับปรุงระบบประกันสังคม (ร้อยละ 9.2) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงงาน
(ร้อยละ 8.1) จัดหางานให้กับผู้ว่างงาน (ร้อยละ 7.7) เปิดโอกาสด้านการศึกษาต่อให้มากขึ้น
(ร้อยละ 7.4) ดูแลเรื่องวันหยุด
ประจำปีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ5.6) แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย
(ร้อยละ 3.4) และให้
จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงานทุกแห่ง (ร้อยละ 2.0) |
|
|
|
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล |
|
|
|
|
|
ตารางที่
1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์ |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
อายุ : |
อายุต่ำกว่า
18 ปี |
43 |
4.0 |
18
- 25 ปี |
431 |
39.8 |
26
- 35 ปี |
378 |
34.9 |
36
- 45 ปี |
172 |
15.9 |
46
ปีขึ้นไป |
58 |
5.4 |
การศึกษา : |
ต่ำกว่าประถม
6 |
111 |
10.3 |
ประถม
6 |
322 |
29.8 |
มัธยมต้น |
308 |
28.5 |
มัธยมปลาย
/ ปวช. |
269 |
24.9 |
ปวส.
/ อนุปริญญา |
44 |
4.1 |
ปริญญาตรี |
28 |
2.4 |
สถานภาพสมรส : |
โสด |
523 |
48.3 |
สมรส |
450 |
41.6 |
หย่าร้าง
/ แยกกันอยู่ |
84 |
7.8 |
หม้าย |
25 |
2.3 |
ภูมิลำเนาเดิม
:
|
กทม./ปริมณฑล |
121 |
11.2 |
ภาคกลาง |
224 |
20.7 |
ภาคตะวันออก |
77 |
7.1 |
ภาคเหนือ |
144 |
13.3 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
481 |
44.5 |
ภาคใต้ |
35 |
3.2 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 2:
ความพึงพอใจต่องานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
พอใจมาก |
193 |
17.8 |
ค่อนข้างพอใจ |
646 |
59.7 |
ไม่ค่อยพอใจ |
219 |
20.2 |
ไม่พอใจเลย |
24 |
2.3 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 3:
อาชีพที่ทำในปัจจุบันเป็นอาชีพที่อยากทำมากที่สุดใช่หรือไม่ |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ใช่ |
202 |
18.7 |
ไม่ใช่ |
880 |
81.3 |
อาชีพที่อยากทำมากที่สุดได้แก่
|
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว |
392 |
44.5 |
ช่างเสริมสวย/ช่างตัดเสื้อ |
156 |
17.7 |
พนักงานบริษัท |
118 |
13.4 |
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ |
97 |
11.0 |
ดารา/นักร้อง |
59 |
6.7 |
เกษตรกร |
27 |
3.1 |
พนักงานร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า |
19 |
2.2 |
อื่น ๆ |
12 |
1.4 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 4:
อยากกลับไปทำงานหรือใช้ชีวิตยังภูมิลำเนาเดิมหรือไม่ |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
อยาก |
711 |
65.7 |
ไม่อยาก |
371 |
34.3 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่5:
ปัญหาหนักที่สุดที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย |
456 |
42.1 |
ขาดสวัสดิการที่ดี |
145 |
13.4 |
มีภาระต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว |
77 |
7.1 |
งานหนักเกินไป |
70 |
6.5 |
ปัญหาสุขภาพ |
45 |
4.2 |
ปัญหาการเดินทาง |
40 |
3.7 |
ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน |
35 |
3.2 |
ถูกเอาเปรียบค่าแรง |
32 |
3.0 |
ปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน |
20 |
1.8 |
ไม่มีปัญหา |
162 |
15.0 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 6:
ภาระหนี้สินในปัจจุบัน |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ไม่มีหนี้สิน |
411 |
38.0 |
มีหนี้สิน |
671 |
62.0 |
โดยเป็นหนี้สินเกิดจาก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) |
ค่าใช้จ่ายในครอบครัว |
369 |
43.5 |
ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ |
167 |
19.6 |
ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเล่าเรียน |
150 |
17.7 |
ปัญหาสุขภาพ |
51 |
6.0 |
การลงทุนที่ผิดพลาด |
41 |
4.9 |
ค่าเสื้อผ้า/เครื่องสำอางค์ |
36 |
4.2 |
การพนัน/อบายมุข |
35 |
4.1 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 7:
ความพึงพอใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน เกี่ยวกับการดูแลแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
พอใจมาก |
223 |
20.6 |
ค่อนข้างพอใจ |
621 |
57.4 |
ไม่ค่อยพอใจ |
208 |
19.2 |
ไม่พอใจเลย |
30 |
2.8 |
|
|
|
|
|
|
ตารางที่ 8:
ข้อเรียกร้องที่อยากฝากถึงรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) |
|
|
|
จำนวน |
ร้อยละ |
ให้เพิ่มค่าแรง |
725 |
35.6 |
ปรับปรุงสวัสดิการ |
429 |
21.0 |
ปรับปรุงระบบประกันสังคม |
186 |
9.2 |
ปรับปรุงเรื่องสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงงาน |
166 |
8.1 |
จัดหางานให้กับผู้ว่างงาน |
156 |
7.7 |
เปิดโอกาสด้านการศึกษาต่อ |
151 |
7.4 |
ดูแลเรื่องวันหยุดประจำปีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด |
114 |
5.6 |
แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย |
69 |
3.4 |
จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในโรงงานทุกแห่ง |
40 |
2.0 |
|
|
|
|
สามารถทำการ
Vote ได้วันละ 1 ครั้ง |
Connect to DB
Download
document file :  ( %A4%D8%B3%C0%D2%BE%AA%D5%C7%D4%B5%A2%CD%A7%CA%D2%C7%E2%C3%A7%A7%D2%B9 ) |
|
|
โทร. 0-2350-3500 ต่อ
1776
|
|